หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
  -  การเตรียมเพื่อพูด
  -  อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
  -  การเตรียมการพูด
  -  คุณสมบัติของนักพูดที่ดี
  -  พูดเก่ง...รวยก่อน...
  -  ศิลปะการพูดจูงใจ
  -  อยากเป็นนักพูด
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  การแต่งตัวกับนักพูด
  -  พูดเพื่อให้ได้
  -  พูดดีเป็นศรีแก่งาน
  -  องค์ประกอบของการพูด
  -  ถ้อยคำการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  บุคลิกภาพของนักพูด
  -  การพูดจูงใจคน
  -  ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  ผู้ฟังอันตราย
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  พูดเป็นเขียนเป็นอย่างนักพูดนักเขียน
  -  เส้นทางสู่วิทยากร
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  ศิลปะการพูดแบบกะทันหัน
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  การดำเนินเรื่องในการพูด
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  Actions Speak Lound Than Words (ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
  -  การพูดเพื่อนำเสนอ
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  วิธีการนำเสนอ
  -  เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  สู่วิทยากรมืออาชีพ
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  กิริยาท่าทางในการพูด
  -  การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
  -  การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
  -  การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
  -  การเตรียมความพร้อมในการพูด
  -  คำพูดประเภทต่างๆ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
  -  การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
  -  การพูดหาเสียงเลือกตั้ง
  -  เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
  -  การพูดทางการเมือง
  -  การพูดกับการบริหาร
  -  การอ่านกับการพูด
  -  วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
  -  วิทยากรกับการเป็นวิทยากร
  -  การเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร
  -  การเลือกวิทยากร
  -  ประโยชน์ของการฝึกอบรม
  -  การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง(ศิลปะการโต้วาที)
  -  ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  -  การพูดในอาชีพสื่อมวลชน
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  วิธีสร้างความกล้าในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  การนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  การใช้โน๊ตย่อในการพูด
  -  การพูดโน้มน้าวใจ​
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
สู่วิทยากรมืออาชีพ
สู่วิทยากรมืออาชีพ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
อาชีพวิทยากรเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นอาชีพที่มีความเป็นอิสระ อาชีพวิทยากรมีข้อดีหลายอย่างเช่น มีรายได้ที่ไม่ต้องมีจำนวนจำกัดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล , มีการบริหารเวลาด้วยตนเองกล่าวคือไม่ต้องมีเวลาทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นเวลา เหมือนงานประจำ , เป็นอาชีพที่มีเกียรติผู้คนให้การยกย่อง , เป็นอาชีพที่ทำให้เกิดการพัฒนาเรียนรู้ฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ ฯลฯ
หลายท่านอาจมีคำถามว่า แล้วจะทำอย่างไรถึงจะก้าวไปสู่การเป็นวิทยากรมืออาชีพ กระผมขอให้คำแนะนำว่า การจะเป็นวิทยากรมืออาชีพได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
1.เริ่มต้นด้วยความรัก คนเราจะประสบความสำเร็จในอาชีพใด อาชีพหนึ่ง ท่านต้องมีความรัก ความชอบ สำหรับงานอาชีพนั้นๆ ตัวอย่าง ไทเกอร์ วูดส์ ชอบในกีฬากอล์ฟจึงฝึกฝน เรียนรู้ อยู่สม่ำเสมอ จนในที่สุด เขาประสบความสำเร็จเป็นนักกอล์ฟระดับโลก , สตีฟ จอบส์ ชอบคอมพิวเตอร์ รักคอมพิวเตอร์ จนในที่สุดเขาประสบความสำเร็จระดับโลกในวงการคอมพิวเตอร์รู้จักเขาเป็นอย่างดี , สุนทรภู่ ชอบเรื่องของกวี ท่านฝึกฝนเรียนรู้จนได้รับการยกย่องไปทั่วโลก เป็นต้น
ดังนั้น หากท่านต้องการเป็นวิทยากรมืออาชีพ ท่านต้องเริ่มต้นจากความรักในอาชีพนี้เป็นอันดับแรก
2.สะสมชั่วโมงบิน หมายถึง การหาเวทีให้ตนเองได้แสดงบ่อยๆ เท่าที่จะหาได้ ยิ่งท่านมีชั่วโมงบินมาก มีเวทีในการแสดงมาก ท่านก็จะมีการพัฒนาตนเองได้มากกว่า วิทยากรที่มีชั่วโมงบินน้อยหรือมีเวทีแสดงน้อย การผ่านเวทีแสดงมากๆ จะทำให้ท่านเกิดประสบการณ์ เกิดความเชี่ยวชาญ
3.พัฒนาตนเองอย่างหยุดยั้ง อาชีพวิทยากรเป็นอาชีพที่ต้องมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ท่านจะต้องหมั่นหาความรู้ใหม่ๆ ไม่หยุดนิ่ง ท่านต้องเป็นนักอ่าน นักศึกษา นักฟัง หมั่นเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ และต้องรู้จักค้นหาวิธีการหรือแบบฉบับของตนเองในการบรรยาย
4.ฝึกหัดความสามารถหลายๆทาง วิทยากรมืออาชีพมักมีความสามารถหลายๆทาง เช่น ต้องพูดต่อหน้าที่ชุมชนเป็น , ต้องร้องเพลงเป็น , ต้องหมั่นท่องคำกลอน คำคม แง่คิดต่างๆเพื่อใช้ในการฝึกอบรม , ต้องนำเกมส์หรือกิจกรรมต่างๆเป็น และต้องรู้จักแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าหรือมีไหวพริบดีในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการฝึกอบรม
5.ฝึกฝนอย่างต่อเนื่องอย่าหยุด อาชีพวิทยากรเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยประสบการณ์ ยิ่งใครมีประสบการณ์มากยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่าคนที่มีประสบการณ์น้อยกว่า ดังนั้น หากต้องการเป็นวิทยากรมืออาชีพท่านต้องไม่หยุดที่จะฝึกฝนตนเอง อีกทั้งต้องทำอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการเริ่มต้นในอาชีพวิทยากร หลายท่านอาจจะตั้งคำถามว่า แล้วเราจะเริ่มต้นอย่างไร สำหรับการเริ่มต้นอาชีพวิทยากรของแต่ละท่าน อาจไม่เหมือนกัน บางท่าน อาจเริ่มต้นจากการเป็นผู้ช่วยวิทยากรเพื่อเรียนรู้และฝึกฝนตนเอง บางท่าน อาจมีงานประจำแต่งานประจำไปเกี่ยวข้องกับการเป็นวิทยากรจึงมีโอกาสถูกเชิญให้ไปบรรยายในสถานที่ต่างๆ บางท่านอาจมีความรู้ความชำนาญอยู่แล้ว จึงเขียนหลักสูตร แล้วนำไปให้สถาบันที่รับจัดฝึกอบรมหางานให้ เป็นต้น
ดังนั้น อาชีพวิทยากรจึงเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ ยิ่งในโลกปัจจุบัน ผู้คนต่างก็ให้ความสนใจในการฝึกฝนตนเอง เรียนรู้สิ่งต่างๆมากขึ้น อีกทั้งวันที่ 1 มกราคม 2558 ประเทศไทยเราต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว จึงทำให้อาชีพวิทยากรเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น หากวิทยากรท่านใดสามารถบรรยายเป็นภาษาอังกฤษได้ยิ่งทำให้ได้ค่าตัวมากขึ้นหรือมีรายได้มากขึ้นไปด้วย
...
  
ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ในอดีตกระผมเคยเป็นวิทยากรมือใหม่ ซึ่งบางครั้งเคยทำผิดพลาดมาบ้างในงานการฝึกอบรม ในบทความตอนนี้ จึงอยากที่จะมาบอกเล่าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับท่านผู้อ่าน ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่ มีดังนี้
1.ท่านควรไปทำความรู้จักกับผู้บริหารหรือผู้ที่ดูแลงานด้านฝ่ายฝึกอบรมก่อน เพื่อรับทราบข้อมูลว่า ทางหน่วยงานมีปัญหาอะไร ถึงได้ต้องการจัดอบรมในเรื่องดังกล่าว การทำความรู้จักจะสร้างความคุ้นเคย หรือหากท่านไม่มีเวลามากพอ ท่านก็อาจจะต้องโทรศัพท์ไปซักถามความต้องการของผู้จัด หรือ หากให้เป็นทางการหน่อย ท่านก็ควรมีแบบฟอร์ม TRAINING NEEDS ANALYSIS ให้ทางผู้จัดได้กรอกข้อความที่ต้องการฝึกอบรม ว่าทางหน่วยงานมีปัญหาอะไร ความต้องการเป็นอย่างไร
2.ท่านควรเดินทางไปก่อนเวลาในการอบรม การเดินทางไปก่อนเวลาในการอบรม จะทำให้ผู้จัดมีความสบายใจ อีกทั้งตัววิทยากรเอง ก็สามารถที่จะเตรียมความพร้อมได้ดียิ่งขึ้น ก่อนเวลาฝึกอบรมควรไปตรวจสอบดู เรื่องของการทำงานของเครื่องฉาย เครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโฟน เอกสารประกอบการบรรยาย ฯลฯ การไปถึงก่อนเวลายังจะทำให้ท่านสร้างความคุ้นเคยกับผู้เข้ารับการอบรมอีกด้วย
3.ท่านต้องมีความรู้มากกว่าผู้เข้ารับการอบรม การมีความรู้ในเรื่องที่จะบรรยายมากกว่าผู้เข้ารับการอบรมจะทำให้ท่านเกิดความเชื่อมั่น เกิดความมั่นใจในตัวเองในการบรรยายมากขึ้น หากท่านมีความรู้ที่น้อยกว่า เมื่อผู้เข้ารับการอบรมสักถาม ท่านตอบไม่ได้ ก็จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมขาดความศรัทธา และตัววิทยากรเองก็จะขาดความมั่นใจไปด้วย หากเรื่องที่เราจะไปบรรยายเรายังมีความรู้ไม่มากพอ ท่านก็ควรทำการบ้านโดยการ อ่านหนังสือ ฟังเทป ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวเพิ่มให้มากขึ้น
4.ท่านต้องรู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ในการฝึกอบรมแต่ละแห่งมีปัจจัยแวดล้อมไม่เหมือนกัน เช่น จำนวนคนเข้าอบรม ขนาดของห้อง บรรยากาศของห้อง วัย อายุของผู้เข้าอบรม อุปกรณ์ที่ช่วยในการบรรยาย ฯลฯ ดังนั้น ผู้ที่จะเป็นวิทยากรมืออาชีพได้จะต้องรู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ตัวอย่าง หากว่าวิทยากรได้เตรียมทำการบ้านเป็นอย่างดีว่า เริ่มต้นการฝึกอบรมเราจะให้มีการทำกิจกรรมแต่การทำกิจกรรมนั้นต้องใช้พื้นที่มากเพื่อที่จะให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ใช้พื้นที่ในการเดิน ในการพูดคุย ในการทำความรู้จักกัน แต่พอไปถึงห้องฝึกอบรม ปรากฏว่า ห้องกับคับแคบ จนไม่สามารถมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมที่เตรียมไปได้ ฉะนั้น ผู้ที่เป็นวิทยากรมืออาชีพต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ว่า เราควรจะทำอย่างไร
5.ท่านควรวางแผนงานให้มีระบบมากขึ้น เช่น เวลาติดตามงานกับลูกค้า หน่วยงาน องค์กรที่จัดการฝึกอบรม ท่านควรมีแบบฟอร์มต่างๆ (ใบเสนอราคา , ใบตอบรับ , เอกสารแนะนำประวัติวิทยากร , ใบ TRAINING NEEDS ANALYSIS เป็นต้น) อีกทั้งเวลาติดต่อรับงาน ควรติดต่อผ่านเป็นรายลักษณ์อักษรจะผิดพลาดน้อยกว่าการติดต่อผ่านการพูดคุยทางโทรศัพท์ ซึ่งตัวกระผมเองก็เคยทำผิดพลาดมาแล้ว การรับงานวิทยากรครั้งหนึ่งในอดีต เนื่องจากเห็นว่าผู้ติดต่อเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จึงได้รับปากว่าจะไปเป็นวิทยากรให้ แต่ปรากฏว่า มีความเข้าใจผิดที่คลาดเคลื่อนในเรื่องของวัน เวลา กระผมเองไปถึงงาน จึงสงสัยว่าทำไมจึงเงียบไม่มีคนเข้ารับอบรมหรืออย่างไร ปรากฏว่า เขามีการจัดงานไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้เกิดประสบการณ์ เมื่อมีการเชิญไปเป็นวิทยากรครั้งใด กระผมต้องขอจดหมายเชิญ และตัวกำหนดการทุกครั้ง เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ในการทำงาน
ทั้งนี้ข้อแนะนำทั้ง 5 ข้อข้างต้นเป็นข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่ และยังมีอีกหลายปัจจัยที่วิทยากรมือใหม่ควรทำ เช่น การพัฒนาตนเองอยู่เสมอตลอดเวลา , มีการบรรยายที่ครบเครื่องมากขึ้น (มีอารมณ์ขันในการพูด,มีเนื้อหาสาระที่ใหม่ๆ ,มีการร้องเพลงประกอบการบรรยาย,มีกิจกรรมให้ทำร่วมกัน,มีคำคม คำกลอนประกอบการบรรยาย) อีกทั้งวิทยากรมือใหม่ควรรู้จักหาช่องทางการตลาด เพราะหากไม่มีลูกค้า ก็ไม่ถูกรับเชิญ เมื่อไม่ถูกรับเชิญก็ไม่มีโอกาสไปเป็นวิทยากร

...
  
กิริยาท่าทางในการพูด
กิริยาท่าทางในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ถ้ารู้สึกว่าจะพูดอะไรให้น่าฟังไม่ได้...ก็นิ่งเสียดีกว่า....
กิริยาท่าทางในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการพูดในแต่ละครั้ง พวกเราลองสังเกตดู เมื่อผู้พูดพูดด้วยความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา ก็จะทำให้เราผู้ฟังเกิดความกระตือรือร้นตามไปด้วย ในทางกลับกัน หากว่าผู้พูดพูดด้วยความเฉยชา หรือมีความรู้สึกว่าไม่อยากจะพูด ก็จะทำให้ผู้ฟัง สัมผัสได้ถึงความรู้สึกของผู้พูดตามได้ด้วย
นักแสดงหลายคนรู้ถึงคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ บางคนเมื่อมีการแสดงบนเวที เมื่อได้รับบทที่สนุกสนาน ตื่นเต้น ถึงกับกระโดดไปกระโดดมาเพื่อปลุกตนเองให้กระฉับกระเฉง บางคนยิ้มแย้มแจ่มใส บางคนชกลม เพื่อให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว ผู้พูดก็เช่นกัน เมื่อต้องการพูดเรื่องที่สนุก ตื่นเต้น ก็ควรกระตุ้นอารมณ์ตนเองให้มีความรู้สึกที่สนุก ตื่นเต้น ก่อนขึ้นพูด
นักพูดที่ดีจะต้องพูดให้ได้ เต็มเสียง เต็มอารมณ์ และ เต็มอาการ กล่าวคือ
- เต็มเสียง คือ พูดด้วยกิริยาที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง พูดเสียงดัง ฟังชัด
- เต็มอารมณ์ คือ พูดไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก ให้มีความสอดคล้องกับเรื่องที่พูด
- เต็มอาการ คือ เมื่อเราพูดเต็มเสียงและเต็มอารมณ์แล้ว อาการต่างๆ ในระหว่างพูดก็จะปรากฏออกมาเอง
ทั้งนี้ กริยาท่าทางของผู้พูด ยังรวมไปถึง การปรากฏกาย ก่อนขึ้นพูดและหลังจากลงเวทีด้วย เช่น เมื่อถูกเชิญก็
ควรปรากฏกายด้วยความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง ต้องขึ้นพูดด้วยความมั่นใจ และในระหว่างการพูดบนเวทีก็ควรระวัง กิริยาดังต่อไปนี้ “ ล้วง แคะ แกะ เกา หาว ยัก โยก ถอน ค้อน และกระพริบ ”
ผู้พูดไม่ควรเอามือล้วงกระเป๋ากางเกงในระหว่างพูด , ไม่ควรเอามือไปแคะขี้มูกระหว่างพูด , ไม่ควรเอามือไปแกะสิ่งต่างๆในระหว่างพูด , ไม่ควรเกาศีรษะบ่อยๆ , ไม่ควรหาวในเวลาพูด , ไม่ควรยักไหล่ , ไม่ควรโยกตัวไปมาระหว่างการพูด,ไม่ควรถอนขนจมูกในระหว่างพูด, ไม่ควรมีกิริยาค้อนและกระพริบตาบ่อยๆ ในระหว่างพูดบนเวที เป็นต้น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการใช้ กิริยาท่าทางในการพูดมากยิ่งขึ้น จึงขอขยายรายละเอียดดังนี้
1.การใช้สีหน้า สายตา ระหว่างพูด การใช้สีหน้า จะต้องแสดงสีหน้าให้เข้ากับเนื้อหาของเรื่อง เช่น พูดเรื่องสนุกก็ควรยิ้มแย้มแจ่มใส , หากพูดเรื่องเศร้าก็ควรใช้สีหน้าที่เรียบ ไม่ควรหัวเราะในระหว่างพูด ส่วนการใช้สายตา ควรมองไปยังกลุ่มผู้ฟังให้ทั่วถึง
2.การใช้มือ ควรนำมาใช้ประกอบการพูด แต่ไม่ควรมีมากจนเกินไป
3.การใช้น้ำเสียง จะต้องมีความหลากหลาย เช่น มีเสียงดัง เสียงเบา มีการหยุด มีการเน้น อีกทั้งควรใช้น้ำเสียงให้มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง
4.การแต่งกาย ต้องเหมาะสมการสถานที่ กับกลุ่มของผู้ฟัง
5.การเคลื่อนไหวร่างกาย ต้องมีความสัมพันธ์กับ เนื้อเรื่อง เช่น พูดเรื่องสนุก ก็ควรเคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อยขึ้น เคลื่อนไหวร่างกายแบบกระตือรือร้น , แต่หากพูดเรื่องเศร้า ก็ควรเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยลง เป็นต้น
6.การทรงตัวในระหว่างการยืนพูด ควรยืนให้มั่นคง เท้าห่างกันพอประมาณ 1 คืบ ไม่ควรยืนชิดจนเกินไป หรือ เท้าห่างกันมากจนเกินไปในระหว่างการยืนพูด
นอกจากนี้ กิริยาท่าทางในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ยังรวมไปถึงเรื่องของบุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายในของผู้พูดอีกด้วย เช่น บุคลิกภาพภายนอก ( ทรงผม , ใบหน้า , ท่าทาง , ปาก , ขา , ตา , หู ฯลฯ) , บุคลิกภาพภายใน ( นิสัย , พฤติกรรม , การแสดงออก , มารยาท ฯลฯ) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผู้พูดจำเป็นต้องพัฒนา ฝึกฝน ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
บุคลิกภาพ ทุกผู้ จะดูดี
ปรากฏตัว ทุกที่ สมทีท่า
มาดผู้นำ ทำถูก ทุกลีลา
ผู้ตามมา ก้าวเดิน เจริญรอย

...
  
การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
“ ในโลกนี้ยังไม่เคยปรากฏว่านักพูดคนใดที่สามารถพูดโดยไม่เตรียมตัวได้ดีกว่าเตรียมตัวนอกเสียจากเหตุบังเอิญ เท่านั้น” เป็นคำพูดที่ให้แง่คิดมากสำหรับคำพูดของ ดร.ราล์ฟ ซี.สเม็ดเล่ย์ ผู้ก่อตั้ง Toast Masters International
สำหรับการเตรียมตัว เราต้องมีการคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
1.วัตถุประสงค์ในการพูด ว่าการพูดครั้งนั้น เราพูดเพื่ออะไร (พูดให้ความรู้ พูดเพื่อให้ความบันเทิง หรือพูดเพื่อชักชวน)
2.เรื่องที่จะพูด ไม่ควรกว้างเกินไป จนหาประเด็นสำคัญๆไม่ได้ ทั้งนี้ผู้พูดควรพูดเรื่องที่ตนเองมีความถนัด มีประสบการณ์ เพราะหากผู้พูดไม่มีความถนัดหรือมีประสบการณ์ ผู้พูดก็ควรตอบปฏิเสธการพูดในครั้งนั้น
3.รวบรวมเนื้อหาที่จะพูด ผู้พูดควรทำการรวบรวมเนื้อหาที่จะพูดทั้งหมดเสียก่อนไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาจะใช้ได้หรือไม่ได้ เพราะเราสามารถนำมาตัดต่อหรือเพิ่มเติมได้ในภายหลัง
4.การวางโครงเรื่อง จะขึ้นต้นอย่างไร ตอนกลางอย่างไร และจบอย่างไร
5.การวิเคราะห์ผู้ฟัง เป็นขั้นตอนหนึ่งของการเตรียมตัว เพราะหากว่าเรารู้ว่าผู้ฟังเป็นใครเราสามารถยกตัวอย่างต่างๆหรือทำกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้ฟังมากยิ่งขึ้น
6.การฝึกซ้อม การฝึกซ้อมการพูดมีความสำคัญต่อความสำเร็จและความล้มเหลว ในการพูดแต่ละครั้ง ยิ่งเป็นนักพูดหน้าใหม่หรือกำลังฝึกฝนการพูดใหม่ๆ ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการฝึกซ้อม แต่สำหรับนักพูดหน้าเก่า เขามักมีเวทีแสดงการพูดมากดังนั้น เขาจึงใช้เวทีต่างๆในการพูดเพื่อฝึกซ้อมการพูดไปในตัว
การฝึกซ้อมการพูดมีหลากหลายวิธีด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ฟัง สถานที่ที่จะไปพูด ฐานะของผู้พูด เช่น การพูดในงานโต้วาที การพูดในฐานะวิทยากรบรรยายให้ความรู้ การพูดในงานปาฐกถา ฯลฯ ซึ่งแต่ละงานมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่ว่าผู้พูดจะเตรียมสื่อหรือมีทัศนะอุปกรณ์ช่วยในการพูดมากน้อยเพียงใด
อีกทั้งจริตในการฝึกซ้อมการพูดของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ท่านผู้อ่านก็ไม่ควรเลียนแบบ แต่ควรค้นหาแนวทางของตนเอง เช่น บางคนฝึกซ้อมต่อหน้ากระจกแล้วทำให้การพูดออกมาดี , บางคนฝึกซ้อมในรถยนต์ , บางคนฝึกซ้อมต่อหน้าเพื่อน , บางคนฝึกซ้อมโดยเปิดสไลด์การนำเสนอไปด้วยเสมือนกับกำลังพูดกับผู้ฟังจริงๆ ฯลฯ ทั้งนี้การฝึกซ้อมจะได้ผลดีเพียงใด คงขึ้นอยู่กับนิสัย จริต ความชอบของแต่ละบุคคล ซึ่งเราต้องค้นหาจากตัวของเราเอง
การวางแผนการพูดมีความสำคัญไม่น้อยต่อความสำเร็จ ตัวอย่าง เราจะขึ้นต้นอย่างไรในการนำเสนอ นักพูดหลายท่านในยุคปัจจุบันมักมีการขึ้นต้นด้วยเพลงบ้าง ด้วยคลิป VCD บ้าง ขึ้นต้นด้วยสไลด์สำคัญๆบ้าง แล้วจะมีการเชื่อมโยงเนื้อหาอย่างไรเพื่อให้เกิดความกลมกลืน และตอนจบจะจบอย่างไร เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ สิ่งเหล่านี้มีผลอย่างมากต่อการพูดแต่ละครั้ง การฝึกซ้อมการพูดเราจึงควรให้ความสำคัญต่อการวางแผนการพูด
การซ้อมพูดที่ดีไม่ควรท่องจำคำต่อคำ เพราะจะทำให้ผู้ฝึกซ้อมเกิดความเบื่อหน่าย หากจำไม่ได้ก็จะเสียเวลา อีกทั้งการท่องจำแล้วนำไปพูดจะทำให้ผู้ฟังสัมผัสได้ เนื่องจากไม่เป็นธรรมชาติ ไร้ชีวิตชีวา ทั้งนี้ควรซ้อมพูดมาจากใจ ซ้อมพูดด้วยความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เสมือนการพูดบนเวทีจริงๆ
สำหรับประโยชน์ของการฝึกซ้อมการพูด นักพูดที่ประสบความสำเร็จทั้งในยุคอดีต ยุคปัจจุบัน จะขาดการฝึกซ้อมไปไม่ได้เลย เพราะการฝึกซ้อมจะทำให้ท่านเกิดความมั่นใจในการพูด การฝึกซ้อมจะทำให้ท่านจำเนื้อหาในการพูดได้ดีกว่าการไม่มีการฝึกซ้อม และการฝึกซ้อมการพูดจะทำให้ท่านได้มีการแก้ไขสำนวน เนื้อหาของการพูดเพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
การพูดที่ยาวเกินไปหรือสั้นเกินไป ส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมตัวและการฝึกซ้อมที่ไม่ดีพอ
...
  
การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การใช้สื่อต่างๆประกอบในการพูดมีความสำคัญและในบางโอกาสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสื่อต่างๆจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งสามารถทำเรื่องที่เป็นนามธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน การเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูดจึงเป็นเรื่องที่ควรจะพิจารณา ดังจะเห็นจากการอภิปรายในรัฐสภาของบรรดาสมาชิกสภา ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา หากสมาชิกท่านใด ใช้สื่อต่างๆมาช่วยในการประกอบการพูด ก็จะทำให้ผู้ฟังสนใจและเข้าใจในเนื้อหาที่พูดมากยิ่งขึ้น
สื่อต่างๆที่ใช้ประกอบการพูดมีดังต่อไปนี้
1.แผนที่(Maps) ทำให้ผู้ฟังเข้าใจในลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศได้ง่ายขึ้น เช่น บางคนไม่ทราบว่าจังหวัดพะเยา อยู่ภาคไหน แต่พอเห็นแผนที่แล้วจะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพชัดว่าจังหวัดพะเยาอยู่ภาคเหนือ อยู่ติดกับจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่านและลำปาง
2.แผนภูมิและแผนสถิติ จะแสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏในรูปแบบแผนผัง ซึ่งถ้าหากพูดเป็นตัวเลขซึ่งมีจำนวนมากและหลายจำนวน ผู้ฟังจะไม่เห็นภาพได้ชัด แต่หากนำมาแสดงเป็นแผนผัง แบบเส้น แบบรูปภาพ แบบแท่ง ฯลฯ ผู้ฟังก็จะเข้าใจและเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
3.หุ่นจำลองหรือของจำลอง เป็นสิ่งที่จำลองมาจากของจริง เนื่องจากของจริงมีลักษณะเล็กเกินไป หรือใหญ่มากจนเกินไป ผู้พูดไม่สามารถนำมาใช้ประกอบการพูดได้ เช่น แบบทรงของบ้าน เครื่องบิน รถยนต์ เป็นต้น
4.ภาพถ่าย มีคำกล่าวที่ว่า “ ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดเป็นจำนวนถึง 10,000 คำ ” เพราะภาพบางภาพจะตอบคำถามบางอย่าง ได้ดีกว่าการอธิบายหรือการแก้ข้อกล่าวหาโดยการใช้คำพูดเป็นจำนวนมาก
5.ของจริง การนำของจริงมาประกอบการพูด จะทำให้ผู้พูดไม่ต้องอธิบายความมาก แต่ข้อควรระวัง สำหรับของจริง บางอย่างมีลักษณะที่ใหญ่มาก จึงควรพิจารณาในการนำมาใช้เพื่อประกอบการพูดด้วย
6.ภาพยนตร์หรือโฆษณาภาพยนตร์ จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเพลิดเพลินในการฟัง เป็นการสร้างสีสรรในการพูด ทำให้เกิดความดึงดูดใจกับผู้ฟัง
7.เครื่องบันทึกภาพเคลื่อนภาพ วีดีโอเทป ในบางครั้งอาจจะต้องนำมาใช้ประกอบในการพูด เช่น การฝึกปฏิบัติ ในบางครั้งก็มีความจำเป็นที่จะต้องถ่ายหรือบันทึกภาพเก็บไว้ เพื่อนำมาเปิดให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ตัวอย่าง การให้ผู้ฟังออกมาฝึกพูดหรือฝึกปฏิบัติหน้าชั้น ควรที่จะถ่ายภาพของผู้ฝึกเก็บไว้ เพื่อนำมาเปิดให้เขาได้ดู
8.แผ่นโปสเตอร์ต่างๆ จะช่วยขยายความของเนื้อหาในการพูดได้มาก แผ่นโปสเตอร์มีทั้งเป็นภาพสีและภาพขาวดำ นอกจากนั้นอาจจะมีข้อความสั้นๆ อธิบายภาพเหล่านั้นด้วย
9.กรณีศึกษา เกมส์ กิจกรรม ประกอบการพูด ในกรณีที่ถูกเชิญให้พูดเป็นเวลานาน หลายวัน หลายชั่วโมง ผู้พูดควรนำกรณีศึกษา เกมส์ กิจกรรม มาช่วยประกอบการพูด ก็จะทำให้ผู้ฟังไม่เบื่อ แต่จะสนุกสนานกับ กรณีศึกษา เกมส์ และกิจกรรม นั้นๆ
ฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่าสื่อต่างๆที่สามารถนำมาใช้ประกอบการพูด มีจำนวนมากมาย แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้สื่อใดในการประกอบการพูด ให้มีความเหมาะสมกับผู้ฟัง โดยพิจารณาถึงวัย เพศ อายุ อาชีพของผู้ฟัง และคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น สถานที่เหมาะสมกับสื่อนั้นๆหรือไม่ เป็นต้น
...
  
การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพูด การเป็นนักพูดไม่จำเป็นจะต้องมีเสียงที่ก้อง กังวาน หวานเหมือนกับเสียงของนักร้อง แต่การใช้เสียงในการพูด ผู้พูดควรเปล่งเสียงออกไปด้วยความมั่นใจ มีพลัง มีชีวิตชีวา อีกทั้งการใช้เสียงที่ดีจะสามารถตรึงผู้ฟังให้ตั้งใจฟังผู้พูดได้
การใช้เสียงในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
1.มีความชัดเจนและมีความถูกต้อง สามารถสื่อสารให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจที่ตรงกันได้
2.ไม่พูดเร็วหรือช้าจนเกินไป การพูดเร็วจะทำให้ผู้ฟังฟังไม่ทัน แต่การพูดช้าจนเกินไปก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดอาการเบื่อหน่าย ไม่เกิดความกระตือรือร้นในการฟัง
3.เสียงดังหรือเสียงเบาจนเกินไป การพูดเสียงดังตลอดเวลาในขณะที่พูดจะทำให้ผู้ฟังเกิดความเครียด รู้สึกเหนื่อย ไม่อยากที่จะฟัง และการพูดเสียงเบาจนเกินไป ก็จะทำให้ผู้ฟังคุยกันและไม่สนใจในเรื่องที่ผู้พูดพูด
4.ไม่พูดเสียงต่ำหรือเสียงสูงตลอดเวลา การพูดเสียงต่ำจะทำให้พูดฟังเกิดอาการง่วงนอน แต่การพูดเสียงสูงตลอดเวลา ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญขึ้นมาได้
5.ไม่พูดเหมือนกับการอ่านหนังสือ เพราะจะทำให้ขาดรสชาติในการฟัง ฟังแล้วไม่เป็นธรรมชาติ
6.ไม่พูดเสียงราบเรียบระดับเดียวกันตลอดการพูด เพราะจะทำให้ผู้ฟังขาดความสนใจในเรื่องที่ผู้พูดพูด
7.ไม่ควรใช้คำฟุ่มเฟือยมากจนเกินไป เช่นคำว่า นะครับ นะค่ะ ครับ ค่ะ เอ้อ อ้า จนทำให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญในการฟัง
แต่การออกเสียงและพัฒนาพลังเสียงที่ดีในการพูด ผู้พูดควรพูดออกมาด้วยความรู้สึกที่จริงใจ เสียงดัง ฟังชัด มีความกระตือรือร้นในการพูด เสียงไม่ควรจะราบเรียบระดับเดียวกันตลอดการพูด ควรมีเสียงดังบ้าง เบาบ้าง เสียงสูงบ้าง เสียงต่ำบ้าง เสียงแหลมบ้าง เสียงทุ้มบ้าง พูดเร็วบ้าง พูดช้าบ้าง ให้มีความเป็นธรรมชาติของผู้พูดแต่ละคน แต่ไม่ใช่ใช้เสียงถึงขนาดเป็นการดัดเสียงให้เหมือนกับนักพากย์หนัง อีกทั้งไม่ควรท่องจำหรือใช้วิธีพูดเหมือนกับการอ่านหนังสือ
สำหรับวิธีการปรับปรุงและพัฒนาพลังเสียงในการพูด
1.ควรหัดอ่านหนังสือ โดยการอ่านออกเสียง เพื่อทำให้เกิดการพูดหรือการออกเสียงเกิดความคล่องยิ่งขึ้น และถ้ามีบทสนทนาผู้ฝึกก็ควรหัดออกเสียง เหมือนกับมีบุคคลสองคนหรือสามคนสนทนากัน
2.ควรซ้อมพูดบ่อยๆ หากไม่มีเวที ก็ควรฝึกฝนด้วยตนเอง นักพูดในอดีตซ้อมการพูดในขณะเดินทางโดยการซ้อมพูดในขณะที่อยู่บนหลังม้า บางท่านก็ซ้อมพูดด้วยการออกเสียงดัง ในขณะทำสวน บางคนฝึกหัดซ้อมการพูด การใช้เสียงในขณะเดินอยู่ที่ริมทะเล เป็นต้น
3.ควรมีอุปกรณ์ช่วย เช่น ควรหาเครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพยนตร์ บันทึกในขณะที่เราพูด เพราะจะทำให้เราสามารถตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงการใช้เสียงของเราให้ดีขึ้น
โดยสรุป การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูดเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพูดต่อหน้าที่ชุมชน การใช้เสียงจะทำให้การพูดน่าฟัง การพูดน่าเชื่อถือ การพูดมีรสชาติ อีกทั้งผู้ฟังเกิดความสนใจและสามารถตรึงอารมณ์ของผู้ฟังได้อีกด้วย

...
  
การเตรียมความพร้อมในการพูด
การเตรียมความพร้อมในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การเตรียมความพร้อมในการพูดมีความสำคัญมากต่อการเป็นนักพูด ครั้งหนึ่งเคยมีนักข่าวไปสัมภาษณ์โดยถาม ท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ว่า ท่านใช้เวลาในการเตรียมการพูดแต่ละครั้งนานเท่าไร ท่านอดีต นายกรัฐมนตรีนักพูดท่านนี้ตอบกลับว่า ท่านใช้เวลาในการเตรียมการพูดทั้งชีวิต
นี่เป็นคำพูดที่แสดงออกถึงการเตรียมการพูดว่ามีความสำคัญปานใด เนื่องจากท่านเป็นบุคคลสำคัญและมีชื่อเสียง จึงมีหลายองค์กร ต้องการเชิญท่านให้ไปพูดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะเป็นเรื่องใด ท่านจึงใช้เวลาเตรียมการพูดโดยการอ่านหนังสือต่างๆให้มากที่สุด ท่านเตรียมการพูดโดยการเขียนบทความลงในสื่อต่างๆ ท่านเตรียมการพูดโดยการให้สัมภาษณ์สื่อต่างๆ จึงทำให้ท่านเป็นนักพูดที่สามารถพูดเรื่องต่างๆได้อย่างมากมาย
เคยมีคนจำนวนมากได้สอบถามผมว่า หากยังไม่มีใครเชิญให้ไปพูดแล้วเราจะเตรียมการพูดไปทำไม คำตอบก็คือ พวกเราเคยเห็นนักมวยไหม กว่าจะได้ขึ้นชกจริงๆในรายการต่างๆ เขาต้องซ้อมอย่างหนัก สำหรับวิธีการซ้อมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละบุคคล
ส่วนตัวกระผมแล้ว ผมมักจะเตรียมความพร้อมในการพูดอยู่เสมอ ตลอดเวลา ผมจะเตรียมตัวโดยการอ่านมากๆ ฟังมากๆ เขียนบทความมากๆ อีกทั้งหากไม่มีใครเชิญให้ไปพูดหรือว่างเว้นการพูดเป็นเวลานานๆ ผมจะซ้อมการพูดคนเดียว เช่น ระหว่างเดินทางไปทำกิจกรรมต่างๆ โดยเดินไปตัดผม เดินไปร้านอาหาร เดินไปห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ผมจะซ้อมพูดคนเดียว โดยหาหัวข้อต่างๆ แต่จะซ้อมพูด ในช่วงที่มีคนไม่มากนะครับ หากมีคนมากๆเดินผ่านก็จะหยุด และเมื่อไม่มีคนก็จะพูดต่อ หรือในระหว่างปั่นรถจักรยานเพื่อออกกำลังกายก็จะซ้อมพูดเบาๆ ไปด้วย
ฉะนั้น เมื่อเราซ้อมพูดบ่อยๆ ก็จะทำให้เราไม่ต้องไปคิดมากเมื่อเวลาเราพูดจริง อีกทั้งยังทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง การซ้อมจะช่วยลดความวิตกกังวล การซ้อมจะช่วยให้การปรับแต่งเนื้อหาในการพูดให้ดีขึ้น แต่สำหรับบางคนยังไม่รู้จะพูดเรื่องอะไรในระยะซ้อมการพูด ก็ควรหาโน้ตย่อ โดยการเขียนข้อความย่อๆว่าจะพูดอะไร เนื้อหาเป็นอย่างไร ก็จะทำให้การฝึกซ้อมเป็นไปอย่างง่ายดายขึ้น
อีกทั้ง การเตรียมความพร้อมในการพูด เราควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ข้อมูล เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ เวลาในการไปพูดจริงๆ เป็นต้น
- ข้อมูล เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหากว่านักพูดท่านใด สะสมข้อมูลมากๆ ก็จะทำให้เขาง่ายต่อการเตรียม
การพูด โดยไม่ต้องไปแสวงหาหรือเสียเวลาหาข้อมูล เพื่อที่จะนำมาใช้ในการพูด เช่น นักพูดบางคนอาจมีห้องสมุดส่วนตัว , นักพูดบางคนอาจซื้อ VCD MP3 เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆไว้ เพื่อนำไปใช้ในการอ้างอิงการพูดในอนาคต
- เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ยุคนี้เทคโนโลยี มีความทันสมัย หากว่านักพูดท่านใดสามารถเรียนรู้ เทคโนโลยี
แล้วนำมาประยุกต์ใช้ ก็จะทำให้เขาก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว กว่า คนที่ไม่รู้จักใช้เทคโนโลยี เช่น การค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยทำงาน การนำไมโครโฟนสมัยใหม่มาใช้ การใช้โทรศัพท์ที่ทันสมัยมาช่วยทำงาน ฯลฯ
- เวลาในการไปพูดจริงๆ หากว่าเขากำหนดให้ไปพูด 3 ชั่วโมง เราก็ควรเตรียมข้อมูลไปซัก 4
ชั่วโมง เพราะหากว่าไม่มีเวลาหรือเวลาหมด เราก็สามารถตัดเนื้อหาบางตอนที่ไม่สำคัญทิ้ง แต่ไม่ควรเตรียมไปน้อยกว่า เช่น เขาให้พูด 3 ชั่วโมง แต่เตรียมไปพูดแค่ 1 ชั่วโมง ทำให้เวลาขึ้นพูดจริงๆ เราจะไม่มีเนื้อหาหรือข้อมูลในการพูด
บทสรุป การเตรียมความพร้อมในการพูด มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อการพูดในแต่ละครั้ง นักพูดที่ประสบความสำเร็จมักจะให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมในการพูดมาก ตรงกันข้ามนักพูดมือสมัครเล่น หลายๆคนไม่ให้ความสำคัญ เขาจึงเป็นได้แค่คนพูดธรรมดาๆเท่านั้น

...
  
คำพูดประเภทต่างๆ
คำพูดประเภทต่างๆ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
คำพูดของคนเรามีหลากหลายประเภท บางคำพูดเมื่อผู้ฟังได้ฟัง ผู้ฟังก็เกิดความรู้สึก ไม่ชอบใจ โกรธเคือง เสียใจ น้อยใจ หมั่นไส้ แต่ บางคำพูดเมื่อพูดออกไปแล้วผู้ฟังเกิด มีกำลังใจ ดีใจ อยากที่จะฟัง รู้สึกชอบคนพูด ในบทความนี้กระผมขอแจกแจงคำพูดออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
เริ่มจากคำพูดประเภทที่ควรหลีกเลี่ยง
- คำพูดเหน็บแนม เป็นคำพูดที่มีลักษณะเสียดสี กระทบกระแทก แดกดัน กระแนะกระแหน เช่น
เธอไม่จำเป็นจะต้องมาทำงานก็ได้ เพราะเจ้านายชอบเธอ เธอมาไม่มา เธอก็ได้เงินเดือนขึ้นและได้เลื่อนขั้นอยู่ดีแหละ เป็นต้น
- คำพูดขวานผ่าซาก พูดโผงผาง เป็นคำพูด ที่มีลักษณะใช้น้ำเสียงค่อนข้างดังและน้ำเสียงสูง เป็น
การพูดแบบตรงไปตรงมา แต่จะออกไปในด้านลบ เมื่อผู้ฟังได้ฟังมักไม่ชอบใจ เนื่องจาก คนเราส่วนใหญ่มักอยากที่จะฟังเรื่องดีๆของตนเอง มากกว่าที่จะอยากฟังเรื่องลบๆของตนเอง คนบางคนพูดจา โผงผาง เสียงดัง ก็ยิ่งทำให้ผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา เข้าใจผิดคิดว่า ทะเลาะกัน
- คำพูดโอ้อวด เป็นคำพูดที่มักจะทำให้คนฟังเกิดอาการหมั่นไส้ เพราะจิตใจของคนเราโดยส่วน
ใหญ่แล้วลึกๆ ไม่ชอบให้ใครอยู่เหนือตนหรือมีความอิจฉาขึ้นภายในใจ คำพูดโอ้อวด มีดังนี้ อวดรวย อวดเก่ง อวดฉลาด ฯลฯ
- คำพูดนินทา เป็นคำพูดที่พูดลับหลับ บุคคลที่ 3 ในทางที่ไม่ดี โดยมีลักษณะให้ร้าย ป้ายสี ซึ่ง
อาจเป็นเรื่องจริงบ้าง ไม่เป็นความจริงบ้าง แต่ผู้พูดมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อบุคคลที่ 3 คำพูดประเภทนี้ ควรระวังให้มาก เพราะไม่มีความลับใดๆในโลกนี้ หากสักวันหนึ่งเรื่องที่ตนเองพูดไปเข้าหูบุคคลที่ 3 ก็จะเกิดความขัดแย้งและขุ่นใจกันได้
- คำพูดเท็จหรือคำพูดโกหก เป็นคำพูดที่หลอกหลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อตนเอง หรือให้เข้าใจผิดเพื่อ
เอาตัวรอด เพื่อเอาผลประโยชน์ต่างๆจากผู้ฟัง การที่ผู้พูดพูดเท็จหรือพูดโกหกบ่อยๆ ก็จะทำให้คนขาดความเชื่อถือ คำพูดขาดน้ำหนัก ซึ่งจะเป็นผลร้ายกับเราในระยะยาว ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐ เคยกล่าวเกี่ยวกับเรื่องการใช้คำพูดที่เท็จหรือโกหก ว่า “ เราอาจจะโกหกคนบางคนได้ตลอดเวลา เราอาจจะโกหกคนทุกคน ได้บางเวลา แต่เราจะโกหกคนทุกคน ตลอดเวลาไม่ได้ ”
- คำพูดหยาบหรือคำพูดที่ไม่สุภาพ เป็นคำพูดที่ผู้พูดมักมีฐานจิตหรือการได้รับการอบรมหรือมี
สภาพแวดล้อม ที่ไม่ค่อยดี โดยที่บุคคลในสังคมนั้น พูดจาไม่สุภาพจนเคยชิน เช่น ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ไอ้ควาย พ่อมึงหรือ ฯลฯ
สำหรับคำพูดที่ควรหลีกเลี่ยงนี้ เราสามารถฝึกฝน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงได้ เพราะคำพูดเหล่านี้ เป็นคำพูดที่ผู้ฟัง ฟังแล้ว เกิดความรู้สึก ไม่ชอบ ไม่พอใจ โกรธ เกลียด ทำลายขวัญกำลังใจ ของผู้ฟัง เพราะธรรมชาติของคนส่วนใหญ่แล้ว มักชอบฟังคำพูดที่ สุภาพ อ่อนหวาน พูดความจริง พูดถ่อมตน ฯลฯ ซึ่งเป็นคำพูดประเภท ที่กระผมกำลังจะนำเสนอต่อไปนี้
คำพูดประเภทที่ทำให้คนฟังเกิดความประทับใจ
- คำพูดเพื่อให้กำลังใจ เมื่อคนเราเกิดความรู้สึก ท้อแท้ ท้อถอย กับชีวิต บุคคลนั้นก็อยากที่จะฟัง
คำพูดประเภทให้กำลังใจ เพื่อทำให้ตนเองเกิดพลังต่างๆในการขับเคลื่อนชีวิตต่อไป
- คำพูดมีเสน่ห์ เป็นคำพูดที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เช่น “สวัสดีครับ/สวัสดี
ค่ะ” , “ ขอโทษครับ/ขอโทษค่ะ” , “ ขอบคุณครับ/ขอบคุณค่ะ”,” เสียใจด้วยครับ/เสียใจด้วยค่ะ” เป็นต้น
- คำพูดแบบนักการทูต เป็นคำพูดที่สร้างมิตร ลดศัตรู เป็นคำพูดที่ทำให้มีคนอยากคบค้าสมาคม
ด้วย ซึ่งการพูดแบบนักการทูต ต้องอาศัยศิลปะเข้ามาช่วย
- คำพูดเชิงบวก เป็นคำพูดในแง่บวก ซึ่งผู้พูดต้องเป็นบุคคลที่มีความคิดในแง่บวกก่อน จึงจะทำ
ให้การพูดในเชิงบวกเกิดประสิทธิภาพ
สำหรับการพูดประเภทที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจนี้ ผู้พูดสามารถฝึกฝน ปรับปรุง พัฒนาให้ดีขึ้นได้เช่นกัน เพราะยิ่งผู้พูดสามารถปรับปรุงได้ดีขึ้นเท่าไร ผู้ฟังก็ยิ่งเกิดความรัก เกิดความศรัทธา เกิดความชื่นชอบ เกิดความเชื่อมั่นในตัวของผู้พูดมากยิ่งขึ้น
สรุป คำพูดมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเราเป็นอย่างยิ่ง คนเราหากไม่มีปัญหาทางด้านการพูดหรือมีความพิการพูดไม่ได้ คนเราก็มีความจำเป็นต้องใช้คำพูดในทุกๆวัน ทุกสถานที่ ฉะนั้น คงขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะเลือกใช้คำพูดประเภทไหน เพราะคำพูดทำให้บุคคลหนึ่งๆประสบความสำเร็จ และ ก็เป็นคำพูดเช่นกันที่ทำให้บุคคลหนึ่งๆ เกิดความล้มเหลวได้
...
  
การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
เรื่องของการสื่อสารภายในองค์กร....การพูดนับว่าเป็นการสื่อสารภายในองค์กรอย่างหนึ่ง ซึ่งเราต้องยอมรับว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ความสามัคคีกัน การพูดมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น
ซึ่งรูปแบบการพูดที่มักใช้กันภายในองค์กรต่างๆ มีดังนี้
1.การประชุม
2.การสัมภาษณ์
3.การออกคำสั่ง
4.การสนทนากัน
5.การพูดทางโทรศัพท์
6.การนำเสนอรายงาน การมอบหมายงาน
1.การประชุม การทำงานภายในองค์กร มักจะต้องมีการประชุมร่วมกัน เพราะการประชุมมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ , ทำให้มีการทำงานเป็นทีมมากขึ้น , การหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน , การรับทราบข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ฯลฯ
ลักษณะของการประชุมที่ดี
1.1.ประธานในที่ประชุมควรวางตัวให้เป็นกลาง จับประเด็นได้ดี แก้ไขปัญหาในที่ประชุมโดยไม่ให้กระทบกับความรู้สึกของผู้เข้าร่วมประชุม
1.2.มีการคัดเลือกบุคคลที่เข้าร่วมประชุม การประชุมหลายแห่ง มักมีผู้เข้าร่วมประชุมเยอะมาก แต่ผู้เข้าร่วมประชุม โดยมากมักไม่ได้มีหน้าที่ ภาระงาน ที่เกี่ยวข้องกับกับการประชุมเลย จึงทำให้ประสิทธิภาพของการประชุมลดลง ฉะนั้น การคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมประชุมจึงมีความสำคัญ เพราะทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นอันมาก
1.3.ระยะเวลาในการประชุม ไม่ควรนานจนเกินไป ควรกำหนดจำนวนครั้งและความถี่
1.4.ห้องประชุม อุปกรณ์การสื่อสารในห้องประชุม ห้องประชุมก็ไม่ควรใหญ่หรือเล็กเกินไป ควรพิจารณาให้เหมาะสมระหว่างขนาดของห้องกับจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม
1.5.ห้วข้อ วาระการประชุม ควรเตรียมมาให้พร้อม เพราะหากไม่ได้เตรียมวาระการประชุม การประชุมก็จะวกไปเวียนมา ย้อนไปย้อนมา ทำให้เสียเวลาเป็นอันมาก
สำหรับการพูดในที่ประชุม ประธานควรกล่าวเปิด ปิดการประชุม , ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้ผู้ร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น , สรุปประเด็น สรุปผลต่างๆ ได้ ฯลฯ
การประชุมหลายแห่ง ใช้เวลามาก บรรยากาศในการประชุมเกิดปัญหา จึงเป็นข้อควรระวังสำหรับตัวประธานในการที่จะต้องแก้ไขปัญหา เช่น มีการขัดจังหวะกัน , มีการด่าทอกัน , มีการเปลี่ยนเรื่องเปลี่ยนประเด็น , มีการพูดจาหัวเราะเยาะกัน เป็นต้น
2.การสัมภาษณ์ เป็นการพูดอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น การสัมภาษณ์ในการจ้างงาน , การสัมภาษณ์ในการแก้ไขปัญหา , การสัมภาษณ์ในการออกจากงาน , การสัมภาษณ์ในการประเมินผลงาน เป็นต้น สำหรับ การสัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ เป็นการสื่อสารโดยการพูดภายนอกองค์กร
3.การออกคำสั่ง เป็นการพูดระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ในการสั่งงาน ซึ่งบางกรณีก็เกิดการผิดพลาดได้ ฉะนั้น เมื่อออกคำสั่งไปแล้ว ก็ควรให้ผู้รับคำสั่งพูดทวน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ปัญหาในการสื่อสารก็จะลดน้อยลง
4.การสนทนากัน เป็นการพูดคุยกันในงานและอาจจะไม่เกี่ยวกับงานที่ตนเองทำ เป็นการพูดอย่างไม่เป็นทางการ อีกทั้งเป็นไปโดยธรรมชาติ
5.การพูดทางโทรศัพท์ เราอาจพูดสั่งงานหรือติดตามงานภายในองค์กรหรือพูดคุยกัน ผ่านทางโทรศัพท์ได้ เนื่องจากองค์กรใหญ่ๆหลายแห่ง มีพื้นที่กว้าง มีตึกที่อยู่ห่างไกลกัน ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย
6.การนำเสนอรายงาน การนำเสนองานเป็นการพูดเพื่อแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ อาจจะมีลักษณะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
ทั้ง 6 ประเภทนี้ จึงเป็นการสื่อสารโดยการพูดภายในองค์กร ที่มีความสำคัญ หากผู้ใดทำงานอยู่ภายในองค์กรก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตรงกันข้าม หากว่าท่านต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ท่านมีความจำเป็นจะต้องฝึกฝน พัฒนาตนเอง ในการพูดในรูปแบบต่างๆข้างต้นนี้
...
  
บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
เครื่องมือนำทางในการบริหารเวลา คือ เป้าหมาย
“ การคลาดสายตาจากเป้าหมาย ทำให้ต้องเพิ่มความพยายามขึ้นอีกเท่าตัว” (มาร์ก ทเวน)
การตั้งเป้าหมายมีความสำคัญต่อการบริหารเวลาเป็นอย่างยิ่ง เพราะการตั้งเป้าหมายทำให้เรามีทิศทางในการทำงาน ทำให้เรามีความตั้งใจทุ่มเทให้กับสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดและลดการใช้เวลากับสิ่งที่มีความสำคัญน้อยที่สุด อีกทั้งลดการใช้พลังงานทั้งทางร่างกาย ทางสมอง ทางจิตใจ ของเราลงไปกับสิ่งที่ไม่มีความสำคัญ
เมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว เราก็ควรที่จะจัดทำการวางแผนขึ้น เพราะการวางแผนเพียง 8 นาที จะช่วยให้เราประหยัดเวลาได้ถึง 1 ชั่วโมง เลยทีเดียว ฉะนั้น หากใครวางแผนมาก เขาก็จะมีเวลาเหลือในการทำสิ่งที่สำคัญๆสำหรับชีวิตมากขึ้น
สำหรับการตั้งเป้าหมายที่ดี เราควรมีการร่างเป้าหมาย ร่างแผนการต่างๆลงในกระดาษ เพราะการร่าง เป้าหมายและแผนการ ลงในกระดาษมีข้อดีหลายอย่าง เช่น ทำให้เราสามารถตรวจสอบเป้าหมายและแผนของเราได้ตลอดเวลา ทำให้เห็นภาพหรือทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้า ทำให้เราเกิดสมาธิในการทำงานมากกว่าการนั่งคิดไปเรื่อยๆ ทำให้เราลดภาระการจดจำของเรา การเขียนร่างนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นการทำงานและเตือนใจอีกด้วย ถ้าจะให้ดี เราควรมีแฟ้มใส่เป็นสัดส่วนเพื่อจะนำไปใช้เป็นหลักฐานในการทำงานครั้งต่อไปได้
หลายคนมักถามผมว่า “ แล้วถ้าผมมีเป้าหมายหลายอย่างละครับ ผมควรที่จะทำอย่างไร” หากว่าคุณมีเป้าหมายหลายอย่าง คุณควรเขียนเป้าหมายทุกอย่างลงในกระดาษ แล้วลองเรียงลำดับเป้าหมายที่มีความสำคัญที่สุดก่อนโดยให้คะแนนจากมากไปน้อย (เป้าหมายไหนมีความสำคัญมากให้คะแนนมาก เป้าหมายไหนมีความสำคัญน้อยให้คะแนนน้อยหรือเรียงจาก ABC ) แล้ววางแผนและให้ความสำคัญกับเป้าหมายที่มีความสำคัญมากที่สุดก่อนตามลำดับ
เป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นเครื่องมือนำทางในการบริหารเวลา ไม่ว่าคุณจะบริหารประเทศ บริหารทีมงาน บริหารองค์กร รวมถึงการบริหารตนเอง หากว่าไม่มีเป้าหมายเสียแล้ว การบริหารก็จะขาดทิศทาง ต่างคนต่างทำงาน จึงทำให้ประสิทธิภาพของตนเอง ขององค์กร ของหน่วยงาน ลดลง
ดังนั้น หากว่าคุณเป็นผู้บริหาร คุณควรตั้งเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ขึ้นภายในองค์กร ภายในหน่วยงาน ภายในทีมงาน และควรตั้งเป้าหมายสำหรับตัวของคุณเองด้วย แล้วคุณจะพบว่าคุณเป็นบุคคลหนึ่งที่บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีต




...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.