หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  การเตรียมการพูด
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  พูดดีเป็นศรีแก่งาน
  -  องค์ประกอบของการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  การพูดแบบผู้นำ
  -  การพูดจูงใจคน
  -  การวิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  เทคนิคการเป็นพิธีกร
  -  การพูดในชีวิตประจำวัน
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างวาทะสำหรับนักพูด
  -  มาเป็นวิทยากรกันเถอะ
  -  ความเชื่อมั่นในการพูด
  -  การพูดเพื่อนำเสนอ
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  การพูดให้น่าเชื่อถือ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  การสร้างอารมณ์ขันในการพูด
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  การสร้างพลังสามัคคี
  -  ความเชื่อมั่นในตนเองเวลาพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  กิริยาท่าทางในการพูด
  -  ศิลปะการพูดในที่ประชุม
  -  การฝึกซ้อมการพูด
  -  วัตถุดิบสำหรับการพูด
  -  การพูดอย่างมีตรรกะ
  -  การพูดเชิงบวก
  -  วิธีการพูดชนะใจคน
  -  การเตรียมความพร้อมในการพูด
  -  พูดเหมือนผู้นำ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
  -  เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
  -  การอ้างวาทะคนดังในการพูด
  -  ก้าวสู่นักพูดมืออาชีพ
  -  จังหวะในการพูด
  -  การเลือกวิทยากร
  -  พูดอย่างไรให้ขายได้
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  วิธีฝึกพูดของ เดล คาร์เนกี
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  คุณธรรมนักพูด
  -  เทคนิคการพูดของ บารัค โอบามา
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  มโนภาพกับการพูด
  -  การเขียนสคิปในการพูด
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  สอนอย่างไรให้ง่ายและสนุก
  -  เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การสื่อสารสำหรรับข้าราชการ
  -  เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
พลังของจังหวะในการหยุดพูด
พลังของจังหวะในการหยุดพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่า คนที่พูดเก่ง ต้องเป็นคนที่พูดคล่อง พูดเร็ว พูดแบบไม่หยุด แต่จริงๆแล้ว การหยุดพูด ชั่วขณะหนึ่ง ในเวทีการพูดต่อหน้าที่ชุมชนกับเป็นประโยชน์และมีพลังเป็นอันมาก
เพราะในการพูด หากว่าเราพูดเป็นประโยค แล้วเราหยุดบ้าง จะทำให้ผู้ฟังได้มีโอกาสคิดตาม ในการพูด หากว่าเราพูด แล้วหยุดเป็นจังหวะ ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดการผ่อนคลายอารมณ์ในการฟัง ในการพูด แล้วหยุดบ้าง ก็จะทำให้ผู้ฟังตามทันเรื่องราวต่างๆที่เรานำเสนอ
ซึ่งเทคนิคหรือจังหวะในการหยุดพูด เราจะเห็นนักการเมือง นักพูดที่จูงใจคน ใช้ในเวทีการพูดเสมอ เช่น เมื่อพูดไปสักระยะหนึ่ง แล้วเขาจะถามผู้ฟังว่า “ จริงไม่จริง ครับ” แล้วหยุดพูด ไปชั่วขณะ เพื่อให้ผู้ฟังได้มีเวลาคิดคล้ายตามเขา หรือ “ ใช่ไม่ใช่ ครับ พี่น้อง” แล้วก็หยุดพูด ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่า ผู้ฟังบางส่วนจะพยักหน้าแล้วตอบว่า “ ใช่ ”
หรือ นักพูดที่ทำให้ผู้อื่นคล้ายตามได้บางคน ต้องการให้ผู้ฟังจดจำคำพูดบางประโยค ที่มีความสำคัญๆ หรือต้องการให้ผู้ฟังเกิดการนำเอาคำพูดไปปฏิบัติตาม เขาก็จะพูดซ้ำประโยคนั้น แล้วก็หยุดพูด แล้วก็พูดประโยคเดิมอีกครั้งหรือสองครั้ง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความคิดและเล็งเห็นถึงความสำคัญของประโยคดังกล่าว เช่น การพูดในวันแม่แห่งชาติ
กระผมขอให้พวกเราที่คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ท่านกลับไปก้มลงกราบคุณแม่เถอะครับ (แล้วหยุดพูดชั่วขณะหนึ่ง) กระผมขอให้พวกเราที่คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ท่านกลับไปก้มลงกราบคุณแม่เถอะครับ (แล้วหยุดพูดชั่วขณะหนึ่ง) กระผมขอให้พวกเราที่คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ท่านกลับไปก้มลงกราบคุณแม่เถอะครับ (แล้วหยุดพูดชั่วขณะหนึ่ง) ก่อนที่จะไม่มีคุณแม่เหลือไว้ให้ท่านกราบ
ฉะนั้น จังหวะในการหยุดพูด ย่อมมีพลังเสมอ เช่นเดียวกันกับ การร้องเพลง เราจะเห็นได้ว่า การร้องเพลงก็มีจังหวะเสมอ เพลงทุกเพลง ผู้ร้องร้องไป ก็จะมีบางช่วงบางตอน เขาจะหยุดร้อง แต่จะมีท่วงทำนองบรรเลง สอดแทรกแทน เสียงร้อง
เสมอ

...
  
สอนอย่างไรให้ง่ายและสนุก
สอนอย่างไรให้ง่ายและสนุก
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
วิชาที่ง่าย ถ้าครูอาจารย์สอนยาก วิชานั้นก็กลายเป็น วิชาที่ยาก
วิชาที่ยาก ถ้าครูอาจารย์สอนง่าย วิชานั้นก็กลายเป็น วิชาที่ง่าย
การที่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา จะตั้งใจเรียน มีความสุข มีความสนุก และอยากเรียน สิ่งที่มีความสำคัญที่สุด ไม่ใช่การมีห้องเรียนที่ดี ไม่ใช่การมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย ไม่ใช่การมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การมีครู อาจารย์ ที่สอนดี สอนง่าย สอนสนุก
แล้ว คำถามก็คือ แล้วทำอย่างไรถึงจะสอนให้สนุก สอนให้ง่าย สอนให้เด็ก นักเรียน นิสิต นักศึกษา อยากที่จะเรียน การสอนจึงเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ซึ่งคนที่เป็น ครู อาจารย์ จะต้องศึกษา เรียนรู้ ฝึกฝน ทักษะ ในการสอน เพื่อให้เด็กชอบ เพื่อให้เด็กเกิดการรักการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งปัจจัยหรือองค์ประกอบในการสอนให้ง่ายและสนุกมีดังนี้
1.ครู อาจารย์ ต้องสวมบทบาท นักแสดง เวลาเราไปดูหนัง คนที่ดูหนัง ต่างดูไปที่จอ เพื่อดูการแสดง การเป็นครู อาจารย์ ก็เช่นกัน นักเรียน นักศึกษา นิสิต ที่นั่งเรียนกับเรา ต่างก็ดู เราอยู่จุดๆเดียว ฉะนั้น ครู อาจารย์ ที่สอนสนุก มักจะนำเอาการแสดงมาบวกกับการสอน จึงทำให้เด็ก นักเรียน นิสิต นักศึกษา ชอบ ตัวอย่างเช่น อาจาย์นักพูดหลายๆท่าน ทำหน้า ทำตา แสดงท่าทางเวลาสอน ในห้องเรียน เด็กนักเรียน นิสิต นักศึกษาต่างพากันหัวเราะ สนุกสนานในเวลาเรียน เช่น อาจารย์สุขุม นวลสกุล , ดร.โอภาส กิจกําแหง ,อาจารย์ สุนีย์ สินธุเดชะ เป็นต้น
2.ครู อาจารย์ ต้องมีความรู้ รู้รอบ รู้ลึก รู้กว้าง ในวิชาที่สอน สามารถตอบคำถามให้แก่นักเรียน นักศึกษา นิสิต ได้อย่างกระจ่างแจ้ง สามารถยกตัวอย่าง อย่างเป็นรูปธรรมให้เห็น ไม่ควรยกตัวอย่างเป็นนามธรรม เพราะจะทำให้ นักเรียน นักศึกษา นิสิต เข้าใจได้ยาก
3.ครู อาจารย์ ต้องสอนนักเรียน นักศึกษา นิสิต แบบมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ร่วมกิจกรรม ทำแบบฝึกหัด แบบกลุ่ม ออกมานำเสนอ ออกมาแสดงความคิดเห็น
4.ครู อาจารย์ ต้องรักที่จะสอน ต้องชอบที่จะสอน ต้องชอบที่จะถ่ายทอด เมื่อมีความรักเสียแล้ว เราจะทุ่มเท เราจะเตรียมการสอน เราจะเตรียมกิจกรรม เราจะพัฒนาการสอน แต่ถ้าเราไม่รักที่จะสอน ไม่รักที่จะถ่ายทอด เราก็จะเกิดการเบื่อหน่าย เราก็จะไม่สนุก ซึ่งพฤติกรรมต่างๆ จะปรากฏออกมาในทางตรงกันข้ามกับ ครู อาจารย์ ที่รักและชอบที่จะสอน เขาจะมีความสนุก เขาจะมีความสุข เมื่อครู อาจารย์ มีความสุข มีความสนุก ก็จะทำให้ผู้เรียน มีความสุข และสนุกตามไปด้วย
5.ครู อาจารย์ ต้องปรับปรุงบุคลิกให้เป็นที่น่าสนใจ ทั้ง บุคลิกภาพภายในและบุคลิกภาพภายนอก ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของการแต่งกาย การมีอารมณ์ขัน การมีความกระตือรือรน ยิ้มแย้มแจ่มใส ซึ่งบุคลิกภาพเหล่านี้ จะทำให้ นักเรียน นักศึกษา นิสิต อยากที่จะเข้ามาใกล้ อีกทั้งต้องมีทักษะในการเล่าเรื่อง ยิ่งเล่าเรื่องใกล้ๆตัวผู้เรียนยิ่งชอบใจ
6.ครู อาจารย์ ต้องสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเอง เมื่อครูอาจารย์สร้างแรงจูงใจในตัวเองแล้ว ผู้เรียนก็จะเกิดแรงจูงใจไปด้วย ฉะนั้น การเป็นครู อาจารย์ ที่ดี ควรที่จะให้กำลังใจผู้เรียน เมื่อผู้เรียนเกิดอารมณ์ท้อแท้ ไม่ควรพูดดูถูกหรือทำให้ผู้เรียนเกิดกำลังใจตก
7.ครู อาจารย์ ต้องรู้จักวิเคราะห์ ผู้เรียน ว่าผู้เรียน อยู่ในวัยใด เช่น เป็นนักเรียน เราก็ควรมีวิธีที่สอนแตกต่างกับผู้เรียนที่เป็น นักศึกษาหรือนิสิต เพราะ เรื่องของอายุ ของวัย ของประสบการชีวิต มีความสำคัญต่อความเข้าใจ ถ้าผู้สอน สื่อเรื่องที่ผู้เรียนไม่เคยรับรู้ หรือไม่มีประสบการณ์ ผู้เรียนก็จะไม่เข้าใจ
8.ครู อาจารย์ ต้องรู้หลักการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เช่น สายตาควรมองไปที่ผู้เรียน ไม่ควรมองเพดานหรือมองหนังสือหรือมองสื่อการสอนมากเกินไป กล่าวคือ เราต้องไม่ทิ้งสายตาจากผู้ฟัง เพราะถ้าเราทิ้งสายตาจากผู้ฟัง ผู้ฟังก็จะทิ้งเรา , ใช้ท่าทางประกอบการพูด , ใช้น้ำเสียงประกอบการพูด เป็นต้น
ดังนั้น การสอนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนจะเกิดแรงจูงใจในการเรียน ผู้เรียนจะเกิดความสุขในการเรียน ผู้เรียนจะเกิดความสนุกในการเรียน ผู้เรียนอยากที่จะเรียนและตั้งใจเรียน ปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดก็คือ ตัวผู้สอน ท้ายนี้ก็อยากจะเป็นกำลังใจให้กับ คุณครู อาจารย์ทุกคน ที่มีอุดมการณ์ในการสอนเด็กๆ เพื่อให้เด็กๆ ได้รับความรู้และนำไปใช้เพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อๆไป
...
  
เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
จากประสบการณ์ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของกระผม ซึ่งปัจจุบันกระผมทำงานทางด้านการเป็น วิทยากร เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยต่างๆ มาร่วม 20 ปี ในบทความฉบับนี้ จึงอยากที่จะแชร์ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้กับท่านผู้อ่าน ในหัวข้อ “ เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี”
1.ต้อง ใช้ภาษาท่าทาง น้ำเสียง และคำพูด มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เขาได้ค้นพบว่า ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนหรือการสื่อสาร 1. ผู้ฟังจะสนใจ ภาษาท่าทาง 55 % 2.ผู้ฟังจะสนใจ น้ำเสียง 38 % 3.ผู้ฟังจะสนใจ คำพูด 7 % ฉะนั้น หากว่าท่านต้องการประสบความสำเร็จในการพูดต่อหน้าที่ชุนชน ท่านควรให้ความสนใจในการพัฒนา ฝึกฝนทางด้านการใช้ภาษาท่าทางให้มาก รองลงมาควรให้ความสนใจกับการใช้น้ำเสียง และคำพูด ตามลำดับ แต่นักพูดเป็นจำนวนมากกับละเลย พวกเขากับทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามคือพวกเขาจะพัฒนาการใช้คำพูดมากที่สุด แล้วจึงพัฒนาน้ำเสียง และพัฒนาการใช้ภาษาท่าทาง
2.ต้อง ยกตัวอย่างที่น่าสนใจ การยกตัวอย่างในการพูดจะทำให้การพูดของเราเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเรื่องบางเรื่องที่พูดมีลักษณะเป็นนามธรรม เข้าใจยาก แต่ถ้าผู้พูด สามารถยกตัวอย่างประกอบ ก็จะทำให้ผู้ฟัง เห็นภาพได้และเข้าใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งการพูดยกตัวอย่าง เราก็ควรยกตัวอย่างที่น่าสนใจ ไม่ควรยกตัวอย่างเก่าๆ หรือยกตัวอย่างที่ผู้ฟัง ได้ฟังมาบ่อยแล้ว ผู้ฟังก็มักจะไม่เกิดความสนใจที่จะฟัง และจากประสบการณ์ในการพูดที่ผ่านมาของกระผม คนไทยเราชอบฟังตัวอย่างที่สนุกๆ ตัวอย่างที่มีความขำขัน ผู้ฟังก็ยิ่งมีความสนใจหรือมีความตั้งใจที่จะฟัง มากยิ่งขึ้น
3.ต้อง มีประเด็นหลัก หรือ หัวข้อที่เราต้องการสื่อสาร เราต้องพูดให้ตรงกับหัวข้อที่ผู้จัดกำหนด หรือต้องการและถ้าพูดเป็นจำนวนหลายชั่วโมง ก็ควรมีประเด็นรองๆ ลงมาด้วย และเมื่อพูดจบ ผู้ฟังก็ควรเข้าใจว่าเราต้องการสื่อสารอะไร ในหัวข้อที่กำหนด
4.ต้อง มีความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้พูดหลายคน เตรียมตัวมาดี มีความรู้ดี มีความสามารถ แต่ถ้าขาดซึ่งความมั่นใจในตนเอง เขาก็จะเกิดความกลัว เกิดความวิตกกังวล เมื่ออยู่บนเวทีพูด การพูดของเขาก็จะขาดซึ่งพลัง ขาดซึ่งความกระตือรืนร้น ขาดสีสันในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เขาจะพูดแบบไม่เต็มกำลัง ไม่เต็มความสามารถ แต่ถ้าเขามีความเชื่อมั่นในตนเอง เขาจะพูดแบบเต็มเสียง เต็มอารมณ์ เต็มอาการ ในการพูด เขาจะเอาชนะความกลัวต่างๆ ในตอนอยู่บนเวทีพูด
5. ต้อง วิเคราะห์ผู้ฟัง ต้องรู้ว่าผู้ฟังของเราคือใคร เพศอะไร อยู่ในวัยไหน มีความรู้การศึกษาระดับไหน มีจำนวนกี่คน ผู้ฟังต้องการอะไร เมื่อเราวิเคราะห์ผู้ฟัง ออกแล้ว เราก็สามารถพูดให้ตรงกับใจของผู้ฟัง
ยกตัวอย่างที่มีความเหมาะสมกับผู้ฟังได้
6.ต้อง มีความรักในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน คนที่ประสบความสำเร็จในวงการใดๆ ก็ตาม กระผมคิดว่า เขาจะต้องมีความรักหรือความชอบในสิ่งนั้นๆ การพูดต่อหน้าที่ชุมชนก็เช่นกัน ถ้าท่านไม่ชอบหรือถ้าท่านไม่มีความรัก ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ท่านจะไม่มีความสุขในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เมื่อมีคนเชิญท่านไปพูด ท่านจะรู้สึกกลัว และไม่อยากที่จะไปพูด แต่ตรงกันข้าม ถ้าท่านรักในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ท่านจะมีความสุขกับมัน และในบางเวที การพูดของท่านอาจจะล้มเหลว แต่ท่านก็จะสามารถลุกขึ้นมาได้และแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม
7.ต้อง เป็นนักศึกษาทางการพูดต่อหน้าที่ชุมชนตลอดเวลา คนที่จะประสบความสำเร็จทางการพูดอย่างสูง เขาจะศึกษาวิธีการ เขาจะตามไปดูหรือฟัง นักพูดที่ประสบความสำเร็จต่างๆในอดีตและปัจจุบัน ว่าเขาพูดกันอย่างไร มีเทคนิคอะไรในการพูด เขามีท่าทาง น้ำเสียงอย่างไร เพื่อที่จะนำมาปรับปรุง แก้ไข การพูดของตนเองในกาลต่อไป
8.ต้อง มีการเตรียมตัวมาอย่างดี กล่าวคือ ต้องมีการเตรียมเนื้อเรื่อง เตรียมเนื้อหา เตรียมการพูด เตรียมโครงสร้างในการพูดว่าจะขึ้นต้นอย่างไร ตรงกลางอย่างไร สรุปจบอย่างไร มีตัวอย่างอะไรบ้างประกอบการพูด จะใช้คำคม น้ำเสียงอย่างไร จะใช้สื่อ จะใช้เครื่องมืออะไร ประกอบการพูด รวมไปถึงการซ้อมพูด การจินตนาการว่าเราจะเดินขึ้นไปพูดบนเวทีอย่างไร เราจะทำท่าทางอย่างไรประกอบการพูด เมื่ออยู่บนเวทีพูด

...
  
การสื่อสารสำหรรับข้าราชการ
การสื่อสารสำหรับข้าราชการ
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ข้าราชการถือว่าเป็นบุคลากรขององค์กรของรัฐที่มีจำนวนมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเอกชน ธนาคาร ซึ่งในแต่ละปี รัฐจะรับข้าราชการใหม่เข้ามาทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ซึ่งเกิดจากการ ตาย การลาออก การถูกไล่ออก การเกษียณอายุราชการและ การโอนย้ายตำแหน่งต่างๆของข้าราชการเก่า
ข้าราชการ จึงเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญ เป็นพลังให้หน่วยงานราชการทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ แต่ในการทำงานทุกอย่าง ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ย่อมมีปัญหา ไม่เว้นแต่ในองค์กรของรัฐเองก็เกิดปัญหาในการทำงาน ซึ่งปัญหามีอยู่หลากหลายที่ข้าราชการจะต้องเจอ แต่มีปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นกับข้าราชกา ทุกหน่วยงาน ที่ต้องพบเจอปัญหานี้ คือ ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารกับประชาชาที่มาติดต่อกับหน่วยงานซึ่งข้าราชการจำเป็นจะต้องเรียนรู้และปรับปรุงแก้ไข
อันดับแรกการที่เราจะเข้าใจปัญหาด้านการสื่อสารเราต้องเข้าใจคำว่า “องค์ประกอบของการสื่อสาร” เสียก่อน ซึ่งองค์ประกอบของการสื่อสารได้แก่ 1.1.ผู้ส่งสาร 1.2.สาร 1.3.สื่อหรือช่องทาง 1.4.ผู้รับสาร 1.5.ข้อมูลป้อนกลับ
กระผมขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้ 1.1.ผู้ส่งสาร(อาจเป็นข้าราชการ ,ผู้บริหาร,เพื่อนร่วมงาน) 1.2.สาร(คือ นโยบาย คำสั่ง จดหมาย สิ่งที่ต้องการชี้แจ้ง) 1.3.สื่อหรือช่องทาง(อาจจะส่งผ่านจดหมาย อีเล็คโทนิค E-mail , พูดผ่านไมโครโฟน , ผ่านจดหมายเปิดผนึก , ผ่านจดหมายข่าวขององค์กร,ผ่านการประชุม) 1.4.ผู้รับสาร(อาจเป็นผู้บริหาร,เพื่อนร่วมงาน,ข้าราชการ) 1.5.ข้อมูลป้อนกลับ(คือกริยา การตอบสนองซึ่งแสดงถึงความเข้าใจ ความไม่เข้าใจ ความเข้าใจที่ผิดพลาด คาดเคลื่อน)
ตัวอย่าง เช่น จากเรื่องเล่าในเนื้อเพลง ผู้ใหญ่ลี
“ พศ 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุมชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมาทางการเขาสั่งมาว่า ทางการเขาสั่งมาว่าให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดเลี้ยงสุกรฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่าสุกรนั้นคืออะไร ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา”
จากเนื้อเพลงข้างต้น จะสะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารระหว่างข้าราชการหรือทางการกับชาวบ้าน ที่มีความผิดพลาด มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน เราสามารถนำมาวิเคราะห์โดยผ่าน กระบวนการสื่อสาร ว่า เกิดความผิดพลาดตรงไหน อย่างไร กระบวนการสื่อสาร มีดังนี้
1 ผู้ส่งสาร 2 สาร 3 สื่อหรือช่องทาง 4 ผู้รับสาร
1 ผู้ส่งสาร คือ ข้าราชการ ผู้รับนโยบาย จากรัฐบาล มาส่งต่อให้กับผู้นำชุมชน
2 สาร คือ การส่งเสริมให้ชาวนาและเกษตรกร เลี้ยงเป็ดและ สุกร(หมู)
3 สื่อหรือช่องทาง คือ การประชุม การใช้ไมโครโฟนพูดในที่ประชุม
4 ผู้รับสาร คือ ผู้ใหญ่ลี
5.ข้อมูลป้อนกลับ(คือกริยา การตอบสนองซึ่งแสดงถึงความไม่เข้าใจ ความเข้าใจที่ผิดพลาด คาดเคลื่อน คือผู้ใหญ่ลีเข้าใจผิด คิดว่า คำว่าสุกร หมายถึง หมาน้อย)
จากกรณีศึกษาข้างนี้ เราจะแก้ไขอย่างไร...ให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดหรือไม่เกิดความผิดพลาดขึ้น...
ข้อที่ 1 ผู้ส่งสาร ควรเปิดโอกาสให้มีการซักถาม ปัญหา หรือความไม่เข้าใจต่างๆ จากผู้รับสาร
ข้อที่ 2 สาร ผู้ส่งสารได้ใช้ภาษาราชการ ซึ่งมาจากส่วนกลาง เพราะในยุคนั้นชาวบ้านหรือผู้นำท้องถิ่นมักจะ คุ้นเคยกับภาษาท้องถิ่น(หมู)มากกว่าภาษาจากส่วนกลาง(สุกร) เพื่อลดความผิดพลาด ควรใช้ภาษาท้องถิ่น หรือภาษาที่ชาวบ้านใช้ในท้องถิ่นนั้นๆ สื่อสารจะเกิด ประสิทธิภาพ มากขึ้น
ข้อ 3 ผู้รับสาร คือผู้ใหญ่ลี เมื่อเกิดความไม่เข้าใจ หรือข้อสงสัย ก็ควรสอบถาม ข้าราชการ หรือทางการ ที่ส่งสาร หรือข้อมูล
สำหรับวิธีการการสื่อสารที่สำคัญๆและใช้เป็นประจำในหน่วยงานราชการคือ
1.การสื่อสารด้วยวาจา(ภาษาพูด) เป็นการสื่อสารและการนำเสนอที่มีความสำคัญ มีความง่าย ซึ่งข้าราชาการเมื่อเข้าไปทำงานก็จะใช้คำพูดและการพูดมากกว่า 70 % ในแต่ละวัน ซึ่งการพูดในที่ทำงานจะต้องมีทักษะในการฟัง ในการสนทนา กล่าวคือจะทำอย่างไรให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ เกิดความรับรู้ที่ตรงกับความคิดของผู้พูดที่ต้องการ ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดเพราะถ้าเกิดความผิดพลาดก็จะเกิดความเสียหายขึ้น
2.การสื่อสารด้วยลายลักษณ์อักษร(ภาษาเขียน) เป็นการสื่อสารที่ใช้น้อยกว่าการพูด เป็นอันมาก เพราะส่วนใหญ่แล้ว การสื่อสารด้วยลายลักษณ์อักษร(ภาษาเขียน)มักจะต้องมีการเขียนในรูปแบบทางการ
อีกทั้งการสื่อสารด้วยลายลักษณ์อักษรมีข้อดีหลายๆอย่าง เช่น เป็นหลักฐานในการอ้างอิงต่างๆได้หรือ เป็นคำสั่งที่มีหลักฐานผูกมัดได้ ซึ่งไม่เหมือนกับการสื่อสารด้วยวาจา เมื่อเวลาผ่านไปก็มักจะลืมได้ แต่ถ้ามีลายเซ็นต์หรือลายลักษณ์อักษร ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานได้
3. การสื่อสารด้วยกริยาท่าทาง (ภาษากาย) เป็นการสื่อสารด้วยท่าของเรา ซึ่งการแสดงออกท่าทางจะเป็นการสื่อความหมายให้แก่บุคคลอื่นๆได้รับรู้ การสื่อสารทางท่าทางจะบอกอะไรบ้างอย่างกับผู้ที่เราต้องการสื่อสารด้วย
ฉะนั้น บุคคลที่ต้องการความก้าวหน้าในอาชีพข้าราชการ ควรที่จะได้มีการฝึกฝน พัฒนาการสื่อสาร ไม่ว่าจะใช้วิธีการพูด วิธีการเขียน และวิธีการใช้ภาษากาย ด้วย จึงจะทำให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพและหน้าที่การงาน
...
  
เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

การที่จะพูดภาษาอังกฤษให้เก่ง เราต้องเริ่มต้นที่ การฟัง ฟัง ฟัง เราลองนึกภาพ เด็กทารกอเมริกัน เราจะฝึกให้เด็กทารก พูดภาษาอังกฤษได้ เราต้องทำอย่างไร เราจะซื้อหนังสือภาษาอังกฤษให้อ่านหรือ เปล่าเลย สิ่งแรกที่พ่อแม่ชาวอเมริกาต้องทำก็คือ พูดให้เด็กทารกฟัง บ่อยๆ มากๆ เช่นฝึกให้เรียกพ่อ แม่ ซึ่ง พ่อ แม่ ต้องพูดให้เด็กทารกฟัง เป็นจำนวนหลายร้อยครั้ง กว่าเด็กจะจำได้ แล้วเริ่มพูดคำว่า “ พ่อ ” “ แม่ ” หรือคำอื่นๆ กิน , นอน , นั่ง ฯลฯ ต่อจากนั้นเด็กทารกอเมริกา จึงสามารถพูดเป็นประโยคได้ เด็กสามารถพูดเป็นประโยคได้ เมื่อฟังภาษาอังกฤษมากพอ บางคนกว่าจะพูดได้ต้องฟังภาษาอังกฤษเป็นเวลานานถึง 1-2 ปี แล้วจึงเริ่มพูดได้ (ทั้งนี้แล้วแต่พัฒนาการของเด็กทารกแต่ละคนมีไม่เท่ากัน)

แล้ว เราจะฟัง อย่างไร ถึงจะทำให้พูดได้ เราจะเริ่มจากการฟังข่าวภาษาอังกฤษดีไหม เราจะเริ่มจากการดูหนังฝรั่งดีไหม(soundtrack)เราจะเริ่มจากการฟังเพลงดีไหม คำตอบคือได้ครับ แต่เราจะใช้เวลานานมาก กว่าเราจะฟังรู้เรื่อง(เพราะศัพท์บางคำยากที่จะเข้าใจ) อีกทั้งบางคนอาจเบื่อไปเสียก่อน เนื่องจากฟังไม่รู้เรื่อง

เทคนิคในการฟังภาษาอังกฤษที่ดีคือ เราต้องเริ่มจากการฟังที่ง่ายๆก่อน แล้วไปยากขึ้น ยากขึ้น เช่น เราต้องฟังนิทานสำหรับเด็กทารกหรือนิทานสำหรับเด็กเล็ก เมื่อเราฟังนิทานเหล่านี้ เราจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ นิทานบางเรื่องเราจะเข้าใจถึง 80-90 % เมื่อเราฟังนิทานสำหรับเด็กเล็กไปมากๆแล้ว จะทำให้ทักษะการฟังของเราดีขึ้น เราจึงค่อยเริ่มฟัง เรื่องราวนิทานสำหรับเด็กวัยรุ่น ซึ่งวัยรุ่นในที่นี้ตั้งแต่อายุ 12-19 ปี ซึ่งเรื่องราวนิทานสำหรับวัยรุ่นนี้ จะเริ่มมีศัพท์ภาษาอังกฤษที่ยากขึ้น และเมื่อเราฟังรู้เรื่องมากขึ้น เขาจะเข้าใจถึง 80-90 % แล้วเราค่อยไปดูหนังฝรั่ง ฟังข่าว(BBC VOA) เป็นต้น

ทำไมผมถึงไม่แนะนำให้ดูหนังฝรั่ง(soundtrack) หรือฟังข่าวภาษาอังกฤษ สำหรับคนที่ฝึกใหม่ๆ หรือไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษ เพราะในหนังฝรั่งหรือข่าวภาษาอังกฤษ จะใช้คำศัพท์ที่ยาก เมื่อเราฟังไม่รู้เรื่องเราจะเริ่มเบื่อหน่าย อีกทั้งเทคนิคการฟังภาษาอังกฤษที่ดี เราไม่ควรเปิดคำบรรยาย (Subtitle) ไม่ว่าทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

เพราะถ้าเราเปิดคำบรรยาย (Subtitle) ความสนใจของเราจะไม่มุ่งไปที่การฟัง แต่เราจะมุ่งสนใจไปกับการอ่าน แต่ถ้าใครอยากจะฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ก็สามารถเปิดคำบรรยาย (Subtitle) ภาษาอังกฤษไปด้วยก็ได้ ก็จะทำให้เพิ่มทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น แต่ไม่ควรเปิดคำบรรยาย (Subtitle) เป็นภาษาไทย เพราะจะทำให้การฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ได้ผลน้อยลง

ทำไมผมถึงให้ฝึกฟังในสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับการยกน้ำหนัก ถ้าเราฝึกยกน้ำหนักใหม่ๆ เราไม่ควรเริ่มยกน้ำหนักที่มากๆ เพราะเราไม่สามารถยกได้ ภาษาอังกฤษก็เช่นกัน เราไม่ควรฝึกฟังในสิ่งที่ยากๆ เช่น เรื่องราว ข่าว หนัง ที่มีคำศัพท์ที่ยากๆ เมื่อเราฟังแล้วไม่รู้เรื่อง ก็จะทำให้เราท้อแท้ เบื่อหน่ายในการฝึกภาษาอังกฤษ

ฉะนั้น เมื่อเราฝึกยกน้ำหนักใหม่ๆ เราควรเริ่มจากน้ำหนักที่น้อยๆ แล้วจึงเพิ่มน้ำหนักมากขึ้น มากขึ้น สรุปก็คือ เราควรฝึกฟังเรื่องราว ข้อมูลภาษาอังกฤษจากสิ่งที่ง่ายๆ ไปก่อน แล้วจึง ฝึกฟังภาษาอังกฤษในเรื่องราวที่ยากขึ้น เป็นลำดับไป

ที่นี่ เราลองสังเกตดูว่า ทำไมคนไทยเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย แล้วทำไมถึงพูดภาษาอังกฤษกันไม่ได้ เพราะในชั้นเรียนเราเรียนเรื่องของการอ่าน การเขียน เรียนหลักภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับไวยากรณ์ แต่ไม่เน้นการฟังภาษาอังกฤษ ครูที่สอนส่วนใหญ่ก็เป็นคุณครูคนไทย พอสอนวิชาภาษาอังกฤษก็มักจะพูดภาษาไทยในการสอนภาษาอังกฤษ ก็เลยทำให้เด็กๆ ขาดทักษะการฟังที่มากพอนั่นเอง ...
  
ภาษากายกับความสำเร็จ
การแสดงออกทางภาษากายมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก
โดย..ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การยิ้ม การหัวเราะ การทำหน้าเครียด การกอดอก การเอามือกุมศีรษะ การเดินเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ การเดินอย่างกระตือรือร้น การนั่งไขว้ห้าง การแสดงออกทางภาษากายเหล่านี้ มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราทั้งสิ้น
นางเอมี่ คัดตี้ (Amy Cuddy) เป็นนักจิตวิทยาสังคม เป็นนักวิจัยที่ Tufts University ได้ทำการทดลองกับคนและสัตว์ ในเรื่องของการใช้ภาษากาย จนสรุปได้ว่า การแสดงออกทางภาษากายของเรามีส่วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน 2 ตัว คือ เทสโทสเตอโรนและคอร์ติซอลในสมอง
นางเอมี่ คัดตี้ (Amy Cuddy) ได้วิจัยและสังเกต ลิงชิมแปนซี โดยเฝ้าสังเกต ท่าทางของลิงขิมแปนซีในรูปแบบต่างๆ เช่น เมื่อลิงขิมแปนซี ไม่มีความสุข ก็แสดงออกทางท่าทางโดย การกอดอก การเอามือกุมศีรษะ ทำหน้าเครียด ไม่ยิ้ม แต่ถ้าลิงขิมแปนซีมีความสุข ก็จะทำท่าทาง โดยเอามือและแขนทั้งสองข้างชูขึ้นบนทางฟ้า ยิ้ม หัวเราะ
ดังนั้น นางเอมี่ คัดตี้ (Amy Cuddy) จึงสรุปและเขียนเป็นหนังสือเกี่ยวกับภาษากายว่า ถ้าเราต้องการมีความสุข ต้องการประสบความสำเร็จ ต้องการมีอารมณ์ที่ดี เราต้องแสดงออกทางภาษากายหรือภาษาท่าทาง ที่ดี เช่น การเอามือและแขนทั้งสองข้างชูขึ้นบนอากาศ การนั่งแล้วเอามือประสานกันทั้งสองข้างประสานไว้บนท้ายทอย(ด้านหลังของคอ) การยืนแล้วเอามือทั้งสองข้างเท้าใส่เอว ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่สบายใจ ไม่มีความสุข ถ้าเราเกิดความเครียด เรามักจะแสดงออกอย่างไม่รู้ตัว โดย การกอดอก ไม่ยิ้ม ทำหน้าเครียด
อีกทั้งมีงานวิจัยอีกหลายชิ้น ที่ได้ระบุว่า การแสดงออกท่าภาษากายหรือท่าทางมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก รวมไปถึงผลงานในการทำงานอีกด้วย เช่น โรงงานที่ประเทศญี่ปุ่น จะให้พนักงานในโรงงานเดินเร็วกว่าปกติสักเล็กน้อย โดยหากใครเดินช้า ก็จะมีสัญญาณเลเซอร์ดัง ดังนั้น พนักงานในโรงงานจะต้องเดินเร็วขึ้น ผลปรากฏว่า โรงงานแห่งนั้นมีผลงานมากขึ้นกว่าเดิม
ดังนั้น การเดินเร็ว การเดินอย่างกระตือรือร้น จะทำให้เราเกิดอารมณ์สดชื่นขึ้น ตรงกันข้าม คนที่อกหัก มักจะเดินช้าๆ ทำหน้าเครียด
ดร.อัล เบิร์ต แมห์ราเบียน ศาสตราจารย์ ด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส ได้กล่าวว่า สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารมี องค์ประกอบ คือ คำพูด 7% น้ำเสียง 38% และภาษากาย 55% แต่บุคคลส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับคำพูด แต่จริงๆ แล้วพวกเราควรเรียนรู้และฝึกฝนด้านการใช้ภาษากายให้มากขึ้น เพราะภาษากาย มีอิทธิพลที่ส่งผลให้มีประสิทธิภาพองการสื่อสารที่มากที่สุด


...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.