หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
  -  การเตรียมเพื่อพูด
  -  อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
  -  การเตรียมการพูด
  -  คุณสมบัติของนักพูดที่ดี
  -  พูดเก่ง...รวยก่อน...
  -  ศิลปะการพูดจูงใจ
  -  อยากเป็นนักพูด
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  การแต่งตัวกับนักพูด
  -  องค์ประกอบของการพูด
  -  ถ้อยคำการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  บุคลิกภาพของนักพูด
  -  การพูดจูงใจคน
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  ผู้ฟังอันตราย
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  พูดเป็นเขียนเป็นอย่างนักพูดนักเขียน
  -  เส้นทางสู่วิทยากร
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  ศิลปะการพูดแบบกะทันหัน
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  การดำเนินเรื่องในการพูด
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  Actions Speak Lound Than Words (ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
  -  การพูดเพื่อนำเสนอ
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  วิธีการนำเสนอ
  -  เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  สู่วิทยากรมืออาชีพ
  -  กิริยาท่าทางในการพูด
  -  การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
  -  การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
  -  การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
  -  การเตรียมความพร้อมในการพูด
  -  คำพูดประเภทต่างๆ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
  -  การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
  -  การพูดหาเสียงเลือกตั้ง
  -  เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
  -  การพูดทางการเมือง
  -  การพูดกับการบริหาร
  -  การอ่านกับการพูด
  -  วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
  -  วิทยากรกับการเป็นวิทยากร
  -  การเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร
  -  การเลือกวิทยากร
  -  ประโยชน์ของการฝึกอบรม
  -  การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง(ศิลปะการโต้วาที)
  -  ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  -  การพูดในอาชีพสื่อมวลชน
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  การเตรียมตัวก่อนสมัครเป็นนักการเมือง
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  วิธีสร้างความกล้าในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  การนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  การใช้โน๊ตย่อในการพูด
  -  การพูดโน้มน้าวใจ​
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
Actions Speak Lound Than Words (ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
Actions Speak Lound Than Words
(ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
ท่าทางหรือบุคลิกภาพ มีความสำคัญในการพูด บุคลิกภาพ หมายถึง สภาพนิสัยจำเพาะคน ซึ่งอาจรวมถึง รูปร่าง หน้าตา การแสดงออก ท่าทาง การนั่ง การยืน การเดิน เสื้อผ้า ทรงผม กริยาอาการ ตลอดจนเครื่องประทับต่างๆ ฯลฯ
นักพูด วิทยากร นักบรรยาย จึงควรเอาใจใส่ในเรื่องบุคลิกภาพ โดยต้องมีการปรับปรุง พัฒนาบุคลิกภาพดังนี้
1.อาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ เคยกล่าวไว้ว่า วิธีการสร้างบุคลิกภาพที่ดีในการพูด ควรงดแสดงอาการ 1.ล้วง 2.แคะ 3.แกะ 4.เกา 5.หาว 6.ยัก 7.โยก 8.ถอน 9.ค้อนและ 10.กะพริบ
2.ควรเดินขึ้นเวทีการพูดและพูด อย่างกระตือรือร้น เบิกบานแจ่มใสและกระฉับกระเฉง การที่ผู้พูดพูดด้วยความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง ผู้ฟังก็จะมีความรู้สึกตามที่ผู้พูดพูด แต่เมื่อการพูดครั้งใดที่ผู้พูด เดินขึ้นเวทีพูดและพูดด้วยความเฉื่อยชา เศร้าสร้อย ผู้ฟังก็จะรับรู้ถึงอารมณ์ดังกล่าวของผู้พูด อีกทั้งทำให้บุคลิกภาพของผู้พูดไม่เป็นที่ประทับใจอีกด้วย
3.ควรพัฒนาการใช้สายตา เมื่อต้องพูดต่อหน้าที่ชุมชน การใช้สายตาต้องมองไปให้ทั่วถึง วิธีการใช้สายตาที่ดี ต้องค่อยๆ กวาดสายตาไปยังผู้พูด ไม่ควรมองเพดาน ไม่ควรมองพื้น หรือมองไปยังที่ผู้ฟังคนใดคนหนึ่งมากเป็นพิเศษ ควรสบตาผู้ฟังและแสดงออกซึ่งความจริงใจในการพูด
4.การแสดงออกทางใบหน้า ควรยิ้มแย้มแจ่มใสเวลาพูด การยิ้มจะทำให้บรรยากาศในการพูดไม่ตึงเครียดจนเกินไป การใช้สีหน้าในการพูดก็ควรให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด เช่นพูดเรื่องเศร้า ก็ไม่ควรยิ้มหรือหัวเราะ แต่ควรทำหน้าเศร้า ทำน้ำเสียงเศร้า ไปตามเนื้อเรื่องที่พูด
5.การแต่งกายต้องให้เหมาะสมกับตัวเอง ต้องแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ ยึดหลักสะอาด เหมาะสมกับวัย เหมาะสมกับสถานที่ที่จะไปพูด การแต่งกายที่ดีควรแต่งกายเสมอผู้ฟังหรือสูงกว่าพูดฟังสักเล็กน้อย แต่ไม่ควรแต่งกายต่ำกว่าผู้ฟัง เช่น ผู้ฟังใส่สูทแต่เราเป็นผู้พูดดันใส่เสื้อยืด รองเท้าแตะ อย่างนี้ก็ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง
6.การใช้ไมโครโฟน ควรให้ปากห่างไมโครโฟนประมาณ 1 ฝ่ามือ เพราะถ้าปากใกล้ไมโครโฟนมากเกินไปก็จะทำให้เกิดเสียงดัง แต่ถ้าปากห่างไมโครโฟนมากไปก็จะทำให้เสียงที่พูดเบา ก็จะทำให้ผู้ฟังไม่ค่อยจะได้ยิน แต่ทั้งนี้ก็คงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลอีกเช่นกันเพราะบางคนอาจเป็นคนพูดเสียงดัง บางคนอาจจะเป็นคนพูดเสียงเบา ผู้พูดจึงต้องรู้จักประมาณระยะห่างระหว่างปากกับไมโครโฟนด้วย
7.ฝึกการใช้ภาษากาย ภาษากายเป็นการสื่อสารของมนุษย์โดยผ่านความเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การพยักหน้าทันทีที่มีความเห็นด้วย หรือ ส่ายหน้าทันทีที่เห็นขัดแย้ง ฯลฯ อีกทั้งต้องระวังการใช้ภาษากายที่เป็นไปในลักษณะลบ เช่น การไม่กล้าสบตาผู้ฟัง การแสดงออกซึ่งความกระวนกระวายใจ การดูนาฬิกาบ่อย ฯลฯ
ดังนั้น Actions Speak Lound Than Words หรือ ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด มีความเป็นจริงมากที่เดียว ดังจะเห็นได้จากนักพูดบางท่าน ที่พูดเก่ง แต่ใช้ภาษาท่าทางที่แสดงออกด้วยความไม่จริงใจ จึงทำให้ผู้ฟังเกิดความไม่เชื่อถือ ไม่ศรัทธา เช่น ไม่กล้าสบตาผู้ฟัง ชี้นิ้วใส่หน้าผู้ฟัง กัดฟัน ใช้เท้าเตะสิ่งของต่อหน้าผู้ฟัง เป็นต้น
สรุปก็คือ ท่าทางเป็นภาษาหนึ่งในหมวดของอวัจนภาษา(Non-Verbal Communication) ซึ่งภาษาท่าทางสามารถสื่อไปยังผู้ฟังได้ นักพูด วิทยากร นักบรรยาย ที่ดีจึงควรมีการปรับปรุง พัฒนาภาษาท่าทาง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความรักความศรัทธาและเข้าไปนั่งในหัวใจของผู้ฟังได้ง่ายขึ้น




...
  
การพูดเพื่อนำเสนอ
เทคนิคการพูดเพื่อนำเสนอ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดเพื่อนำเสนอ เป็นการพูดที่มีความสำคัญมากในปัจจุบัน เราทุกคนต่างก็เป็นนักนำเสนอ เพียงแต่ใครจะเป็นผู้นำเสนอได้ดีและมีประสิทธิภาพกว่ากัน เช่น เด็กๆ ต้องพูดนำเสนอเพื่อขอเงินผู้ปกครองไปซื้อสิ่งของที่ตนเองต้องการ , นักขายพูดนำเสนอขายสินค้าแก่ลูกค้า , ผู้ให้บริการต้องพูดนำเสนอการให้บริการที่ประทับใจแก่ผู้รับบริการ , นักการเมืองต้องพูดเพื่อนำเสนอนโยบายแก่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจเลือกตนเข้าไปบริหารประเทศ , ผู้เผยแพร่ศาสนาต้องพูดนำเสนอเพื่อให้ผู้ฟังเชื่อถือ ศรัทธาและนำไปปฏิบัติ ฯลฯ
ในบทความนี้ใคร่ขอแนะนำเทคนิคบางประการที่จะทำให้การพูดเพื่อนำเสนอให้เป็นที่สนใจและดึงดูดใจผู้ฟัง ดังนี้
1.ต้องวิเคราะห์ผู้ฟัง การพูดนำเสนอที่ดีและประสบความสำเร็จ สิ่งที่ผู้พูดควรคำนึงถึงอันดับแรก คือ ต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง ต้องรู้ว่าผู้ฟังคือใคร มีเพศใด มีอายุเท่าไร สถานภาพของผู้ฟังเป็นอย่างไร ทำงานอาชีพอะไร ความรู้การศึกษาของผู้ฟังอยู่ระดับไหน ผู้ฟังนับถือ ศาสนา มีวัฒนธรรม มีประเพณีอะไร แล้วผู้ฟังมีความต้องการอะไร รักชอบอะไร การวิเคราะห์ผู้ฟังและการพูดในสิ่งที่ผู้ฟังมีความต้องการจะทำให้ผู้พูด สามารถพูดนำเสนอเพื่อเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ฟังได้ ทั้งนี้การวิเคราะห์ผู้ฟังยังรวมไปถึง เรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ของผู้ฟังในขณะฟังผู้พูดพูดอีกด้วย
2.ต้องเตรียมเนื้อหาที่จะพูด ควรมีองค์ประกอบตามโครงสร้าง คือ คำขึ้นต้น เนื้อเรื่อง และสรุปจบ อีกทั้งต้องทำให้ทั้ง 3 ส่วน มีความสอดคล้อง กลมกลืนไปในทิศทางหรือเนื้อหาเดียวกัน ดังตัวอย่าง
2.1.การขึ้นต้นการพูดที่ดีเราต้องรู้จักสร้างความสนใจ สร้างความตื่นเต้น สร้างความอยากที่จะฟัง แก่ผู้ฟัง ซึ่งการขึ้นต้นมีเทคนิคหลายอย่าง เช่น
- การขึ้นต้นโดยตั้งคำถาม (ท่านผู้ฟังครับ ท่านผู้ฟังอยากมีเงินล้านภายใน 1 ปี หรือเปล่าครับ การขึ้นต้นประโยคดังกล่าว จะทำให้ผู้ฟังอยากที่จะฟังเรื่องราวของผู้พูด ว่าทำอย่างไรถึงจะมีเงินล้านภายใน 1 ปี ได้ )
- การขึ้นต้นด้วยการสร้างความสงสัย ( ท่านเชื่อไหมว่าเราสามารถอายุยืนนานถึง 110 ปี)
- การขึ้นต้นด้วยการพาดหัวข่าว( แม่แจ้งจับพระใช้ไฮไฟว์ลวง ม.3 เข้ากุฏิ)
- การขึ้นต้นด้วยการอ้างอิง ( มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า สมุนไพรไทยรักษาโรคได้เกือบทุกชนิด)
สำหรับการขึ้นต้นมีความสำคัญมากสำหรับการพูดนำเสนอ หากเราขึ้นต้นได้ดี ก็จะทำให้ผู้ฟังอยากติดตามเรื่องราวที่จะนำเสนอในส่วนของเนื้อเรื่อง แต่ถ้าหากขึ้นต้นไม่มี ไม่ดึงดูดใจผู้ฟัง ก็จะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟังเรื่องราวในส่วนของเนื้อหาต่อไป
2.2.เนื้อเรื่อง เป็นส่วนของเนื้อหาที่ต้องสอดคล้องกับคำขึ้นต้น เป็นส่วนที่มีเนื้อหามากกว่า ส่วนขึ้นต้นและสรุปจบ อาจพูดได้ว่ามีสัดส่วนดังนี้( คำขึ้นต้น 5-10 เปอร์เซ็นต์ เนื้อเรื่อง 80-90 เปอร์เซ็นต์และสรุปจบ 5-10 เปอร์เซ็นต์) เช่น
- เรียงตามลำดับ เวลา สถานที่ เช่น เรียงลำดับอดีต ปัจจุบัน และอนาคต , เรียงจากจังหวัดเหนือสุดไปใต้สุด ฯลฯ
- ใช้ตัวอย่างประกอบ ตัวอย่างจะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เพราะเรื่องราวบางอย่างอาจจะเป็นนามธรรม แต่การยกตัวอย่างจะทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้มากขึ้น
- เน้นจุดมุ่งหมายเดียว การพูดในส่วนเนื้อหาที่ดี ควรให้อยู่ในจุดมุ่งหมายหรือประเด็นเดียว ไม่ควรพูดหลายประเด็น จนผู้ฟังฟังแล้วเกิดความสับสนว่าผู้พูดต้องการนำเสนออะไรกันแน่
2.3.สรุปจบ เป็นส่วนสุดท้าย ท้ายสุด การสรุปจบที่ดี ควรทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ ตรึงใจ เช่น
- ฝากแง่คิด เป็นการพูดเพื่อฝากให้ผู้ฟังนำไปคิดต่อไป
- เรียกร้อง เชิญชวน เป็นการสรุปจบแบบ ขอร้อง เชิญชวน ให้ผู้ฟังกระทำสิ่งที่ผู้พูดต้องการ เช่น เชิญชวนให้เลิกบุหรี่ สุรา ยาเสพติด เชิญชวนให้ผู้ฟังได้ออกกำลังกาย
3.หาประสบการณ์ เทคนิคข้อนี้มีความสำคัญเป็นอันมาก คนที่มักไม่มีความมั่นใจในการนำเสนอของตน ก็เนื่องจากขาดประสบการณ์ การหาประสบการณ์ในการพูดนำเสนอจะทำให้ ผู้พูดนำเสนอเกิดความมั่นใจในตนเองมากขึ้น อีกทั้งจะทำให้รู้ว่าตนเองควร ปรับปรุง แก้ไข พัฒนาตนเองอย่างไรบ้าง
4.อย่าออกตัว การพูดนำเสนอที่ดี ผู้พูดไม่ควรออกตัว การออกตัวหรือกล่าวคำขอโทษผู้ฟัง จะทำให้ผู้ฟังเกิดความไม่มั่นใจ และทำให้ผู้ฟังขาดความศรัทธา ความเชื่อถือ ในตัวผู้พูด เช่น พูดว่าเรื่องที่จะนำเสนอนี้กระผมไม่ค่อยมีความรู้สักเท่าไร , การนำเสนอในครั้งนี้กระผมไม่ค่อยได้เตรียมตัวมาต้องขอโทษผู้ฟังด้วย ถ้าหากกระผมพูดอะไรผิดพลาด ฯลฯ
ดังนั้น การพูดเพื่อนำเสนอ จึงมีความสำคัญ สำหรับผู้ที่ต้องการความก้าวหน้าในอาชีพ ความก้าวหน้าในการทำงาน อีกทั้งยังทำให้ท่านเกิดความได้เปรียบกว่าคนที่ไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้ฝึกฝน ในการพูดนำเสนอ
...
  
6 W 1 H สำหรับการพูด
6 W 1 H สำหรับการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดการนำเสนอที่ดี ผู้พูดควรรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ และควรมีหลักการในการนำเสนอ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและนำไปประยุกต์ใช้ ในบทความนี้ กระผมขอนำเสนอในเรื่อง 6 W 1 H สำหรับการพูด มีดังนี้
1 What คือ เราต้องตอบคำถามก่อนว่า เราจะนำเสนอเรื่องอะไร การที่เราจะไปพูดในงานต่างๆ เราต้องทราบก่อนว่า เจ้าของงานต้องการให้เราพูดเรื่องอะไร ฉะนั้นเราต้องถามรายละเอียดต่างๆก่อนที่จะไปพูด เนื่องจากบางแห่ง ต้องการให้เราไปพูดเรื่องสัตว์ปีก แต่ในความเป็นจริงเรื่องสัตว์ปีกมีจำนวนมาก ผู้พูดจึงควรถามให้ลึกลงไปว่า ที่ว่าจะให้พูดเรื่องสัตว์ปีกจะให้พูดเน้นไปในสัตว์ปีกชนิดไหน เช่น ไก่ เป็ด ห่าน ฯลฯ เพราะในสมัยอดีต เคยมีเรื่องเล่ากันว่า ชาวบ้านหมู่บ้านแห่งหนึ่งต้องการให้อาจารย์ท่านหนึ่งไปพูดเรื่องสัตว์ปีก แต่อาจารย์ท่านนี้เคยมีประสบการณ์ทางด้านการพูดอยู่มาก จึงถามผู้เชิญไปพูดว่า ที่ต้องการให้พูดเรื่องสัตว์ปีกเป็นสัตว์ปีกประเภทไหน ปรากฏว่าชาวบ้านต้องการให้ผู้พูดพูดเกี่ยวกับสัตว์ปีกประเภท จิ้งหรีด แมงมัน เพราะชาวบ้านคิดว่า จิ้งหรีด แมงมันคือสัตว์ปีก ดังนั้น ผู้พูดต้องถามเจ้าของงานให้ชัดเจนถึงเรื่องที่จะให้พูด
2 Why คือ นำเสนอทำไม มีวัตถุประสงค์อย่างไร การพูดที่ดี เราควรรู้ว่างานที่ให้ไปพูดเขามีวัตถุประสงค์อย่างไร เช่น ต้องการได้รับความรู้จากผู้พูด หรือต้องการได้รับความบันเทิงสนุกสนานในการพูดหรือต้องการให้ผู้พูดพูดจูงใจให้ผู้ฟังคล้อยตามและนำไปปฏิบัติ หากว่าผู้พูดทราบวัตถุประสงค์ของเจ้าของงานแล้ว ก็จะทำให้ผู้พูดพูดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ยิ่งขึ้น
3 Whom นำเสนอต่อใคร ใครเป็นผู้ฟัง ในการพูดแต่ละครั้ง ผู้ฟังมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จในการพูด หากผู้พูดต้องการความสำเร็จในการพูด ผู้พูดควรวิเคราะห์ผู้ฟัง ว่าผู้ฟังเป็นใคร อายุ เพศ วัย การศึกษา การนับถือศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีอะไร
4 Who ผู้พูดต้องทราบว่าตนเองนำเสนอหรือพูดในฐานะใด เนื่องจากคนเราส่วนใหญ่มีบทบาทต่างๆ มากมาย เช่น เป็นผู้บริหาร เป็นนักขาย เป็นนักเขียน เป็นนักจัดรายการ เป็นนักศึกษา เป็นนักร้อง ฯลฯ ดังนั้น หากเราสวมบทบาทนักศึกษา การนำเสนอก็ต้องออกมาอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ถ้าเราสวมบทนักขายเราก็ต้องพูดนำเสนออีกรูปแบบหนึ่งแก่ลูกค้า เป็นต้น
5 Where นำเสนอการพูดที่ไหน สถานที่ สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เช่น พูดในวัด พูดในห้องประชุม พูดกลางท้องสนามหลวง พูดในห้องอบรมบรรยาย ฯลฯ การวิเคราะห์สถานที่จะทำให้เราเตรียมการพูดให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานที่นั้นๆ
6 When นำเสนอเมื่อไร สถานการณ์เป็นอย่างไร การพูดที่ดีต้องรู้จัก วิเคราะห์สถานการณ์ในการพูด ว่าเราควรพูดด้วยคำพูดอย่างไร ถึงจะเข้าถึงใจผู้ฟัง เช่น สถานการณ์การชุมชนทางการเมือง ควรพูดด้วยท่าทางที่จริงจัง เสียงดัง ฟังชัด ไม่ควรพูดด้วยน้ำเสียงที่เบา เนื่องจากการพูดทางด้านการเมืองต้องใช้ ท่าทาง น้ำเสียง ภาษา การอ้างอิง เพื่อที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือและยอมรับ
1 How เสนออย่างไร จึงจะประสบความสำเร็จในการพูด การนำเสนอมีส่วนสำคัญมากต่อการพูด ยิ่งในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย คอยช่วยในการนำเสนอ เช่น มีคลิปวีดีโอ มีเสียง มีคอมพิวเตอร์ มีโปรแกรมต่างๆ ที่จะทำให้การนำเสนอของเราเป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้น จงกล้าที่จะเรียนรู้ เทคโนโลยี เพื่อที่จะนำมาใช้ในการพูด
6 W 1 H จึงเป็นหลักการที่สามารถนำมาใช้หรือนำมาประยุกต์ใช้ในการพูดของท่านได้ หากท่านต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ขอให้ท่านได้โปรดเรียนรู้ พัฒนา ตนเองเพิ่มเติม อีกทั้ง หลักการ 6 W 1 H ยังสามารถนำไปใช้ในศาสตร์ต่างๆ เช่น ศาสตร์ทางด้านการขาย 6 W 1 H สามารถนำไปประยุกต์ใช้วิเคราะห์ลูกค้า หรือ 6 W 1 H สามารถนำไปใช้สำหรับเป็นหลักในการเขียนหนังสือได้อีกด้วย

...
  
วิทยากรสมัยใหม่
วิทยากรยุคใหม่ควรเป็นอย่างไร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ความสำเร็จในการฝึกอบรมในแต่ละครั้ง เราคงไม่ปฏิเสธว่า วิทยากรเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การฝึกอบรมในครั้งนั้นๆ เป็นไปด้วยดี มีประสิทธิภาพ หรือ เกิดความล้มเหลวในการฝึกอบรม ยุคอดีต การศึกษา สื่อต่างๆ เรามีโอกาสได้รับน้อยมาก แต่ในยุคปัจจุบัน คนจำนวนมากได้รับการศึกษา ได้รับการบริโภคสื่อต่างๆ อีกทั้งยังได้รับการอบรมในหลักสูตรต่างๆอีกมากมาย ฉะนั้น การคัดเลือกวิทยากรจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งวิทยากรยุคใหม่ ที่ได้รับการยอมรับในวงการฝึกอบรมควรมีคุณสมบัติดังนี้
1.มีการนำเสนอที่หลากหลาย วิทยากรยุคใหม่ควรนำเสนอในการอบรมด้วยความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายในการใช้สื่อ(การใช้คลิปภาพยนตร์ประกอบ , การใช้เพลงประกอบการฝึกอบรม , การใช้โปสเตอร์ในการประกอบการฝึกอบรม, การใช้อุปกรณ์ต่างๆในการประกอบการฝึกอบรม เป็นต้น) ความหลากหลายในเนื้อหา (มีการอ้างอิงวิชาการ มีการอ้างอิงตัวอย่างจริง มีการใช้มุขตลกมาสอดแทรก มีการใช้แง่มุมความคิดเห็นของตนเองในการนำเสนอ มีการแนะนำหนังสือหรือเนื้อหาอื่นๆ ให้ไปอ่านเพิ่มเติม เป็นต้น)
2.มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้ในการบรรยาย นี่คือความแตกต่างระหว่าง วิทยากรสมัยใหม่กับวิทยากรในสมัยก่อน เลยทีเดียว เนื่องจากยุคนี้ เรามีการแข่งขันสูง การใช้เทคโนโลยี จึงมีการนำมาใช้ทุกวงการ ไม่ว่า วงการธุรกิจ วงการการเมือง วงการทหาร วงการตำรวจ ฯลฯ ไม่เว้นแม้แต่วงการวิทยากรเอง เราจะเห็นได้ว่า วิทยากรหนุ่มๆ มีความสามารถเป็นที่ดึงดูดใจ หรือผู้ฟังอยากฟัง มากกว่าวิทยากรสมัยเก่าบางท่าน ก็เนื่องมาจากปัจจัยหนึ่ง ก็คือ วิทยากรท่านนั้น มีการใช้เทคโนโลยีมาใช้ประกอบการฝึกอบรมนั่นเอง ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขันในวงการวิทยากร
3.มีการนำเสนอที่ชัดเจน เข้าใจง่าย สนุก ไม่สับสน การเป็นวิทยากรสมัยใหม่ มักจะต้องทำเรื่องยากๆ ให้ดูเป็นเรื่องง่าย เรื่องง่ายๆ ให้เป็นเรื่องที่สนุก ไม่เครียด ตัวอย่าง สดๆร้อนๆ เมื่อสักครู่นี้เอง ก่อนที่กระผมจะเขียนบทความฉบับนี้ ได้มี โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ได้ติดต่อให้กระผมไปเป็นวิทยากร แล้วก็บอกว่า “ อาจารย์ ขอให้พูดแบบสนุกๆ ไม่เครียด ไม่ต้องเอาสาระก็ได้ เอาฮาอย่างเดียว” ผมก็เกือบถามไปว่า “ถ้าวันไปบรรยาย ก็ขอให้เตรียมถาดให้หน่อย จะได้ไปตีหัวและเล่นตลกให้ดูเลย ” 555)
4.มีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เมื่อผู้เข้ารับการอบรมกลับไปทำงานตามปกติแล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน เช่น พนักงานขายเมื่อก่อนขายไม่เคยขายเข้าเป้าหมาย แต่เมื่ออบรมไปแล้ว พนักงานขายคนดังกล่าวมียอดขายเกินเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้ หรือ พนักงานส่วนใหญ่มีความเฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น ในการทำงาน แต่เมื่อได้รับการอบรมไปแล้ว พนักงานส่วนใหญ่มีความขยันทำงาน มีความรับผิดชอบในการทำงานมากขึ้น เป็นต้น
5.มีความรู้กว้างและรู้ลึก วิทยากรสมัยใหม่ ต้องมีความรู้ที่รอบด้าน รู้กว้างและรู้ลึก ในเรื่องราวต่างๆ เนื่องจาก สังคมยุคปัจจุบัน เป็นสังคมเปิด เป็นสังคมแห่งการแข่งขัน เป็นสังคมข่าวสาร หากว่า วิทยากรมีความรู้น้อยกว่าผู้เข้ารับการอบรม อีกทั้งไม่สามารถตอบคำถาม หรือ แก้ปัญหาให้เขาได้ วิทยากรท่านนั้นก็คงสำเร็จได้ยากในแวดวงวิทยากรสมัยใหม่
6.มีความรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ยุคสมัยใหม่ หรือยุคสมัยนี้ เราคงได้ฟังได้ยินว่า มีวิทยากรระดับโลก ได้มาบรรยายในหัวข้อต่างๆ ให้กับนักธุรกิจไทย หรือ ผู้สนใจฟัง ซึ่งวิทยากรระดับโลกได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ในการอบรมบางหัวข้ออาจมีคนไทยแปลให้ จึงทำให้เราทราบว่า การที่ท่านจะเป็นวิทยากรยุคใหม่ ท่านจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ ท่านจึงจะได้เปรียบกว่าวิทยากรรุ่นเก่าๆ ที่ไม่สามารถสื่อภาษาต่างประเทศได้ เพราะท่านอย่าลืมว่า ประเทศไทยเราได้ไปทำสัญญาการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศต่างๆ ภาษาอังกฤษจึงเป็นสื่อกลางที่มีความสำคัญมาก ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อีกทั้งหากท่านเป็นวิทยากรที่เก่งภาษาต่างประเทศ ท่านก็อาจจะได้มีโอกาสไปบรรยายในต่างประเทศ
สรุปคือ วิทยากรยุคใหม่ต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะเรื่องของการใช้ความคิดในการนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลาย , การเรียนรู้เทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการฝึกอบรม , มีการดัดแปลง ประยุกต์ เนื้อหาเพื่อให้เกิดความชัดเจน เข้าใจง่าย สนุกไม่สับสนในเนื้อหาที่บรรยาย , มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้อบรมในทางที่ดีขึ้นในการทำงาน , ต้องเรียนรู้ให้มากและหนัก ต้องรู้ลึก รู้กว้าง ในหัวข้อต่างๆ และต้องมีความรู้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพื่อที่จะนำไปใช้ในการบรรยายหากท่านได้มีโอกาสไปบรรยายในต่างประเทศหรือประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
...
  
วิธีการนำเสนอ
เทคนิคในการนำเสนอ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ในการนำเสนอของแต่ละบุคคลมักมีการนำเสนอที่ไม่เหมือนกัน และมีวิธี มีเทคนิคที่แตกต่างกันไป ในบทความฉบับนี้ เราจะมาพูดถึง วิธีในการนำเสนอ เราสามารถจะนำเสนอโดยวิธีดังต่อไปนี้
1.เทคนิคสุนทรพจน์ คือ การลำดับเหตุการณ์ เช่น เล่าเรื่องตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน ไปยังอนาคต หรือ หากต้องการอธิบายประเทศไทย ก็ขอให้ไล่ลำดับตั้งแต่เหนือสุดลงไปยังใต้สุด ข้อควรระวังในการนำเสนอวิธีนี้ คือ ผู้นำเสนอไม่ควรอธิบายแบบไม่เรียงลำดับ กล่าวคือพูดย้อนไปย้อนมา จนผู้ฟังรู้สึกสับสน วกวน จนอยู่ในอาการมึนงง
2.เทคนิค เปรียบเทียบ ระหว่างสิ่ง 2 สิ่ง เช่น พวกเราอาจจะเคยไปฟังธุรกิจขายตรง บางยี่ห้อ มักจะมีการนำเสนอสินค้าของตนเอง เปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่ง ในเรื่องของคุณสมบัติ ลักษณะ ตลอดจนราคา อีกทั้งผู้นำเสนอยังมีการแสดงการสาธิตสินค้าที่เปรียบเทียบให้ผู้ฟังได้เห็นกับตาอีกด้วย
3.เทคนิค การแสดงปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหา เป็นเทคนิคการนำเสนอที่ผู้นำเสนอได้พูดถึงปัญหาเพื่อให้ผู้ฟังเกิดการติดตามรับฟัง การพูดของผู้นำเสนอ แล้วผู้นำเสนอจึงให้ผู้ฟังออกความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหา หรือผู้พูดนำเสนอก็ได้บอกวิธีการแก้ไขปัญหาให้แก้ผู้ฟัง
4.เทคนิค การจัดหมวดหมู่ การจัดกลุ่มและแบ่งภาค สำหรับข้อมูลในยุคปัจจบันมีมากมาย การจัดหมวดหมู่ การจัดกลุ่มและแบ่งเป็นภาค จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ในการนำเสนอหากผู้นำเสนอไม่ได้จัดหมวดหมู่ จัดกลุ่มหรือแบ่งเป็นภาคให้กับผู้ฟัง ผู้ฟังอาจจะไม่เข้าใจ แต่หากผู้นำเสนอได้ใช้เทคนิคการจัดหมวดหมู่ การจัดกลุ่มและแบ่งเป็นภาค แล้วก็จะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เช่น บริษัทขายตรงแห่งหนึ่ง มีลูกค้าทั่วประเทศ หากระบุเป็นจังหวัด ก็จะมีมากเกินไป แต่ถ้าเราจัดแบ่งลูกค้าออกเป็น ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน ก็จะทำให้ผู้ฟังรับรู้ได้ง่ายและเร็วขึ้น
5.เทคนิค การใช้ตัวย่อหรือตัวอักษร นักการตลาดหรือผู้ที่อยู่ในแวดวงการตลาด หากพูดถึง เรื่อง 4P(Product , Price , Place ,Promotion) นักการตลาดก็คงจะเข้าใจได้ไม่ยาก ในวงการขาย KASH (K = Knowledge A = Attitude S = Skill H = Habit ) นักขายหรือคนที่อ่านหนังสือเกี่ยวกับการขายหลายๆท่าน ก็อาจจะเข้าใจ หรือ 5 ส. (สะอาด , สะสาง , สะดวก , สุขลักษณะ และสร้างนิสัย) บุคคลที่ทำงานหรือบริหารสำนักงานก็คงเข้าใจได้ไม่ยาก ฯลฯ
6.เทคนิค การตั้งคำถาม การตั้งคำถามจะทำให้ผู้ฟังสงสัย แล้วอยากที่จะติดตามฟัง เช่น ท่านเชื่อหรือไม่ ว่าท่านสามารถเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ภายใน 3 เดือน , ท่านเชื่อหรือไม่ว่า โลกจะแตกอีก 10 ปี ข้างหน้า , ท่านทราบหรือไม่ว่า ใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน เป็นต้น
7.เทคนิค ตัวเลข การใช้ตัวเลขในการนำเสนอจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิดการติดตามฟัง อีกทั้งยังทำให้ผู้ฟังทราบว่าตอนนี้ตนเองอยู่ ณ เวลาใด เช่น 5 วัน นับตั้งแต่นี้เราทุกคนต้องออกไปเลือกตั้ง , 10 ล้านบาทเท่านั้น พวกเราใกล้ความจริงแล้ว เป้าหมายในการขาย 100 ล้านบาท เราเหลือแค่ 10 ล้านบาท เท่านั้น
8.เทคนิค หาอุปกรณ์ช่วย ในการนำเสนอด้วยการพูดแต่เพียงอย่างเดียว ก็ไม่สามารถทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายๆ แต่หากผู้นำเสนอมีอุปกรณ์ช่วย ก็จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้รวดเร็วและเห็นภาพได้ชัดเจน เช่น การสาธิตสินค้า , การให้ทดลองชิมสินค้า , การทดลองให้ขับรถจริงๆ , การให้ผู้ฟังร่วมใช้อุปกรณ์ช่วยเวลาสาธิตสินค้า เป็นต้น
เราจะเห็นได้ว่า เทคนิค 8 ประการ ข้างต้น เป็น เทคนิคที่ท่านสามารถนำไปใช้ในการพูดการนำเสนอได้ ส่วนจะใช้เทคนิคใดหรืออาจจะผสมผสานกันมากน้อยแค่ไหน ก็คงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ทั้ง ตัวผู้พูด ตัวผู้ฟัง สถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ
...
  
เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
อาชีพวิทยากรเป็นอาชีพที่มีความน่าสนใจ และเหมาะกับคนที่ชื่นชอบอิสรภาพ เพราะไม่ต้องไปทำงานเป็นเวลาเหมือนเช่นงานประจำ แต่เราสามารถบริหารเวลาได้เอง อีกทั้งมีรายได้ที่ไม่จำกัดจำนวนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของวิทยากรแต่ละบุคคล แล้วเราจะเป็นวิทยากรมืออาชีพได้อย่างไรกัน กระผมขอแนะนำดังนี้
1.ท่านต้องเริ่มต้นที่ความรักครับ คนเราหากมีความรัก ความชอบ ในอาชีพที่ตนเองทำ เขาคนนั้นมักจะทุ่มเท เวลา กำลังความสามารถต่างๆ แก่งานนั้น ถึงแม้งานนั้นจะพบกับความลำบากเขาก็มักจะมีความอดทนที่สูงกว่าการทำงานในงานที่ตนเองไม่รัก การเป็นวิทยากรก็เช่นกัน กระผมอยากให้ท่านเริ่มต้นที่ความรัก ความชอบ ความอยากที่จะเป็นวิทยากร อยากที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลต่างๆ
2.ท่านจะต้องมีความกล้า เมื่อมีความรักในงานวิทยากรแล้ว ขั้นต่อไปท่านจะต้องมีความกล้า ท่านต้องกล้าที่จะขึ้นไปพูดบนเวที ท่านพร้อมที่จะกล้าเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองเสมอ เพราะบางคนมีความรู้มาก มีปัญญามาก แต่หัวใจเท่าหัวไม้ขีดไฟ กล่าวคือ ใจไม่ถึง ใจเล็ก เวลาที่ถูกเชิญให้ไปพูด ในหัวข้อต่างๆ บางคนมีความรู้มากกว่าอีกคนหนึ่ง แต่ปรากฏว่าขาดซึ่งความกล้า เลยตอบปฏิเสธ แต่คนที่มีความกล้ายอมได้เปรียบ เพราะจะทำให้เขาเกิดประสบการณ์ในการพูดในหัวข้อนั้นๆมากขึ้น ถึงแม้เขาจะมีความรู้น้อยกว่าวิทยากรคนอื่น แต่ถ้าเขามีความกล้า เขาก็สามารถไปได้ไกลกว่า
3.ท่านจะต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะการเตรียมตัวจะเป็นตัววัดความสามารถระหว่างมือสมัครกับมืออาชีพ เช่น ท่านจะต้องเตรียมข้อมูลในการพูด ถ้าจะให้ดีท่านต้องเตรียมข้อมูลให้มากถึง 10 เท่าของข้อมูลที่ท่านจะนำไปพูด ท่านจะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการพูด ท่านจะต้องเตรียมการนำเสนอให้ดี
4.ท่านจะต้องเรียนรู้ ฝึกฝน การเป็นวิทยากรมืออาชีพมักขึ้นอยู่กับทักษะหรือประสบการณ์ กล่าวคือ เมื่อท่านถูกเชิญไปพูดบ่อยๆ ท่านก็จะเกิดทักษะ ท่านจะเกิดความชำนาญ ท่านจะรู้ว่า ควรจะพูดอย่างไร ผู้ฟังถึงสนใจ ท่านจะเกิดไหวพริบปฏิภาณในการแก้ปัญหาต่างๆในระหว่างการบรรยาย เช่น เวลาไฟดับ หรือ อุปกรณ์ไม่พอ หรือ ห้องบรรยายเล็กจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้แล้วท่านควรจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร วิทยากรมืออาชีพมักจะรู้วิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีกว่าวิทยากรมือสมัครเล่น สาเหตุก็เนื่องมาจาก วิทยากรมืออาชีพเคยผ่านประสบการณ์เหล่านี้มาก่อนนั่นเอง
5.ท่านจะต้องอดทน การจะเป็นวิทยากรมืออาชีพได้นั้น ท่านจะต้องเป็นคนที่ต้องอดทน ไม่ว่าจะต้องอดทนต่อความยากลำบาก อดทนต่อการถูกดูถูกเหยียดหยาม อดทนต่อการวิจารณ์ต่างๆ อีกทั้งการจะเป็นวิทยากรมืออาชีพได้นั้น ท่านจะต้องใช้เวลานานพอสมควร ไม่ใช่วิทยากรแค่ 1-2 ปี แล้วไม่อดทน แล้วล้มเลิก คือ เปลี่ยนแปลงอาชีพอื่น อย่างนี้ก็คงเป็นวิทยากรมืออาชีพได้ยาก เพราะวิทยากรมืออาชีพบางคนต้องใช้เวลาถึง 10-20 ปี ในเส้นทางดังกล่าว หากท่านใช้เวลาแค่ 1-2 ปี ท่านมีความอดทนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับวิทยากรมืออาชีพเหล่านั้น
6.ท่านจะต้องมีจรรยาบรรณ หรือ มาตรฐานความประพฤติ อาชีพวิทยากรถึงแม้จะเป็นอาชีพอิสระก็จริงอยู่ แต่วิทยากรมืออาชีพจะต้องเป็นคนที่มีจรรยาบรรณ เช่น เมื่อนัดวันเวลาที่จะไปบรรยายแล้ว วิทยากรต้องรับผิดชอบต่อการนัดหมายนั้น นอกจากเหตุสุดวิสัยจริงๆ อาจมอบให้วิทยากรท่านอื่นหรือให้ท่านผู้จัดงานหาวิทยากรแทน, ไม่เห็นแก่เงินหรือรายได้จนเกินไป วิทยากรบางท่านเมื่อนัดรับงานแล้ว แต่ปรากฏว่าอีกงานหนึ่งให้รายได้มากกว่างานแรก จึงไม่ยอมไปงานแรก อย่างนี้ก็ไม่ควรทำ เป็นต้น
ดังนั้น ปัจจัยข้างต้นนี้ เป็นตัวแบ่งแยกระหว่างวิทยากรมือสมัครเล่นกับวิทยากรมืออาชีพ แล้วท่านละ หากท่านอยากที่จะเดินบนเส้นทางวิทยากร ท่านจะเป็นมือสมัครหรือมืออาชีพ หากท่านต้องการเป็นมืออาชีพ ปัจจัยข้างต้นสามารถช่วยท่านได้อย่างแน่นอน
...
  
การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
นักการเมือง นักบริหาร นักปกครอง นักประชาสัมพันธ์ นักกฎหมาย ต้องเป็นนักพูด
การพูดต่อหน้าที่ชุมชนมีความสำคัญต่อความเป็นผู้นำและการประกอบอาชีพต่างๆ “หากท่านปรารถนาจะเป็นผู้นำ ท่านต้องลุกขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชนได้” เป็นคำพูดของหลวงวิจิตราวาทการที่ได้กล่าวมาอย่างยาวนานและเป็นอมตะวาจาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
“ ลิ้นเพียงสองนิ้ว ขงเบ้งยกเมืองให้เล่าปี่ได้” เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินความจริงทีเดียว ในการทำสงครามฝ่ายที่มีกำลังมากย่อมได้เปรียบกว่าฝ่ายที่อ่อนแอ แต่ในทางกลับกัน ฝ่ายที่มีมันสมองบวกกับการรู้จักใช้คำพูดให้เป็นประโยชน์ ย่อมสร้างชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ได้ นักการทูตที่สำคัญๆ ของโลก ได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศของตนเองอย่างมหาศาลก็ด้วยการใช้ลิ้นหรือคำพูดที่ก่อประโยชน์ในการเจรจาต่อรองตกลง ขอความช่วยเหลือฝ่ายต่างๆเพื่อให้ประเทศของตนเองอยู่รอดปลอดภัย
เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่านหลายท่านอาจมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อนหรือเข้าใจผิดคิดว่า นักพูดจะต้องคุยเก่ง พูดคล่อง พูดมาก หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่นักพูดหมายถึง คนที่สามารถใช้คำพูดให้เกิดประโยชน์ เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ พูดแล้วคนเชื่อถือ พูดแล้วสามารถโน้มน้าว ใจคนได้
เคยมีคนโทรศัพท์มาถามผมหลายคนว่า แล้วถ้าอยากจะเป็นนักพูดที่ดีต้องทำอย่างไร คำตอบคือ ท่านจำเป็นจะต้องเป็นนักอ่าน นักค้นคว้า นักคิด นักฟัง และก็หมั่นฝึกฝน พร้อมกับต้องมีการปรับปรุง พัฒนาการพูดของตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งต้องเชื่อว่า การพูดนั้นสามารถศึกษา เรียนรู้และฝึกฝนได้ จงเชื่อเรื่องของพรแสวงมากกว่าเรื่องของพรสวรรค์ ที่สำคัญนักพูดที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้
1. ต้องมีความปรารถนาอยากที่จะเป็นนักพูด เพราะ ความรัก ความชอบ จะทำให้ทำเรื่องที่รัก ที่ชอบได้ดีกว่า หากว่าเราไม่รัก ไม่ชอบ สิ่งนั้น อีกทั้งเมื่อถูกเชิญให้ไปพูดเรื่องอะไร ตัวผู้พูดจะต้องมีประสบการณ์ในเรื่องที่จะพูดอยู่พอสมควร หรือ ศึกษาเรียนรู้เรื่องนั้นมานานพอสมควร แต่หากไม่รู้เรื่องนั้นก็ควรเตรียมตัวไปให้ดี ต้องอ่านให้มาก ต้องฟังให้มาก ต้องมีการวางแผนการพูดเป็นอย่างดี ว่าจะขึ้นต้นอย่างไร ช่วงกลางจะพูดอย่างไรและสรุปจบอย่างไร ควรมีตัวอย่างหรืออุปกรณ์ หลักฐาน ประกอบหรือใช้อ้างอิงในการพูดแต่ละครั้ง
2. ต้องมีความสามารถในการสื่อสาร นักพูดที่ได้รับการยอมรับ มักมีเทคนิคในการพูดที่เป็นที่น่าสนใจของผู้ฟัง บางคนมีมุขตลก บางคนมีแง่คิด บางคนพูดแล้วคนฟังเชื่อถือคล้อยตาม โดยมากมักต้องมีวิธีเล่าที่ง่าย น่าสนใจ ไม่ทำเรื่องง่ายให้ยาก แต่จะทำเรื่องยากให้ง่าย และเรื่องง่ายให้เป็นของสนุก
3. ต้องมีการฝึกซ้อมการพูดอยู่เสมอ นักพูดที่ยิ่งใหญ่ มักเคยผ่านการพูดเวทีสำคัญๆ และมีชั่วโมงบินในการพูดที่สูงกว่านักพูดธรรมดาสามัญ เพราะการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ คำว่า “ศาสตร์” อาจเรียนรู้กันได้ แต่คำว่า “ ศิลปะ” คงต้องขึ้นอยู่ตัวบุคคลนั้น จงพัฒนาและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
4. ต้องมีการสอดใส่อารมณ์ในการพูด การพูดเป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง กล่าวคือ หากผู้พูดมีความรู้สึกถึงเรื่องที่พูดอย่างไร ผู้ฟังมักจะรู้สึกและสัมผัสได้ว่าผู้พูดมีความรู้สึกถึงเรื่องนั้นอย่างนั้น กล่าวคือ หากว่าผู้พูดพูดเรื่องใด ผู้พูดต้องทำน้ำเสียง กริยา ท่าทาง สีหน้า ไปในทางเดียวกับเรื่องที่พูดด้วย
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า การพูดต่อหน้าที่ชุมชน เป็นการสื่อสารที่มีอานุภาพมาก เป็นเครื่องมือ
ที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จและล้มเหลวได้พอๆกัน ฉะนั้น หากท่านต้องการความสำเร็จ ท่านจะต้องมีการฝึกฝน ฝึกฝนและฝึกฝน การพูดอยู่เสมอ
...
  
สู่วิทยากรมืออาชีพ
สู่วิทยากรมืออาชีพ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
อาชีพวิทยากรเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นอาชีพที่มีความเป็นอิสระ อาชีพวิทยากรมีข้อดีหลายอย่างเช่น มีรายได้ที่ไม่ต้องมีจำนวนจำกัดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล , มีการบริหารเวลาด้วยตนเองกล่าวคือไม่ต้องมีเวลาทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นเวลา เหมือนงานประจำ , เป็นอาชีพที่มีเกียรติผู้คนให้การยกย่อง , เป็นอาชีพที่ทำให้เกิดการพัฒนาเรียนรู้ฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ ฯลฯ
หลายท่านอาจมีคำถามว่า แล้วจะทำอย่างไรถึงจะก้าวไปสู่การเป็นวิทยากรมืออาชีพ กระผมขอให้คำแนะนำว่า การจะเป็นวิทยากรมืออาชีพได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
1.เริ่มต้นด้วยความรัก คนเราจะประสบความสำเร็จในอาชีพใด อาชีพหนึ่ง ท่านต้องมีความรัก ความชอบ สำหรับงานอาชีพนั้นๆ ตัวอย่าง ไทเกอร์ วูดส์ ชอบในกีฬากอล์ฟจึงฝึกฝน เรียนรู้ อยู่สม่ำเสมอ จนในที่สุด เขาประสบความสำเร็จเป็นนักกอล์ฟระดับโลก , สตีฟ จอบส์ ชอบคอมพิวเตอร์ รักคอมพิวเตอร์ จนในที่สุดเขาประสบความสำเร็จระดับโลกในวงการคอมพิวเตอร์รู้จักเขาเป็นอย่างดี , สุนทรภู่ ชอบเรื่องของกวี ท่านฝึกฝนเรียนรู้จนได้รับการยกย่องไปทั่วโลก เป็นต้น
ดังนั้น หากท่านต้องการเป็นวิทยากรมืออาชีพ ท่านต้องเริ่มต้นจากความรักในอาชีพนี้เป็นอันดับแรก
2.สะสมชั่วโมงบิน หมายถึง การหาเวทีให้ตนเองได้แสดงบ่อยๆ เท่าที่จะหาได้ ยิ่งท่านมีชั่วโมงบินมาก มีเวทีในการแสดงมาก ท่านก็จะมีการพัฒนาตนเองได้มากกว่า วิทยากรที่มีชั่วโมงบินน้อยหรือมีเวทีแสดงน้อย การผ่านเวทีแสดงมากๆ จะทำให้ท่านเกิดประสบการณ์ เกิดความเชี่ยวชาญ
3.พัฒนาตนเองอย่างหยุดยั้ง อาชีพวิทยากรเป็นอาชีพที่ต้องมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ท่านจะต้องหมั่นหาความรู้ใหม่ๆ ไม่หยุดนิ่ง ท่านต้องเป็นนักอ่าน นักศึกษา นักฟัง หมั่นเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ และต้องรู้จักค้นหาวิธีการหรือแบบฉบับของตนเองในการบรรยาย
4.ฝึกหัดความสามารถหลายๆทาง วิทยากรมืออาชีพมักมีความสามารถหลายๆทาง เช่น ต้องพูดต่อหน้าที่ชุมชนเป็น , ต้องร้องเพลงเป็น , ต้องหมั่นท่องคำกลอน คำคม แง่คิดต่างๆเพื่อใช้ในการฝึกอบรม , ต้องนำเกมส์หรือกิจกรรมต่างๆเป็น และต้องรู้จักแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าหรือมีไหวพริบดีในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการฝึกอบรม
5.ฝึกฝนอย่างต่อเนื่องอย่าหยุด อาชีพวิทยากรเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยประสบการณ์ ยิ่งใครมีประสบการณ์มากยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่าคนที่มีประสบการณ์น้อยกว่า ดังนั้น หากต้องการเป็นวิทยากรมืออาชีพท่านต้องไม่หยุดที่จะฝึกฝนตนเอง อีกทั้งต้องทำอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการเริ่มต้นในอาชีพวิทยากร หลายท่านอาจจะตั้งคำถามว่า แล้วเราจะเริ่มต้นอย่างไร สำหรับการเริ่มต้นอาชีพวิทยากรของแต่ละท่าน อาจไม่เหมือนกัน บางท่าน อาจเริ่มต้นจากการเป็นผู้ช่วยวิทยากรเพื่อเรียนรู้และฝึกฝนตนเอง บางท่าน อาจมีงานประจำแต่งานประจำไปเกี่ยวข้องกับการเป็นวิทยากรจึงมีโอกาสถูกเชิญให้ไปบรรยายในสถานที่ต่างๆ บางท่านอาจมีความรู้ความชำนาญอยู่แล้ว จึงเขียนหลักสูตร แล้วนำไปให้สถาบันที่รับจัดฝึกอบรมหางานให้ เป็นต้น
ดังนั้น อาชีพวิทยากรจึงเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ ยิ่งในโลกปัจจุบัน ผู้คนต่างก็ให้ความสนใจในการฝึกฝนตนเอง เรียนรู้สิ่งต่างๆมากขึ้น อีกทั้งวันที่ 1 มกราคม 2558 ประเทศไทยเราต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว จึงทำให้อาชีพวิทยากรเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น หากวิทยากรท่านใดสามารถบรรยายเป็นภาษาอังกฤษได้ยิ่งทำให้ได้ค่าตัวมากขึ้นหรือมีรายได้มากขึ้นไปด้วย
...
  
กิริยาท่าทางในการพูด
กิริยาท่าทางในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ถ้ารู้สึกว่าจะพูดอะไรให้น่าฟังไม่ได้...ก็นิ่งเสียดีกว่า....
กิริยาท่าทางในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการพูดในแต่ละครั้ง พวกเราลองสังเกตดู เมื่อผู้พูดพูดด้วยความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา ก็จะทำให้เราผู้ฟังเกิดความกระตือรือร้นตามไปด้วย ในทางกลับกัน หากว่าผู้พูดพูดด้วยความเฉยชา หรือมีความรู้สึกว่าไม่อยากจะพูด ก็จะทำให้ผู้ฟัง สัมผัสได้ถึงความรู้สึกของผู้พูดตามได้ด้วย
นักแสดงหลายคนรู้ถึงคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ บางคนเมื่อมีการแสดงบนเวที เมื่อได้รับบทที่สนุกสนาน ตื่นเต้น ถึงกับกระโดดไปกระโดดมาเพื่อปลุกตนเองให้กระฉับกระเฉง บางคนยิ้มแย้มแจ่มใส บางคนชกลม เพื่อให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว ผู้พูดก็เช่นกัน เมื่อต้องการพูดเรื่องที่สนุก ตื่นเต้น ก็ควรกระตุ้นอารมณ์ตนเองให้มีความรู้สึกที่สนุก ตื่นเต้น ก่อนขึ้นพูด
นักพูดที่ดีจะต้องพูดให้ได้ เต็มเสียง เต็มอารมณ์ และ เต็มอาการ กล่าวคือ
- เต็มเสียง คือ พูดด้วยกิริยาที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง พูดเสียงดัง ฟังชัด
- เต็มอารมณ์ คือ พูดไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก ให้มีความสอดคล้องกับเรื่องที่พูด
- เต็มอาการ คือ เมื่อเราพูดเต็มเสียงและเต็มอารมณ์แล้ว อาการต่างๆ ในระหว่างพูดก็จะปรากฏออกมาเอง
ทั้งนี้ กริยาท่าทางของผู้พูด ยังรวมไปถึง การปรากฏกาย ก่อนขึ้นพูดและหลังจากลงเวทีด้วย เช่น เมื่อถูกเชิญก็
ควรปรากฏกายด้วยความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง ต้องขึ้นพูดด้วยความมั่นใจ และในระหว่างการพูดบนเวทีก็ควรระวัง กิริยาดังต่อไปนี้ “ ล้วง แคะ แกะ เกา หาว ยัก โยก ถอน ค้อน และกระพริบ ”
ผู้พูดไม่ควรเอามือล้วงกระเป๋ากางเกงในระหว่างพูด , ไม่ควรเอามือไปแคะขี้มูกระหว่างพูด , ไม่ควรเอามือไปแกะสิ่งต่างๆในระหว่างพูด , ไม่ควรเกาศีรษะบ่อยๆ , ไม่ควรหาวในเวลาพูด , ไม่ควรยักไหล่ , ไม่ควรโยกตัวไปมาระหว่างการพูด,ไม่ควรถอนขนจมูกในระหว่างพูด, ไม่ควรมีกิริยาค้อนและกระพริบตาบ่อยๆ ในระหว่างพูดบนเวที เป็นต้น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการใช้ กิริยาท่าทางในการพูดมากยิ่งขึ้น จึงขอขยายรายละเอียดดังนี้
1.การใช้สีหน้า สายตา ระหว่างพูด การใช้สีหน้า จะต้องแสดงสีหน้าให้เข้ากับเนื้อหาของเรื่อง เช่น พูดเรื่องสนุกก็ควรยิ้มแย้มแจ่มใส , หากพูดเรื่องเศร้าก็ควรใช้สีหน้าที่เรียบ ไม่ควรหัวเราะในระหว่างพูด ส่วนการใช้สายตา ควรมองไปยังกลุ่มผู้ฟังให้ทั่วถึง
2.การใช้มือ ควรนำมาใช้ประกอบการพูด แต่ไม่ควรมีมากจนเกินไป
3.การใช้น้ำเสียง จะต้องมีความหลากหลาย เช่น มีเสียงดัง เสียงเบา มีการหยุด มีการเน้น อีกทั้งควรใช้น้ำเสียงให้มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง
4.การแต่งกาย ต้องเหมาะสมการสถานที่ กับกลุ่มของผู้ฟัง
5.การเคลื่อนไหวร่างกาย ต้องมีความสัมพันธ์กับ เนื้อเรื่อง เช่น พูดเรื่องสนุก ก็ควรเคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อยขึ้น เคลื่อนไหวร่างกายแบบกระตือรือร้น , แต่หากพูดเรื่องเศร้า ก็ควรเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยลง เป็นต้น
6.การทรงตัวในระหว่างการยืนพูด ควรยืนให้มั่นคง เท้าห่างกันพอประมาณ 1 คืบ ไม่ควรยืนชิดจนเกินไป หรือ เท้าห่างกันมากจนเกินไปในระหว่างการยืนพูด
นอกจากนี้ กิริยาท่าทางในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ยังรวมไปถึงเรื่องของบุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายในของผู้พูดอีกด้วย เช่น บุคลิกภาพภายนอก ( ทรงผม , ใบหน้า , ท่าทาง , ปาก , ขา , ตา , หู ฯลฯ) , บุคลิกภาพภายใน ( นิสัย , พฤติกรรม , การแสดงออก , มารยาท ฯลฯ) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผู้พูดจำเป็นต้องพัฒนา ฝึกฝน ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
บุคลิกภาพ ทุกผู้ จะดูดี
ปรากฏตัว ทุกที่ สมทีท่า
มาดผู้นำ ทำถูก ทุกลีลา
ผู้ตามมา ก้าวเดิน เจริญรอย

...
  
การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
“ ในโลกนี้ยังไม่เคยปรากฏว่านักพูดคนใดที่สามารถพูดโดยไม่เตรียมตัวได้ดีกว่าเตรียมตัวนอกเสียจากเหตุบังเอิญ เท่านั้น” เป็นคำพูดที่ให้แง่คิดมากสำหรับคำพูดของ ดร.ราล์ฟ ซี.สเม็ดเล่ย์ ผู้ก่อตั้ง Toast Masters International
สำหรับการเตรียมตัว เราต้องมีการคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
1.วัตถุประสงค์ในการพูด ว่าการพูดครั้งนั้น เราพูดเพื่ออะไร (พูดให้ความรู้ พูดเพื่อให้ความบันเทิง หรือพูดเพื่อชักชวน)
2.เรื่องที่จะพูด ไม่ควรกว้างเกินไป จนหาประเด็นสำคัญๆไม่ได้ ทั้งนี้ผู้พูดควรพูดเรื่องที่ตนเองมีความถนัด มีประสบการณ์ เพราะหากผู้พูดไม่มีความถนัดหรือมีประสบการณ์ ผู้พูดก็ควรตอบปฏิเสธการพูดในครั้งนั้น
3.รวบรวมเนื้อหาที่จะพูด ผู้พูดควรทำการรวบรวมเนื้อหาที่จะพูดทั้งหมดเสียก่อนไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาจะใช้ได้หรือไม่ได้ เพราะเราสามารถนำมาตัดต่อหรือเพิ่มเติมได้ในภายหลัง
4.การวางโครงเรื่อง จะขึ้นต้นอย่างไร ตอนกลางอย่างไร และจบอย่างไร
5.การวิเคราะห์ผู้ฟัง เป็นขั้นตอนหนึ่งของการเตรียมตัว เพราะหากว่าเรารู้ว่าผู้ฟังเป็นใครเราสามารถยกตัวอย่างต่างๆหรือทำกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้ฟังมากยิ่งขึ้น
6.การฝึกซ้อม การฝึกซ้อมการพูดมีความสำคัญต่อความสำเร็จและความล้มเหลว ในการพูดแต่ละครั้ง ยิ่งเป็นนักพูดหน้าใหม่หรือกำลังฝึกฝนการพูดใหม่ๆ ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการฝึกซ้อม แต่สำหรับนักพูดหน้าเก่า เขามักมีเวทีแสดงการพูดมากดังนั้น เขาจึงใช้เวทีต่างๆในการพูดเพื่อฝึกซ้อมการพูดไปในตัว
การฝึกซ้อมการพูดมีหลากหลายวิธีด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ฟัง สถานที่ที่จะไปพูด ฐานะของผู้พูด เช่น การพูดในงานโต้วาที การพูดในฐานะวิทยากรบรรยายให้ความรู้ การพูดในงานปาฐกถา ฯลฯ ซึ่งแต่ละงานมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่ว่าผู้พูดจะเตรียมสื่อหรือมีทัศนะอุปกรณ์ช่วยในการพูดมากน้อยเพียงใด
อีกทั้งจริตในการฝึกซ้อมการพูดของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ท่านผู้อ่านก็ไม่ควรเลียนแบบ แต่ควรค้นหาแนวทางของตนเอง เช่น บางคนฝึกซ้อมต่อหน้ากระจกแล้วทำให้การพูดออกมาดี , บางคนฝึกซ้อมในรถยนต์ , บางคนฝึกซ้อมต่อหน้าเพื่อน , บางคนฝึกซ้อมโดยเปิดสไลด์การนำเสนอไปด้วยเสมือนกับกำลังพูดกับผู้ฟังจริงๆ ฯลฯ ทั้งนี้การฝึกซ้อมจะได้ผลดีเพียงใด คงขึ้นอยู่กับนิสัย จริต ความชอบของแต่ละบุคคล ซึ่งเราต้องค้นหาจากตัวของเราเอง
การวางแผนการพูดมีความสำคัญไม่น้อยต่อความสำเร็จ ตัวอย่าง เราจะขึ้นต้นอย่างไรในการนำเสนอ นักพูดหลายท่านในยุคปัจจุบันมักมีการขึ้นต้นด้วยเพลงบ้าง ด้วยคลิป VCD บ้าง ขึ้นต้นด้วยสไลด์สำคัญๆบ้าง แล้วจะมีการเชื่อมโยงเนื้อหาอย่างไรเพื่อให้เกิดความกลมกลืน และตอนจบจะจบอย่างไร เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ สิ่งเหล่านี้มีผลอย่างมากต่อการพูดแต่ละครั้ง การฝึกซ้อมการพูดเราจึงควรให้ความสำคัญต่อการวางแผนการพูด
การซ้อมพูดที่ดีไม่ควรท่องจำคำต่อคำ เพราะจะทำให้ผู้ฝึกซ้อมเกิดความเบื่อหน่าย หากจำไม่ได้ก็จะเสียเวลา อีกทั้งการท่องจำแล้วนำไปพูดจะทำให้ผู้ฟังสัมผัสได้ เนื่องจากไม่เป็นธรรมชาติ ไร้ชีวิตชีวา ทั้งนี้ควรซ้อมพูดมาจากใจ ซ้อมพูดด้วยความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เสมือนการพูดบนเวทีจริงๆ
สำหรับประโยชน์ของการฝึกซ้อมการพูด นักพูดที่ประสบความสำเร็จทั้งในยุคอดีต ยุคปัจจุบัน จะขาดการฝึกซ้อมไปไม่ได้เลย เพราะการฝึกซ้อมจะทำให้ท่านเกิดความมั่นใจในการพูด การฝึกซ้อมจะทำให้ท่านจำเนื้อหาในการพูดได้ดีกว่าการไม่มีการฝึกซ้อม และการฝึกซ้อมการพูดจะทำให้ท่านได้มีการแก้ไขสำนวน เนื้อหาของการพูดเพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
การพูดที่ยาวเกินไปหรือสั้นเกินไป ส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมตัวและการฝึกซ้อมที่ไม่ดีพอ
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.