หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  การเตรียมการพูด
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  พูดดีเป็นศรีแก่งาน
  -  องค์ประกอบของการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  การพูดแบบผู้นำ
  -  การพูดจูงใจคน
  -  การวิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  เทคนิคการเป็นพิธีกร
  -  การพูดในชีวิตประจำวัน
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างวาทะสำหรับนักพูด
  -  มาเป็นวิทยากรกันเถอะ
  -  ความเชื่อมั่นในการพูด
  -  การพูดเพื่อนำเสนอ
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  การพูดให้น่าเชื่อถือ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  การสร้างอารมณ์ขันในการพูด
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  การสร้างพลังสามัคคี
  -  ความเชื่อมั่นในตนเองเวลาพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  กิริยาท่าทางในการพูด
  -  ศิลปะการพูดในที่ประชุม
  -  การฝึกซ้อมการพูด
  -  วัตถุดิบสำหรับการพูด
  -  การพูดอย่างมีตรรกะ
  -  การพูดเชิงบวก
  -  วิธีการพูดชนะใจคน
  -  การเตรียมความพร้อมในการพูด
  -  พูดเหมือนผู้นำ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
  -  เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
  -  การอ้างวาทะคนดังในการพูด
  -  ก้าวสู่นักพูดมืออาชีพ
  -  จังหวะในการพูด
  -  การเลือกวิทยากร
  -  พูดอย่างไรให้ขายได้
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  วิธีฝึกพูดของ เดล คาร์เนกี
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  คุณธรรมนักพูด
  -  เทคนิคการพูดของ บารัค โอบามา
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  มโนภาพกับการพูด
  -  การเขียนสคิปในการพูด
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  สอนอย่างไรให้ง่ายและสนุก
  -  เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การสื่อสารสำหรรับข้าราชการ
  -  เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
วิธีฝึกพูดของ เดล คาร์เนกี
วิธีฝึกการพูดของ เดล คาร์เนกี
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
เดล คาร์เนกี เกิดที่ฟาร์มแห่งหนึ่งในรัฐมิสซูรี เขามีฐานะไม่สู้ดีนัก เมื่ออยู่ในวัยเด็กและวัยเรียน เขาต้องอับอายกับการใส่เสื้อผ้าเก่าๆ ที่คับตึงและกางเกงขาสั้นเต่อ ซึ่งเขาไม่มีเงินพอที่จะซื้อชุดใหม่ เขามีความรู้สึกเป็นปมด้อยอยู่ตลอดเวลา
หลังจากนั้นเขาได้ศึกษาวิชาการพูดหรือวิชาแสดงปาฐกถาและโต้วาที เนื่องจากเขาเห็นว่า นักศึกษาที่เก่งวิชานี้มีชื่อเสียงมีหน้ามีตาไม่แพ้กับนักกีฬา หลังจากนั้นเขาก็สมัครเข้าแข่งขันการพูดปาฐกถา ซึ่งเขาได้ทุ่มเทกับการเตรียมตัวและการฝึกซ้อมเป็นอันมาก เขาซ้อมในขณะนั่งอยู่บนหลังม้า ขณะรีดนมวัว ขณะถอนหญ้า แต่ผลปรากฏว่า เขาต้องแพ้แล้วแพ้อีก เขาท้อจนขนาดถึงคิดจะฆ่าตัวตาย แต่ต่อมาผลการแข่งขัน เขาเริ่มประสบชัยชนะในการแข่งขันและชื่อเสียงของเขาก็ดีขึ้น
เมื่อเขาจบการศึกษาแล้วทำงาน เขาทำงานหลายๆอย่าง เช่น เขาแสดงละครเร่ เขาเป็นพนักงานขายรถบรรทุก และสุดท้ายเขาฝันว่าจะมีเวลาเขียนหนังสือและศึกษาค้นคว้า เขาจึงไปสมัครเป็นอาจารย์สอนวิชาการพูดต่อหน้าที่ชุมชนกับมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ปรากฏว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยปฏิเสธเขา แต่เขาก็พยายามต่อไปจนในที่สุด โรงเรียนกลางคืน ไว.เอ็ม.ซี.เอ รัฐนครนิวยอร์ก ตกลงทำสัญญาให้เขาสอน เมื่อเขาสอนไปได้ไม่นานชื่อเสียงของเขาก็เริ่มดังขึ้น จนในที่สุด เขาได้เปิดสาขาการศึกษาวิชาการพูดในที่ชุมชนขึ้นถึง 750 แห่งในสหรัฐและอีก 14 ประเทศ ในขณะนั้น สำหรับในปัจจุบันก็มีการขยายสาขาเพิ่มมากขึ้นเกือบทุกประเทศทั่วโลก
เดล คาร์เนกี จึงถือได้ว่า เป็นปรมาจารย์ในวิชาการพูดในที่ชุมชนที่คนรู้จักเกือบทั่วโลก สำหรับวิธีการฝึกการพูดของเขา เขาได้เขียนเอาไว้ในหนังสือ การพูดในที่ชุมชน โดยสรุปย่อๆได้ดังนี้
1.ตั้งต้นศึกษาด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้าและไม่ลดละ จงตั้งเป้าหมาย จงคิดถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการพูดในที่ชุมชน เช่น เมื่อท่านประสบความสำเร็จในด้านการพูดแล้ว ท่านจะได้รับเงินทอง ชื่อเสียง ตำแหน่งมากมาย
ศาสตราจารย์ วิลเลี่ยม เยมส์ ได้กล่าวว่า “ ถ้าท่านอยากเป็นนักพูดในที่ชุมชน ท่านต้องมีความปรารถนาอย่างแท้จริง แล้วท่านก็จะได้เป็นนักพูดในที่ชุมชนในที่สุด ”
2.การเตรียมตัว เขาจะให้ความสำคัญกับการเตรียมตัว เขาแนะนำว่า เราจะไม่รู้สึกมั่นใจเว้นแต่เราจะรู้ว่าเรากำลังจะพูดถึงเรื่องอะไร เขาจะสอนลูกศิษย์ของเขาโดยให้ความสำคัญกับการเตรียมตัว กล่าวคือ เมื่อทราบว่าจะพูดเรื่องอะไร เขาแนะนำให้ไปหาหนังสือเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่จะพูดมาอ่าน แล้วรวบรวมวัตถุดิบให้มาก หรือหาความรู้ให้มากกว่าที่เราจะนำเอาไปใช้หลายๆเท่า การเตรียมตัวนั้น เขาให้ความสำคัญทั้งการเตรียมร่างกายด้วย เช่น เขาแนะนำว่า ไม่ควรพูดปาฐกถาในขณะที่ท่านกำลังเหน็ดเหนื่อย จงพักผ่อนหลับนอนก่อน อีกทั้งอย่าได้กินอาหารหนักๆก่อนไปแสดงปาฐกถาแต่ควรหาอาหารว่างที่เบาๆทาน
3.ทำกิริยาท่าทางแสดงความมั่นใจ เขาแนะนำให้ออกไปพูดในที่ชุมชนด้วยความกล้าหาญ จงยิ้มเข้าไว้ เพราะเมื่อเราแสดงความกล้าหาญ เราก็จะเกิดความมั่นใจขึ้น อีกทั้ง เดล คาร์เนกี ยังได้แนะนำเรื่องของการใช้เสียงว่า เราควรพูดเสียงหนักที่คำที่มีความสำคัญและพูดเสียงลดลงในคำที่ไม่มีความสำคัญ ในการพูดควรใช้เสียงที่มีระดับเสียงสูงและเสียงลงบ้าง ในการพูดควรมีการหยุดพูดหรือหยุดเป็นจังหวะบ้าง กล่าวคือไม่ควรใช้เสียงที่ราบเรียบจนเกินไป
4.ฝึกหัด ฝึกหัด ฝึกหัด ข้อนี้ เดล คาร์เนกี ให้ความสำคัญมากที่สุด การขาดความมั่นใจเกิดจากการขาดความชำนาญ แต่ถ้าเราอยากจะชำนาญในเรื่องใด เราก็ต้องทำการฝึกหัด ฝึกหัด ฝึกหัด แล้วเราก็จะเกิดความชำนาญ เมื่อเกิดความชำนาญความมั่นใจก็จะเกิดขึ้นกับเรา
เนี่ยคือวิธีการฝึกการพูดของเดล คาร์เนกี และท่านก็ได้สอนการพูดในที่ชุมชนให้แก่คนเป็นจำนวนมาก ถ้าหากท่านผู้อ่านต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมท่านสามารถหาอ่านได้จากหนังสือ การพูดในที่ชุมชน เขียนโดย เดล คาร์เนกี สำหรับฉบับภาษาไทยแปลโดย อาษา ขอจิตต์เมตต์
...
  
ศิลปะการโต้วาที
ศิลปะการโต้วาที
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคปัจจุบัน เราคงจะเห็นว่า เขาจะจัดให้มีการโต้วาที ถามว่า ทำไมต้องเอาคนที่จะเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนต่อไป มีความจำเป็นด้วยหรือที่จะต้องมาโต้วาทีให้ประชาชนและคนทั่วโลกเห็น
ซึ่งคงจะมีเหตุผลหลายประการ ที่ประเทศสหรัฐอมเริกาจะจัดให้มีการโต้วาที สำหรับผู้ที่ต้องการจะเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เพราะการโต้วาที ทำให้เห็นอะไรหลายๆอย่างในตัวของผู้โต้วาที เช่น ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ ภูมิความรู้ บุคลิกภาพ ความเชื่อมั่นในตนเอง การมีวาทศิลป์ การมีไหวพริบปฏิภาณ การมีอารมณ์ขัน ตลอดจนกระทั่งถึงการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ในการที่ถูกคู่แข่งขัน ตอบโต้ ด้วยสถานการณ์ต่างๆ
ดังนั้น ประเทศอเมริกาจึงให้ความสำคัญกับการโต้วาที ในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งที่สำคัญๆของประเทศของเขา คราวนี้เราลองมาทำความรู้จักกับการโต้วาทีคืออะไร
การโต้วาที ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ได้ให้ความนิยามว่า “ การแสดงคารมโดยมีฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง”
ซึ่งจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการโต้วาทีคือ
1.เพื่อฝึกให้ผู้โต้วาที ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาเสนอในการโต้วาที
2.เพื่อฝึกให้ผู้โต้วาที ได้ใช้ไหวพริบปฏิภาณ เชาว์ปัญญาในการแก้ไขปัญหาหรือตอบโต้ในการโต้วาที
3.เพื่อฝึกใช้เหตุผล สำหรับการหักล้าง โดยมีการนำข้อมูลหลักฐานต่างๆมาอ้างอิง ฉะนั้นจึงทำให้นักโต้วาทีไม่เป็นคนที่ไม่เชื่อคนง่าย
4.เพื่อฝึกใช้วาทศิลป์ การเลือกใช้ถ้อยคำ เพื่อนำมาโน้มน้าวใจ รวมไปถึงการใช้ท่าทางประกอบการพูด
5.เพื่อฝึกการทำงานให้เป็นทีม มีการวางแผนและทำงานร่วมกัน
6.เพื่อฝึกความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ซึ่งเป็นธรรมดาของการแข่งขันย่อมมีผู้แพ้ผู้ชนะ
คณะผู้โต้วาที
คณะผู้โต้วาที ประกอบไปด้วย
1.ประธานในการโต้วาที 1 คน จะทำหน้าที่กล่าวทักทาย กล่าวเปิด แจ้งให้ผู้ฟังทราบถึงความสำคัญของญัตติที่ใช้ในการโต้วาที กล่าวเชิญผู้โต้วาทีขึ้นมาบนเวทีทีละคน เป็นผู้แนะนำกรรมการและผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่าย เป็นผู้สร้างบรรยากาศ และมีหน้าที่สรุปรายงาน การประกาศผลและกล่าวปิดงาน
2.สมาชิกผู้โต้วาที ประกอบไปด้วยทีมทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเสนอและฝ่ายค้าน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะมีหัวหน้าฝ่าย 1 คนและผู้สนับสนุนฝ่ายแต่ละฝ่ายอีก 3 คน (แต่ในยุคปัจจุบัน บางแห่งอาจใช้แค่ 2 คน ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับความเหมาะสม) สำหรับเรื่องของเวลาในการโต้วาทีแต่ละครั้งมักให้เวลาคนละ 5-7 นาที หรือ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้จัดกำหนดขึ้นเอง
ด้านหน้าที่ของหัวหน้าฝ่ายเสนอ มีหน้าที่ดังนี้ ขึ้นต้นควรกล่าวทักทาย แล้วจึงเริ่มเสนอญัตติ มีการแปรญัตติหรือความหมายหรือคำนิยามของญัตติ หาเหตุผลข้อมูลมาเสนอเพื่อสนับสนุนญัตติของตนเอง มีการสรุปประเด็นสำคัญๆ สำหรับรอบที่สอง เป็นรอบสรุป หัวหน้าฝ่ายเสนอต้องเก็บกวาดหรือโต้แย้ง คู่แข่งทุกประเด็นที่ตกค้าง กล่าวคือผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอยังไม่ได้มีการพูดหักล้าง แล้วจึงกล่าวสรุปปิดท้าย โดยประเพณีหัวหน้าฝ่ายเสนอจะเป็นผู้สรุปคนหลังสุด
ด้านหน้าที่ของหัวหน้าฝ่ายค้าน มีหน้าที่ดังนี้ กล่าวทักทาย มีการแปลญัตติที่ทำให้ฝ่ายตนเองได้เปรียบ ต้องพยายามหาเหตุผลมาคัดค้าน การนำเสนอของหัวหน้าฝ่ายเสนอ มีการโต้แย้งเป็นประเด็นโดยมีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิง มีการเสนอแนะเหตุผลมาสนับสนุนฝ่ายตัวเอง สำหรับรอบที่สอง เป็นรอบสรุป หัวหน้าฝ่ายค้าน ต้องเก็บกวาดหรือโต้แย้ง คู่แข่งทุกประเด็นที่ตกค้าง กล่าวคือผู้สนับสนุนฝ่ายค้านยังไม่ได้มีการพูดหักล้าง แล้วจึงกล่าวสรุปปิดท้าย โดยประเพณีหัวหน้าฝ่ายค้านจะเป็นผู้สรุปก่อนหัวหน้าฝ่ายเสนอ
บทบาทหน้าที่ของฝ่ายสนับสนุนฝ่ายเสนอ กล่าวทักทายผู้ฟัง อธิบายให้การสนับสนุนฝ่ายเสนอ หาเหตุผล ข้ออ้างอิง หลักฐานต่างๆ สถิติ ข้อเท็จจริง เอกสาร ภาพถ่าย มาใช้ประกอบเพิ่มเติม มีหน้าที่โต้แย้ง หาประเด็นต่างๆมาคัดค้านฝ่ายค้าน สรุปประเด็นเน้นย้ำให้กับฝ่ายของตนเองได้เปรียบ แล้วจึงกล่าวลาผู้ฟัง
บทบาทหน้าที่ของฝ่ายสนับสนุนฝ่ายค้าน กล่าวทักทายผู้ฟัง อธิบายให้การสนับสนุนฝ่ายค้าน หาเหตุผล ข้ออ้างอิง หลักฐานต่างๆ สถิติ ข้อเท็จจริง เอกสาร ภาพถ่าย มาใช้ประกอบเพิ่มเติม มีหน้าที่พูดโต้แย้ง หาประเด็นต่างๆมาคัดค้ายฝ่ายเสนอ สรุปประเด็นเน้นย้ำให้กับฝ่ายของตนเองให้เกิดความได้เปรียบ แล้วจึงกล่าวลาผู้ฟัง
ขั้นตอนในการเตรียมตัว เตรียมความพร้อม ของผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่าย
1.ต้องเตรียมตัว เตรียมข้อมูล หาเอกสารต่างๆ รวมทั้งทำการศึกษา วิเคราะห์ญัตติในการโต้วาทีอย่างถ่องแท้ รวมทั้งจัดเตรียมเอกสาร หลักฐาน สื่อต่างๆเพื่อนำไปใช้ประกอบในการพูด
2.เตรียมต้นฉบับหรือสคิปในการพูด ว่าจะขึ้นต้นอย่างไร ตรงกลางจะพูดอะไร และสรุปจบจะพูดอะไร อีกทั้งควรเตรียม คำคม คำกลอน อารมณ์ขันในการสอดแทรกการพูด รวมไปถึง สุภาษิต คำพังเพยต่างๆ
3.เตรียมพร้อม เตรียมซ้อม ภาษากายที่ใช้ประกอบการพูด รวมไปถึง การแต่งกาย การใช้ท่าทางในการประกอบการพูด ทั้งนี้ควรมีการซ้อมพูดและฝึกการใช้ภาษากายหรือท่าทางประกอบการพูด
4.เตรียมข้อมูลของฝ่ายตรงกันข้าม นักโต้วาทีที่ดีต้อง รู้เขารู้เรา รู้เขาคือ ต้องรู้ว่าฝ่ายตรงกันข้ามจะพูดอะไร เตรียมข้อมูลอะไร แล้วคิดล่วงหน้าในการโต้ตอบฝ่ายตรงกันข้าม
5.การโต้วาทีที่ดี ไม่ควรเอ๋ยชื่อและควรเรียกชื่อ แต่ควรเอ่ยเป็น หัวหน้าฝ่ายเสนอ หัวหน้าฝ่ายค้าน ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 1 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 2 และผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 2 เป็นต้น
6.หัวหน้าทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่ที่จะต้องสรุปประเด็นและสรุปญัตติ เพื่อเป็นการทิ้งท้ายให้ผู้ฟังประทับใจ ตอนสรุปถือว่าสำคัญมากๆ
7.สุดท้ายทีมผู้โต้วาที ควรซักซ้อม เตรียมตัว ปรึกษาหารือกันก่อน มีการตกลงกันว่าใครพูดก่อนหลัง ว่าใครมีข้อมูลอย่างไร เพื่อที่จะไม่ได้เกิดการพูดที่ซ้ำๆกันในเวลาที่ขึ้นเวทีจริง
สำหรับการจัดทีมการโต้วาทีที่ดี
1.หัวหน้าทีม(ต้องเก่งที่สุด)
2.ผู้สนับสนุนคนที่ 1 (ต้องเก่งลำดับ 4 )
3.ผู้สนับสนุนคนที่ 2 (ต้องเก่งลำดับ 3)
4.ผู้สนับสนุนคนที่ 3 (ต้องเก่งลำดับ 2)
คณะกรรมการจับเวลา มีหน้าที่จับเวลา มีการบันทึกเวลา มีการเตือนการใช้เวลาของสมาชิกที่โตวาที เมื่อใกล้หมดเวลาหรือหมดเวลา อาจใช้ภาษามือ กริ่ง เพื่อเตือนสมาชิกที่โต้วาทีให้รู้ว่าใช้เวลาไปเท่าไร เหลือเวลาเท่าไร
คณะกรรมการตัดสิน มีหน้าที่ให้คะแนนผู้โต้วาทีทั้ง 2 ฝ่าย คณะกรรมการควรเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในการโต้วาทีมาบ้าง มีหลักวิชา มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการพูดต่อหน้าที่ชุมชน มาร่วมกันตัดสิน ปกติกรรมการมักจะเป็นเลขคี่ คือ 3 คน และ 5 คน สำหรับการโต้วาทีในบางเวที หากไม่ได้มีการแข่งขันกันแบบเอาจริงเอาจัง บางแห่งอาจจะไม่มีกรรมการการตัดสินก็ได้ แต่อาจใช้เสียงปรบมือจากผู้ฟังเป็นตัววัดการแพ้ชนะ ทั้งนี้คณะผู้จัดการโต้วาทีอาจจะประกาศผลเสมอกันหรือไม่มีการตัดสินเลยก็ได้
ผู้เข้าฟังการโต้วาที เป็นผู้ฟังหรือผู้ร่วมสังเกตการณ์ ซึ่งผู้ฟังควรมีมารยาทในการฟัง ควรฟังอย่างตั้งใจ ควรให้ความร่วมมือโดยการปรบมือให้กำลังใจแก่ผู้โต้วาที เพื่อสร้างบรรยากาศให้เกิดความสนุกสนานในการโต้วาที
ญัตติการโต้วาที ควรตั้งชื่อให้มีความน่าสนใจ มีความดึงดูด ญัตติการโต้วาทีควรเป็นญัตติแบบกลางๆ ที่ทุกฝ่ายยังหาข้อสรุปไม่ได้ อีกทั้งญัตติไม่เป็นญัตติที่ทำให้ฝ่ายได้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ เป็นญัตติที่ทั้งสองฝ่ายสามารถหาเหตุผลมาโต้กันจนสามารถเอาชนะกันได้
ญัตติการโต้วาทีที่น่าสนใจคือ ดูทีวีดีกว่าอ่านหนังสือพิมพ์,เกิดเป็นผู้ชายดีกว่าเกิดเป็นผู้หญิง,เป็นนักแสดงดีกว่าเป็นนักเขียน,เด็กแน่กว่าคนแก่ เป็นต้น
ส่วนญัตติที่ไม่ควรนำเอามาโต้วาที คือ ญัตติที่แน่นอนซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ น้ำต้องไหลจากบนลงล่าง,พระจันทร์เกิดขึ้นในเวลากลางคืน,แผ่นน้ำมีมากกว่าแผ่นดิน เป็นต้น หรือเป็นญัตติที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ เช่น ไทยร่ำรวยกว่าประเทศญี่ปุ่น , คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าคนอังกฤษ เป็นต้น
ข้อควรระวังในการตั้งญัตติไม่ควรตั้งญัตติที่มีความเกี่ยวพันถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
สำหรับการแปลญัตติหรือการตีญัตตินั้น เป็นหน้าที่ของหัวหน้าทั้งสองฝ่าย คือ หัวหน้าฝ่ายเสนอและหัวหน้าฝ่ายค้าน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องแปลญัตติหรือตีญัตติให้ฝ่ายของตนได้เปรียบ สำหรับผู้โต้วาทีบ่อยๆ หรือ มีประสบการณ์ในการโต้วาทีจะรู้ว่า การแปลญัตติหรือการตีญัตติมีความสำคัญถึงขนาดทำให้ได้รับชัยชนะเลยก็ได้
มารยาทในการอ้างอิง สำหรับการโต้วาทีของประเทศไทย คือ ผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่ายไม่ควรนำเอาพระราชดำรัสหรือพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ้างอิง เพราะจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำการโต้แย้งได้เลย
การให้คะแนน แต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน เช่น การให้คะแนนของสโมสรฝึกพูดลานนาไทย เชียงใหม่ 1.คะแนนเหตุผล 30 % 2. คะแนนวาทศิลป์ 20 % 3. คะแนนไหวพริบปฏิภาณ 20 %
4.คะแนนภาษาไทย 15 % 5.คะแนนมารยาท 10% 6.คะแนนภาษากาย 5 %
หรือการโต้วาทีบางแห่งอาจให้คะแนน เช่น 1.คะแนนเหตุผล 30 % 2. คะแนนหักล้าง 30 %
3. คะแนนวาทศิลป์ 20 % 4.คะแนนหลักฐานอ้างอิง 10 % 5.คะแนนมารยาท 10%
ทั้งนี้ ผู้โต้วาทีที่ดีและเก่ง ควรทำการวิเคราะห์และหาข้อมูลว่า คณะกรรมการใช้เกณฑ์ใดในการตัดสิน แล้วจึงให้ความสำคัญกับคะแนนที่สูง เพราะบางคนระวังเรื่องของมารยาทจนเองไปซึ่งมีคะแนนแค่ 10 % เลยเสียคะแนนเรื่องของวาทศิลป์ และการหักล้างซึ่งมีคะแนน 20-30 %
สำหรับคุณสมบัติของนักโต้วาทีที่ดีมีดังนี้
1.ต้องมีทักษะในการฟัง การจด การคิด รวมไปถึงการใช้วาทศิลป์ในการพูด นักโต้วาทีที่ดีต้องมีสมาธิในการฟังฝ่ายตรงกันพูด อีกทั้งต้องสามารถจับประเด็นที่สำคัญๆได้ การจดก็ควรจดด้วยความรวดเร็ว มีความคิดที่เป็นระบบมีเหตุมีผลและการนำเสนอควรนำเสนออย่างมีวาทศิลป์ด้วย
2.ต้องมีการเตรียมการมาเป็นอย่างดีหรือทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ซึ่งควรเตรียมทั้งของเราและเตรียมของคู่แข่งคือต้องคิดล่วงหน้าว่าถ้าเราเป็นคู่แข่งขัน เราจะพูดอย่างไร เราจะคิดอย่างไร
3.ต้องมีไหวพริบปฏิภาณในการโต้วาที คือต้องสามารถตอบโต้สดๆ ในขณะปัจจุบันทันด่วนได้
4. ต้องไม่โกรธง่าย ต้องไม่หวั่นไหวง่าย ต้องมีใจคอหนักแน่น อดทนต่อคำเสียดสีจากฝ่ายตรงกันข้าม รวมไปถึงเรื่องของสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วย
5.ต้องมีการทำงานเป็นทีม โดยมีการประชุมแล้ว แบ่งปันข้อมูล ต้องแบ่งหน้าที่ว่าใครเป็นหัวหน้าทีมและใครเป็นผู้พูดสนับสนุนคนที่ 1 คนที่ 2 และคนที่ 3
สำหรับการโต้วาทีในปัจจุบัน มีลักษณะดังนี้
1.มีลักษณะของการอ่อนเหตุผล
2.มีลักษณะของการใช้วาทศิลป์ที่ด้อยกว่าในอดีต รวมไปถึงการใช้ ภาษากาย
3.มีลักษณะของการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง ไม่สวยงามเหมือนในอดีต
4.มีลักษณะของการใช้ไหวพริบปฏิภาณที่ด้อยลง ไม่เหนือชั้น เนื่องจากว่ามีสนามฝึกฝนน้อย

ขั้นตอนในการโต้วาที
1.ประธานมีหน้าที่กล่าวเปิด กล่าวอารัมภบท สร้างบรรยากาศ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ กล่าวทักทายผู้มาฟังการโต้วาที ต่อจากนั้นประธานต้องแนะนำผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่าย แนะนำกรรมการจับเวลา แนะนำกรรมการตัดสิน จากนั้นจึงกล่าวเชิญผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่ายสลับขึ้นมาพูด โดยเริ่มจาก หัวหน้าฝ่ายเสนอ หัวหน้าฝ่ายค้าน ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 1 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 2 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 2 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 3 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 3 หัวหน้าฝ่ายค้านขึ้นมาสรุป และหัวหน้าฝ่ายเสนอขึ้นมาสรุปเป็นคนสุดท้าย ตามลำดับ
2.หัวหน้าฝ่ายเสนอ มีหน้าที่ในการแปลญัตติหรือตีญัตติ และหาข้อมูล หลักฐาน มาสนับสนุนฝ่ายของตน
3.หัวหน้าฝ่ายค้าน มีหน้าที่ในการแปลญัตติหรือตีญัตติ เพื่อให้ฝ่ายตนเองเกิดความได้เปรียบ และหาข้อมูล หลักฐาน มาพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม
4.ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1 พูดค้านประเด็นที่สำคัญๆของหัวหน้าฝ่ายค้าน แล้วกล่าวสนับสนุนหัวหน้าฝ่ายเสนอ และนำเสนอประเด็นใหม่
5.ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 1 พูดค้านและหาเหตุผลมาหักล้าง หัวหน้าฝ่ายเสนอและผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1
6.ต่อจากนั้นจึงเชิญ ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 2 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 2 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 3 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 3 หัวหน้าฝ่ายค้านขึ้นมาสรุป และหัวหน้าฝ่ายเสนอขึ้นมาสรุปเป็นคนสุดท้าย ตามลำดับ
7.จากนั้นประธานเชิญ กรรมการผู้ตัดสินขึ้นมาวิจารณ์การโต้วาที ในขณะเดียวกัน ต้องรวบรวมคะแนนและการใช้เวลาของทั้งสองฝ่าย เพื่อรวมคะแนน หลังจากนั้นก็ประกาศผลการตัดสิน กล่าวขอบคุณทุกๆฝ่ายและกล่าวปิด
มารยาทในการโต้วาทีที่ดี
1.ไม่ควรอ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์
2.อย่าใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ หยาบคาย
3.อย่านำเรื่องส่วนตัวที่ไม่ดีของฝ่ายตรงกันข้ามมาพูด ยกเว้นเรื่องที่ดี
4.อย่าแสดงอารมณ์โกรธ แต่ต้องควบคุมอารมณ์ในการพูด ต้องแสดงความเป็นมิตรกับฝ่ายตรงกันข้าม
5.ไม่ควรเอ่ยชื่อ แต่ควรเอ่ยว่า หัวหน้าฝ่ายเสนอ หัวหน้าฝ่ายค้าน ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ ผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน
6.อย่าใช้เวลาเกินหรือพูดเกินเวลาที่กำหนดมาให้ในการโต้วาที
การหักล้าง
1.ต้องตั้งใจฟังผู้โต้วาทีทุกคนพูด แล้วจับประเด็นข้อกล่าวหา และเขียนข้อกล่าว พร้อมทั้งคำพูดในการตอบโต้ลงไปในกระดาษ
2.ต้องหาเหตุผล หลักฐาน ข้อมูล เพื่อมาหักล้างข้อกล่าวหา โดยหักล้างคนที่ลงจากเวทีพูดก่อนแล้วจึงไปยังคนแรก เช่น หากว่าเราเป็นผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 1 เราต้องพูดหักล้างผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1 ก่อนแล้วจึงไปพูดหักล้างหัวหน้าฝ่ายเสนอเป็นคนต่อมา
3.ควรหาเหตุผลมาสนับสนุนข้อกล่าวหาโดยตอบโต้ฝ่ายตรงกันข้ามก่อนอย่างน้อยสัก 2-3 ประเด็น แล้วจึงหาข้อเสนอหาเหตุผลมาสนับสนุนฝ่ายตนเอง
4.หักล้างแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน เช่น ฝ่ายตรงกันข้ามร้องเพลงมา ฝ่ายเราก็ต้องร้องเพลงแก้ ฝ่ายตรงกันข้ามยกกลอนมา เราก็ต้องยกกลอนแก้ ฝ่ายตรงกันข้ามยกคำคมมา ฝ่ายเราก็ต้องยกคำคมแก้ เป็นต้น
5.หักล้างแบบทำลายน้ำหนัก หากว่าฝ่ายตรงกันข้ามยกหนังสือมาอ้างอิง เราก็หักล้างว่า หนังสือนั้น ไม่มีคุณภาพ ไม่ควรยึดถือหรือไม่ควรนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง อีกทั้งควรนำเสนอข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ในการตอบโต้ เช่น ยกพจนานุกรม , ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ,ยกสารานุกรมไทย,ยกเอนไซโคลพีเดีย เป็นต้น
การค้าน
1.ผู้โต้วาทีควรหาเหตุผล หาหลักฐานที่เหนือกว่าคู่แข่งมาใช้ประกอบการโต้วาที เช่น ฝ่ายตรงกันข้ามอ้าง ปทานุกรม เราต้องอ้างพจนานุกรม ฝ่ายตรงกันข้ามอ้างพจนานุกรม เราต้องอ้างไซโคลปิเดีย
2.ผู้โต้วาทีต้องค้านให้ตก คือ ผู้โต้วาทีต้องพยายามค้านให้ได้ทุกประเด็น ต้องยืนยัน นั่งยืน นอนยืน ว่าฝ่ายเราถูกต้อง ไม่ควรใช้คำพูดในลักษณะ ว่า “ผมเห็นด้วย แต่...”
3.ผู้โต้วาทีควรต้องรู้จักค้านดักหน้า กล่าวคือ ผู้โต้วาทีไม่ต้องรอเขานำเสนอก่อนแล้วจึงค้าน แต่เราต้องค้านดักคอล่วงหน้า เพื่อทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบหรือทำให้อีกฝ่ายต้องแก้เกมส์อย่างกะทันหัน
...
  
ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การเลือกตั้งในยุคปัจจุบัน หากท่านต้องการประสบความสำเร็จหรือได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง การใช้เงินในการซื้อเสียง ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ก็เป็นปัจจัยแรกๆ ที่ส่งผลให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง สำหรับผู้ที่ไม่มีเงินในการซื้อเสียง ท่านอาจจะได้รับชัยชนะโดยไม่ต้องใช้เงินในการซื้อเสียง ก็ด้วยปัจจัยดังนี้
1.องค์กรของรัฐที่ดูแลการเลือกตั้ง เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องต่อต้านการซื้อเสียงเลือกตั้งอย่างเอาจริงเอาจัง อีกทั้งควรเพิ่มบทลงโทษให้หนักและรุนแรงมากขึ้นสำหรับผู้ที่ใช้เงินในการซื้อเสียงเลือกตั้ง
2.เกิดกระแสฟีเวอร์ เช่น ในสมัยหนึ่ง มีกระแสนิยมในตัวของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จนกระทั่งเกิดกระแส จำลองฟีเวอร์ ในขณะเดียวกัน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็ได้ก่อตั้งพรรคพลังธรรมขึ้นมา แล้วก็ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง ผลปรากฏว่า มีประชาชนจำนวนมากได้ลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครของพรรคพลังธรรม ก็เพราะด้วยความศรัทธาในตัวของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นต้น
3.ความเด่น ความดัง ความมีชื่อเสียง หลายๆคนประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องใช้เงินในการซื้อเสียง เช่น อาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์ นักแสดงดัง เขาแสดงภาพยนตร์หลายๆเรื่อง แต่ที่โด่งดังก็คือเรื่อง คนเหล็ก เขาชนะการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียในปี 2546 และ ปี 2549 สำหรับประเทศไทยเราก็มีคนเด่น คนดัง คนมีชื่อเสียงอีกจำนวนมากที่ไม่ต้องใช้เงินในการซื้อเสียง
4.การตื่นตัวของประชาชน เช่น หลังเหตุการณ์ วันมหาวิปโยค(14 ตุลาคม 2516) และ หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 17-20 พฤษภาคม 2535 ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นจำนวนมากที่ไม่ใช้เงินในการซื้อเสียง แต่สามารถได้รับชัยชนะ ก็เนื่องมาจากประชาชนในพื้นที่เกิดการตื่นตัวอยากที่จะได้นักการเมืองที่มีคุณภาพมากกว่าต้องการอามิสสินจ้างใดๆ
5.ความโดดเด่นทางการพูด นักการเมืองทั้งในอดีตและปัจจุบัน ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินในการซื้อเสียงก็เนื่องมาจากความสามารถในการพูด เช่น อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั้งๆที่ตนเองก็ไม่ได้มีฐานะการเงินที่ดี แต่เขามีความสามารถในการพูดการสื่อสาร , อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีของชาวเยอรมัน ครอบครัวของเขามีฐานะที่ไม่สูงดีนัก เขาเคยไปเป็นกรรมกร เขาเคยเป็นจินตกรขายภาพวาดสีน้ำ แต่สุดท้ายเขาได้เป็นผู้นำของประเทศเยอรมันนี ก็ด้วยเพราะความสามารถในการพูดจูงใจคนของเขานั้นเอง ประเทศไทยของเราก็มีนักการเมืองหลายๆคนที่มีความสามารถในการพูด ซึ่งทำให้ได้รับชนะในการเลือกตั้งโดยที่ไม่ต้องใช้เงินในการซื้อเสียง
6.การสร้างผลงานและการสะสมผลงาน นักการเมืองหลายๆคน ได้รับชัยชนะโดยไม่ได้ใช้เงินในการซื้อเสียง ก็เนื่องมาจากการที่ตนเองได้ สร้างผลงานฝากไว้ให้กับคนในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ผู้ว่าราชการจังหวัดหลายๆคน ได้มีการพัฒนา ได้มีการปรับปรุง ได้มีการสร้างสิ่งแปลกๆใหม่ๆให้กับจังหวัดหรือในพื้นที่ ที่ตนไปอยู่ การฝากผลงานและการสะสมผลงาน ให้กับคนในพื้นที่เป็นจำนวนมากๆ เมื่อเกษียณอายุแล้ว ไปลงสมัครรับเลือกตั้ง ผลปรากฏว่าได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นโดยไม่ได้ใช้เงินในการซื้อเสียง
ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ประสบชัยชนะโดยไม่ต้องใช้เงินในการซื้อเสียง ซึ่งบุคคลที่ประสบชัยชนะไม่จำเป็นจะต้องมีปัจจัยดังกล่าวข้างต้นทุกปัจจัย บางคนมีแค่ 1-2 ปัจจัยก็สามารถนำมาซึ่งชัยชนะในการเลือกตั้งโดยไม่ต้องใช้เงิน แต่สิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดก็คือ ความรัก ความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ใช้เงินในการซื้อเสียงจะต้องมีมากพอที่จะเอาชนะอำนาจเงินของนักเลือกตั้งที่ใช้เงินในการซื้อเสียงได้







...
  
คุณธรรมนักพูด
คุณธรรมนักพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
คุณธรรม คือ การกระทำในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่มีความถูกต้อง คุณธรรมนักพูด จึงหมายถึง การพูดในสิ่งที่ดีงาม การพูดในเชิงสร้างสรรค์ พูดในสิ่งที่มีประโยชน์
ความจริงแล้วไม่ใช่เพียงแต่ วงการพูด เท่านั้นที่จะต้องมีคุณธรรม แต่ ทุกอาชีพ ทุกวงการ จะต้องมีคุณธรรม เพราะคุณธรรมจะทำให้คนที่อยู่ในอาชีพ อยู่ในวงการ มีความเจริญก้าวหน้า แต่ตรงกันข้าม ผู้ใด อาชีพใด วงการใด ขาดซึ่งคุณธรรม จริยธรรม เสียแล้วก็จะนำมีซึ่งความเสื่อม ความถดถอย และอาจเสียชื่อเสียง เงินทอง ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เช่น
อาชีพทนายความ สภาทนายความ จะให้ทนายความทุกคนได้เรียนและมีการทดสอบในรายวิชามารยาททนายความ
อาชีพขายประกันชีวิต ก็จะมีจรรยาบรรณของนักขายประกันชีวิต ที่จะต้องยึดถือปฏิบัติร่วมกัน
อาชีพครู อาจารย์ จะต้องมีกรอบของการปฏิบัติและประพฤติตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน นักศึกษา
อาชีพแพทย์ จะต้องมีจรรยาบรรณของแพทย์ เป็นต้น
เราจะเห็นได้ว่า ทุกวงการ ทุกอาชีพ ต่างก็มีการวางกฎระเบียบในเรื่องของ จริยธรรม จรรยาบรรณ คุณธรรม มารยาท ให้คนในอาชีพ คนในวงการของตนเอง ได้ยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน และถ้าผู้ใด ผิดจริยธรรม จรรยาบรรณ คุณธรรม มารยาท บางอาชีพ บางวงการ ถึงขั้นมีบทลงโทษถึงขั้นให้ออกจากวงการไปเลยทีเดียว
สำหรับคุณธรรมนักพูด กระผมขอแบ่งเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
1.ประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้คำพูด
2.ประเด็นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้คำพูด
1.ประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้คำพูด
1.1.ไม่ควรพูดปด พูดโกหก ซึ่งในทางพุทธศาสนาถือว่าผิดศิล 5 เลยทีเดียว อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐ อับราฮัม ลินคอล์น เคยกล่าวไว้ว่า “ ท่านอาจโกหกคนทุกคนได้บางเวลา ท่านอาจโกหกคนทุกคนได้บางเวลา แต่ท่านไม่สามารถโกหกคนทุกคนตลอดเวลาได้” ฉะนั้น นักพูดที่มีคุณธรรม ไม่ควรพูดปด พูดโกหก หลอกลวง เพราะถ้าเราพูดโกหกบ่อยๆ คนที่เขารู้ เขาก็จะไม่เคารพนับถือศรัทธาเรา
1.2.ไม่ควรพูดให้คนทะเลาะกันหรือพูดให้เกิดการแตกความสามัคคี เราต้องยอมรับว่า บ้านเมืองของเราในปัจจุบันและในยุคอดีต คำพูดมีส่วนเป็นอันมากที่ทำให้เกิดความสามัคคี เช่น แกนนำทางการเมืองมักใช้คำพูดไปทางที่ทำลายฝ่ายตรงกันข้าม พูดให้คนฝ่ายของตนเองเกลียดชังอีกฝ่ายหนึ่ง
1.3.ควรรับผิดชอบต่อคำพูดของตนเอง เช่น สัญญากับใครแล้ว ควรที่จะปฏิบัติตามคำพูดของตนเอง สัญญาว่าจะไปพูดให้ก็ต้องไปตามนัด ไม่ควรขาดนัด หากมีธุรกิจ ติดงานสำคัญ ก็ควรโทรศัพท์ไปขอโทษ เพื่อผู้จัดจะได้จัดนักพูดท่านอื่นแทนตนเองได้
สำหรับคุณธรรมนักพูด ในทางพุทธศาสนายังได้กล่าวถึงเรื่องของการใช้คำพูด ซึ่งนักพูดท่านใดยึดถือก็ถือได้ว่า นักพูดท่านนั้นมีคุณธรรมที่ดีตามหลักพุทธศาสนา คือ
- ปิยวาจา ซึ่งอยู่ใน สังคหวัตถุ 4 ปิยวาจา หมายถึง การใช้คำพูดด้วยถ้อยคำที่สุภาพ ไพเราะ อ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดก้าวร้าว หยาบคาย พูดให้ถูกต้องตามกาลเวลา กาลเทศะ ซึ่งมีหลักที่ยึดถือดังนี้ เว้นจากการพูดเท็จ , เว้นจากการพูดส่อเสียด ,เว้นจากการพูดคำหยาบและเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
- มุสาวาท คำว่า มุสา มีความหมายถึง เท็จ หรือเจตนาที่จะใช้คำพูดเท็จ การใช้คำพูดประเภท มุสาวาท จะทำให้เกิดวาจาที่โกง วาจาที่หลอกลวง เจตนาจะทำให้ผู้อื่นเสียประโยชน์
- ปิสุณวาจา คือ การพูดออกไปเพื่อเจตนาให้คนอื่นเกิดจิตที่เศร้าหมอง ไม่สบายใจ พูดให้ร้ายลับหลังผู้อื่น พูดแล้วมุ่งทำให้เกิดการแตกแยกขึ้น



2.ประเด็นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้คำพูด
2.1.ต้องตรงต่อเวลา เวลานัด 9 โมงเช้า ก็ต้องไปตามนัด ถ้าจะให้ดีก็ควรไปก่อนเพียงเล็กน้อย เพื่อไปเตรียมตัวและเพื่อให้เจ้าภาพหรือผู้จัดเกิดความสบายใจ อีกทั้งเมื่อผู้จัดให้พูด 9 โมงเช้า ถึง เที่ยง(12 นาฬิกา) ก็ควรเลิกตามกำหนด ไม่ควร เลิกก่อนหรือเลิกเกินเวลามากจนเกินไป
2.2.มารยาทในการแต่งกาย นักพูดที่ดีมีคุณธรรม ควรแต่งกายให้เกียรติผู้ฟังและผู้จัด การแต่งกายที่ดีของนักพูดก็คือ ควรแต่งกายเสมอผู้ฟังหรือแต่งกายเหนือกว่าผู้ฟังหนึ่งขั้น แต่ไม่ควรแต่งกายให้ต่ำกว่าผู้ฟัง เช่น ผู้ฟังสวมเสื้อยืดคอเชิต กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบ แต่ก็ควรแต่งตัวให้เหมือนผู้ฟังหรืออาจจะดีกว่าผู้ฟังสักเล็กน้อย เราอาจจะใส่เสื้อสูททับด้านนอก แต่ไม่ควรแต่งกายต่ำกว่าผู้ฟัง เช่นใส่เสื้อยืดคอกลม กางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ เป็นต้น
2.3.ไม่ควรเห็นแก่เงิน นักพูดในปัจจุบันมีความแตกต่างกับนักพูดในอดีต คือ ในอดีตการพูดมักจะไม่ได้สร้างรายได้ให้แก่ผู้พูดมากนัก แต่ในยุคปัจจุบัน การพูดเป็นเงินเป็นทอง นักพูดระดับแนวหน้าของประเทศ พูดครั้งหนึ่งหลักหมื่นหลักแสนกันเลยทีเดียว ฉะนั้น นักพูดที่ไม่มีคุณธรรมมักเห็นแก่รายได้ เมื่อรับงานแรกตกลงว่าจะไปพูดให้แล้ว โดยผู้จัดมีงบประมาณน้อยได้ค่าพูดชั่วโมงละ 500 บาท แต่พอต่อมามีคนมาติดต่อขอไปพูดให้โดยเสนอรายได้ 30,000 บาท นักพูดบางคนเห็นแก่เงิน จึงโทรศัพท์ไปปฏิเสธงานแรกที่รับกันเลยทีเดียว
2.4.ต้องพูดให้ตรงกับหัวข้อเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้พูด นักพูดบางท่าน เมื่อเขาเชิญไปให้พูดหัวข้อหนึ่ง แต่ตอนพูดกับไปพูดอีกหัวข้อหนึ่ง ซึ่งไม่ตรงกับหัวข้อที่ผู้จัดมอบหมายให้ อย่างนี้ก็ถือว่าไม่รับผิดชอบต่อการพูด เพราะผู้ฟังส่วนใหญ่มักคาดหวังกับหัวข้อที่ผู้จัดตั้งไว้ จึงยอมเสียเวลา ยอมเสียเงินไปนั่งฟัง ฉะนั้นเมื่อได้รับมอบหมายให้พูด ก็ควรพูดให้ตรงกับหัวข้อที่ได้รับมอบหมายให้พูด
2.5.ต้องเตรียมการพูดมาเป็นอย่างดี นักพูดต้องรับผิดชอบกับงานพูดของตนเอง เราจะเห็นได้ว่า นักพูดหลายๆคน ตอนเข้าวงการใหม่ๆ มีการเตรียมการพูดอย่างดี แต่พอพูดไปนานๆ เริ่มที่จะไม่เตรียมการพูดแล้ว แต่แท้ที่จริงแล้ว นักพูดที่มีคุณธรรมจะต้องมีการเตรียมตัว ทำการบ้าน สำหรับงานพูดของตน งานถึงจะออกมาดีและจะเกิดข้อผิดพลาดน้อยลง
ฉะนั้น หากท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องการความก้าวหน้าในวิชาชีพทางด้านการพูด คุณธรรมนักพูด จึงเป็นสิ่งที่ท่านควรประพฤติปฏิบัติเพื่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพทางด้านการพูด เพราะถ้าท่านขาดซึ่งคุณธรรมนักพูดเสียแล้ว ก็จะพาท่านไปสู่หนทางที่เสื่อมลง



...
  
เทคนิคการพูดของ บารัค โอบามา
เทคนิคการพูดของ บารัค โอบามา
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
หากมีคนถามผมว่า ผู้นำโลกในยุคปัจจุบัน คนใดที่พูดต่อหน้าที่ชุมชนเก่งที่สุดหรือติดอันดับต้นๆของโลก ผมตอบได้ว่า คือ บารัค โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน ซึ่งการพูดต่อหน้าที่ชุมชนหรือการพูดสุนทรพจน์ของเขา ได้ถูกถอดเทปแล้วทำเป็นหนังสือขายไปทั่วโลก ซึ่งการพูดและการใช้ภาษาของเขา ได้เป็นแบบอย่างให้นักเรียนและนักศึกษาประเทศต่างๆ ได้ใช้เป็นแบบฝึกหัดและเป็นตัวอย่างสำหรับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
เช่น ประเทศญี่ปุ่น ได้ใช้สุนทรพจน์ของนายบารัก โอบามาหรือ “ The Speeches of Barack Obama ” เป็นตำราเรียนเสริมความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งมียอดขายสูงถึง 400,000 เล่ม ภายในเวลา 2 เดือน ซึ่งนายโยซุ ยามาโมโต้ สำนักพิมพ์ที่ผลิตหนังสือได้ยอมรับว่า สุนทรพจน์ของนายบารัก โอบามา เป็นเครื่องมือในการฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นคำพูดที่กินใจ
สำหรับเทคนิดการพูดของนายบารัค โอบามา มีดังนี้
1.มีการพูดซ้ำ เพื่อให้คนเกิดความจดจำ เขาจะใช้คำว่า Yes We Can , Change , Hope , I believe ซึ่งการใช้คำเหล่านี้เป็นคำที่ง่ายต่อการจดจำและทำความเข้าใจ เช่นเดียวกับการพูดของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและนักพูดคนสำคัญของโลกในอดีต มักจะใช้คำว่า “ I have a Dream ” , “ I have a Dream ” , “ I have a Dream ” (ข้าพเจ้ามีความฝัน) อยู่บ่อยๆและพูดซ้ำๆ จนคนจดจำคำว่า “ I have a Dream ” ได้ จนในที่สุดสุนทรพจน์ “ I have a Dream ” จึงถูกจัดอันดับให้เป็นสุนทรพจน์ที่ดีที่สุดอันดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว
2.มีการใช้ท่าทางและน้ำเสียง ไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อเขาอยากจะจูงใจให้ผู้ฟังเชื่อมั่นเขา เขาก็จะกำหมัดแน่น หรือ เอามือไว้ที่หน้าอก พร้อมกับพูดด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น ชัดเจน เมื่อเขาพูดเรื่องราวที่เศร้า เขาจะไม่ยิ้ม เขาจะพูดด้วยน้ำเสียงที่ช้า เบา พร้อมทั้งใส่อารมณ์ที่โศกเศร้าลงไปด้วย
3.มีจังหวะในการพูดที่ เว้น หยุด พูดเร็ว พูดช้า สลับกันไป และเมื่อผู้ฟังปรมมือ โห่ร้อง เขาก็จะหยุดพูดสักพัก เพื่อให้ผู้ฟังได้ปลดปล่อยอารมณ์ได้อย่างเต็มที่ก่อน แล้วเขาจึงเริ่มพูดต่อ
4.มีการศึกษาสุนทรพจน์ดังๆระดับโลกเป็นจำนวนมาก บารัค โอบามา ได้มีการศึกษาสุนทรพจน์ของนักพูดดังๆในอดีตเป็นจำนวนมากแล้ว ก็นำมาฝึกฝนทางด้านการใช้ภาษา ด้านการพูด เช่น เขาศึกษาสุนทรพจน์ของ JFK(จอห์น เอฟ.เคนเนดี) , Lincoln (อับราฮัม ลินคอล์น), Martin Luther King Jr. (มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์) ฯลฯ ทั้งนี้การศึกษาและเรียนรู้สุนทรพจน์ของนักพูดระดับโลกในอดีต จึงส่งผลให้สุนทรพจน์ของเขาเป็นที่ประทับใจของผู้ฟังไปทั่วโลก
5.มีการพูดที่ เต็มเสียง เต็มอารมณ์ เต็มอาการ เขาพูดอย่างเป็นกันเอง ไม่ออกอาการประหม่า หรือ ไม่แสดงคำพูดออกมาแบบไม่มั่นใจเลย แต่ทุกคำพูดล้วนมีพลัง พูดอย่างเต็มเสียง และแสดงอารมณ์ต่างๆออกมาในเวลาพูดได้อย่างถูกสถานการณ์ รวมไปถึงการใช้สายตาที่แสดงอาการที่มีความมุ่งมั่นในการพูด


...
  
จงพูดอย่างกระตือรือร้น
จงพูดอย่างกระตือรือร้น
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
หากว่า พวกเราได้มีโอกาสไปนั่งฟัง การพูดของนักพูดหรือผู้พูดแต่ละท่าน เวลาเราไปนั่งฟัง เราจะมีความรู้สึกหรืออารมณ์ต่างๆ เวลาเราฟังนักพูดหรือผู้พูด บางท่านพูด เราจะรู้สึกง่วงนอน ไม่อยากฟัง น่าเบื่อหน่าย ไม่สดชื่น แต่ในทางตรงกันข้าม เราไปนั่งฟัง นักพูดหรือผู้พูด บางท่านพูด เราจะรู้สึก อยากฟัง รู้สึกสดชื่น รู้สึกสนุก รู้สึกตื่นเต้น กระฉับกระเฉง ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เหตุผลข้อหนึ่งก็คือ
นักพูดหรือผู้พูด หลายๆท่าน ลืมใส่ ความกระตือรือร้น เข้าไปในการพูด เพราะความกระตือรือร้น จะทำให้ผู้ฟังตื่นอยู่ตลอดเวลา แล้วเจ้าความกระตือรือร้น ดีอย่างไร สำหรับคนที่มีความกระตือรือร้นนั้น จะมีลักษณะดังนี้
1.มีความกล้าที่จะแสดงออก
2.มีความอยากได้มีความต้องการที่สูง
3.มีความเพียรมีความพยายาม มุ่งมั่น
4.มีความอดทน ไม่ยอมแพ้อุปสรรคอะไรอย่างง่ายๆ
5.มีความสดชื่น แจ่มใส โดยแสดงออกผ่านทางภาษากาย
แล้วนักพูดหรือผู้พูดที่พูดอย่างกระตือรือร้น เขาจะมีวิธีหรือมีลักษณะเช่นไร
1.อยากที่จะพูด เรื่องที่จะพูดอย่างแท้จริง นักพูดหรือผู้พูด มีความอยากพูดเรื่องนั้นอย่างแท้จริง อยากพูดด้วยหัวใจ ผู้ฟังจะเกิดความกระตือรือร้น มากกว่า นักพูดหรือผู้พูดที่พูดในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายให้พูด เช่น บางคนถูกกดขี่ ข่มเหง ถูกเอาเปรียบ ถูกรังแก มาเป็นเวลา 20 ปี และต้องการที่จะระบายสิ่งที่อยู่ภายในใจ ว่าตนเองมีความรู้สึกอย่างไร เขาก็จะพูดด้วยหัวใจ เขาจะพูดอย่างกระตือรือร้น เนื่องจาก เขาอยากที่จะพูด อยากที่จะระบายนั้นเอง ตรงกันข้ามกับ นักพูดหรือผู้พูด อีกคนหนึ่ง ได้รับมอบหมายให้พูดเรื่องของการถูกกดขี่ ถูกเอาเปรียบ แต่ตนเองก็ไม่ได้มีประสบการณ์มากมายนักกับเรื่องดังกล่าว เขาจึงพูดไปตามหน้าที่ ผู้ฟังก็ไม่อยากที่จะฟัง เพราะผู้พูดพูดตามความเป็นจริง ตามหลักการ ไม่มีประสบการณ์และไม่มีความปรารถนาที่จะพูดเรื่องนั้นอย่างแท้จริง
2.กิริยา อาการ การใช้ท่าทาง แสดงออกมาอย่างแรงกล้า หากพวกเรามีโอกาส เราลองไปดูการพูดของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์โลก หรือ นักพูดคนสำคัญๆในปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า เขาจะแสดง กิริยา อาการ การใช้ท่าทาง ประกอบการพูด บางคนแสดงออกมาอย่างรุนแรง ดุเดือด เผ็ดร้อน เช่น อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อดีตผู้นำของประเทศเยอรมันนี เขาใช้มือประกอบการพูดอยู่ตลอดเวลา บางครั้ง เขาพูดอย่างมีอารมณ์ เขาถึงกับบีบแก้วน้ำแตกในการพูดกับผู้ฟังและผู้คนเรือนแสน(แต่การพูดในครั้งนั้น เขาได้ใส่ถุงมือ)
3.น้ำเสียง ในการพูด น้ำเสียงมีความสำคัญมากในการทำให้ผู้ฟังเกิดความกระตือรือร้น น้ำเสียงหรือเสียงต้องหลากหลาย น้ำเสียงหรือเสียงต้อง ถ่ายทอดอารมณ์ของผู้พูดออกไปได้ ในบางครั้งเราก็ควรพูดให้ดังมากๆ ถ้าเราต้องการให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์โกรธแค้น เราลองสังเกตเวลาเราโหโม เราจะพูดออกมาดังมากๆ จึงทำให้คนฟังรับรู้ว่าเรามีอารมณ์ที่โกรธ เช่นกัน การพูดในเวทีการเมือง นักพูดทางการเมือง มักจะพูดเสียงดัง พูดด้วยอารมณ์โกรธแค้น ผู้ฟังก็จะเกิดอารมณ์โกรธแค้นตามไปกับผู้พูดด้วย
4.นักพูดหรือผู้พูด มีความสำคัญมากที่สุด ในการพูดแต่ละครั้ง เราควรกำหนดท่าทีของผู้ฟัง โดยผ่านท่าทีของผู้พูด เช่น ถ้าท่านเซื่องซึมในเวลาพูด ผู้ฟังก็จะเกิดความเซื่องซึม , ถ้าท่านมีอารมณ์ที่สนุกในเวลาพูด ผู้ฟังก็จะรับรู้ถึงอารมณ์ที่สนุก และเมื่อท่านพูดอย่างกระตือรือร้น ผู้ฟังก็จะเกิดอาการกระตือรือร้นไปกับท่านด้วย แล้วมีคำถามตามมาว่า แล้วจะทำอย่างไรให้ผู้พูดเกิดความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา มีคำแนะนำที่ดีที่สุดของนักพูดในอดีตท่านหนึ่ง เคยให้คำแนะนำว่า “ บอกให้เพื่อนๆหรือคนที่อยู่ข้างๆเราเวลาเราพูดให้ใช้ไม้แหลมๆ กระทุ้งเราเป็นระยะ เราจะได้ตื่นตลอดเวลา ”
...
  
การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
ดร. สุทธิชัยปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
www.drsuthichai.com
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า
โฆษกหมายถึงผู้ประกาศ ผู้โฆษณา เช่นโฆษณาสถานีวิทยุ ผู้แถลงข่าว แทนเช่นโฆษกพรรคการเมือง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายของคำว่า
โฆษกหมายถึง ผู้ประกาศ ผู้โฆษณา หรือผู้แถลงข่าวแทน
ดังนั้น ความหมายของโฆษก โดยรวมก็คือ ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน ผู้ประกาศ ผู้โฆษณา ผู้ที่ทําหน้าที่ ส่งมอบข่าวสาร และข้อมูลต่างๆ ให้แก่สาธารณชน หรือประชาชนได้รับรู้
คุณลักษณะของการเป็นโฆษกที่ดีคือ
1 มีข้อมูลมีข่าวสารมีความรู้ มีความเข้าใจในเรื่องที่ตัวเองพูด
2 มีความน่าไว้วางใจมีความน่าเชื่อถือ
3 เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นที่ชื่นชอบของสาธารณชนหรือสื่อมวลชน
4 มีความสามารถทางด้านการพูดการสื่อสาร
โฆษกควรมีทักษะในการสื่อสารที่ดีดังนี้
1 การใช้คำ อย่างถูกต้อง เหมาะสม
2 การใช้น้ำเสียง การใช้เสียง ประกอบ การพูดให้ถูกต้องกับสถานการณ์ นั้นๆ
3 การใช้อวัจนภาษา การใช้ท่าทางประกอบการพูด อย่างสอดคล้องเหมาะสม
จากเนื้อเพลง ผู้ใหญ่ลี
พศ 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเขาสั่งมาว่า ทางการเขาสั่งมาว่า
ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดเลี้ยงสุกร
ฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่าสุกรนั้นคืออะไร
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด
สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา
หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา
จากเนื้อเพลงข้างต้น จะสะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารระหว่างข้าราชการหรือทางการกับชาวบ้าน ที่มีความผิดพลาด มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน เราสามารถนำมาวิเคราะห์โดยผ่าน กระบวนการสื่อสาร ว่า เกิดความผิดพลาดตรงไหน อย่างไร
กระบวนการสื่อสาร มีดังนี้
1 ผู้ส่งสาร 2 สาร 3 ช่องทาง 4 ผู้รับสาร
1 ผู้ส่งสาร คือ ข้าราชการ ผู้รับนโยบาย จากรัฐบาล มาส่งต่อให้กับผู้นำชุมชน
2 สาร คือ การส่งเสริมให้ชาวนาและเกษตรกร เลี้ยงเป็ดและ สุกร(หมู)
3 ช่องทาง คือ การประชุม การใช้ไมโครโฟนพูดในที่ประชุม
4 ผู้รับสาร คือ ผู้ใหญ่ลี ที่เข้าใจผิด คิดว่า คำว่าสุกร หมายถึง หมาน้อย
จากกรณีศึกษาข้างนี้ เราจะแก้ไขอย่างไร...ให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดหรือไม่เกิดความผิดพลาดขึ้น...
ข้อที่ 1 ผู้ส่งสาร ควรเปิดโอกาสให้มีการซักถาม ปัญหา หรือความไม่เข้าใจต่างๆ จากผู้รับสาร
ข้อที่ 2 สาร ผู้ส่งสารได้ใช้ภาษาราชการ ซึ่งมาจากส่วนกลาง เพราะในยุคนั้นชาวบ้านหรือผู้นำท้องถิ่นมักจะ คุ้นเคยกับภาษาท้องถิ่น(หมู)มากกว่าภาษาจากส่วนกลาง(สุกร) เพื่อลดความผิดพลาด ควรใช้ภาษาท้องถิ่น หรือภาษาที่ชาวบ้านใช้ในท้องถิ่นนั้นๆ สื่อสารจะเกิด ประสิทธิภาพ มากขึ้น
ข้อ 3 ผู้รับสาร คือผู้ใหญ่ลี เมื่อเกิดความไม่เข้าใจ หรือข้อสงสัย ก็ควรสอบถาม ข้าราชการ หรือทางการ ที่ส่งสาร หรือข้อมูล
...
  
มโนภาพกับการพูด
มโนภาพกับการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
มโนภาพมีความสำคัญมากๆต่อการพูดต่อหน้าที่ชุมชน บุคคลที่ขาดมโนภาพ ไม่สามารถเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่ได้ และไม่สามารถพูดจูงใจให้คนคล้อยตามได้
มโนภาพ คือ ภาพที่สร้างขึ้น ภาพที่จินตนาการขึ้น ภายในใจหรือภายในสมอง
นักพูดระดับผู้นำโลก เกือบทุกคน ผมเชื่อว่า เขาใช้มโนภาพกับการพูด กล่าวคือ ก่อนที่เขาจะออกไปพูด เขามักสร้างภาพของตนเองหรือจินตนาการว่า ตนเอง ได้ขึ้นไปพูดบนเวทีต่อหน้าประชาชน เช่น
อดีตประธานาธิบดีลินคอล์นของสหรัฐ ก่อนจะขึ้นพูด เขาจะมีการเตรียมตัว ซ้อม แล้วมโนภาพว่า เขาจะพูดอะไร เขาจะทำท่าทางประกอบการพูดอย่างไร เวลาขึ้นพูดบนเวที
ฮิตเล่อร์ อดีตผู้นำประเทศเยอรมันนี ก็เช่นกัน มีคนเคยเห็น ฮิตเล่อร์ ชอบอยู่คนเดียวเป็นเวลานาน เขาจะมองออกไปนอกหน้าต่าง แล้วเขาจะสร้างมโนภาพหรือจินตนาการขึ้น ว่าเขาจะนำประเทศชาติให้ก้าวหน้าอย่างไร และจะแสดงการพูดของเขาอย่างไรกับประชาชนของเขา
การสร้างมโนภาพหรือการสร้างจินตนาการ ไม่ได้มีเฉพาะในเรื่องการพูดเท่านั้น คนที่ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ ก็มักจะใช้มโนภาพหรือจินตนาการทั้งสิ้น
ไอสไตน์ นักวิทยาศาสตร์ระดับโลก เขาเคยกล่าวไว้ในตอนที่เขามีชีวิตอยู่ว่า “ จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ทำไมเขาถึงได้กล่าวเช่นนี้ ก็เพราะว่า เขาคิดค้นทฤษฏีสัมพัทธภาพ ได้ก็เพราะจินตนาการนั่นเอง
นักขายผู้ยิ่งใหญ่ เขามักจะจินตนาการอยู่เสมอว่า เขาพูดเสนอการขาย แล้วลูกค้าซื้อของของเขา นักขายที่ประสบความสำเร็จมักจะพูดให้ลูกค้าเห็นภาพ เพราะ สุภาษิตจีนได้กล่าวว่า ภาพเพียง 1 ภาพ แทนคำพูดได้เป็น 1,000 คำ
สำหรับการสร้างมโนภาพหรือจินตนาการ นั้น ศาสตราจารย์ปอลชาโกด์ ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า ให้เราพยายามวาดภาพอะไรที่เราต้องการจนเห็นติดตา เช่น ก่อนไปสถานที่ใด ก็พยายามหลับตา แล้วสร้างภาพว่าตนเองกำลังขับรถยนต์ไปยังสถานที่แห่งนั้น แล้วได้พบบุคคล สิ่งของต่างๆในสถานที่แห่งนั้น ถึงแม้ว่า เวลาเราไปจริงๆ จะเกิดความแตกต่างกับที่เราจินตนาการ ก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นการฝึกสร้างมโนภาพหรือจินตนาการจนเคยชินนั้นเอง
เช่นกัน เวลาผมจะไปเป็นวิทยากรหรือไปพูดแต่ละแห่ง ผมมักจะสร้างมโนภาพหรือจินตนาการว่า ผมได้ขึ้นไปพูดบนเวที มีคนมานั่งฟังผมพูดเต็มห้องอบรม ผมได้ทำท่าทางต่างๆประกอบการพูด ผมจะเดินขึ้นบนเวทีด้วยความเชื่อมั่น เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น นักปรัชญา นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ นักธุรกิจ นักสื่อสารมวลชน รวมไปถึงนักพูดด้วย หากต้องการประสบความสำเร็จจะต้องสร้างมโนภาพหรือจินตนาการให้เกิดขึ้นภายในใจหรือภายในสมอง
เพราะถ้านักพูดคนใด มีการสร้างมโนภาพหรือจินตนาการขึ้นมา เขาก็จะมี สำนวนโวหารที่เป็นของตนเอง มีการใช้ถ้อยคำที่ไพเราะ มีการใช้ถ้อยคำที่สื่อให้เห็นภาพ รวมไปถึง การใช้ท่าทาง น้ำเสียง บุคลิก ต่างๆ ในเวลาพูดด้วย


...
  
การเขียนสคิปในการพูด
การเขียนสคิปในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การเขียนสคิปในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนหรือการพูดเพื่อนำเสนอมีความสำคัญมากในอาชีพทางการพูด เพราะการเขียนสคิป เป็นการเตรียมความพร้อมทางการพูดอย่างหนึ่งหรือเป็นการเตรียมการพูดนั่นเอง
การเขียนสคิปจะทำให้เรารู้ภาพรวมของการพูดทั้งหมด ว่าเราจะขึ้นต้นอย่างไร ตรงกลางเราจะเอาเนื้อหาอะไรไปใส่ สรุปเราจะลงท้ายอย่างไร และถ้าเป็นการพูดในยุคปัจจุบัน จะทำให้เรารู้ว่า เราควรเปิดคลิป VDO ให้ดูตอนไหน เราควรจะใช้รูปหรือใช้เพาเวอร์พอย อะไรฉายให้ผู้ฟังดูเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เราจะสร้างความบรรเทิงอย่างไร ตอนไหนในขณะที่พูด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ภายในสคิปที่เราเขียน
แต่ก่อนจะเขียนสคิปในการพูด เราควรรู้หรือหาข้อมูลก่อนการเขียนสคิป ดังนี้
1.คุณต้องรู้ก่อนว่า ใครคือผู้ฟังของเรา ผู้ฟังต้องการอะไร (ต้องการข้อมูล ต้องการความรู้ ต้องการความบันเทิง) หรือพูดง่ายๆว่า จงวิเคราะห์ผู้ฟังก่อนที่จะเขียนสคิป
2.คุณต้องรู้ก่อนว่า ในสถานที่ที่เราจะไปพูด เขามีอุปกรณ์อะไรให้บ้าง เช่น เราสามารถเปิด VDO ได้ไหม เราสามารถเปิดเพลงได้ไหม เราสามารถเปิด เพาเวอร์พอย โดยผ่านโปรเจคเตอร์ ได้ไหม เพราะถ้ามีอุปกรณ์ต่างๆ เราก็สามารถเตรียมไปเปิด เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น สนุกสนานขึ้น
3.คุณต้องรู้หัวข้อในการพูด ก่อนที่จะลงมือเขียนสคิป ตลอดรวมไปถึงว่า หัวข้อดังกล่าว ผู้จัดหรือผู้ฟังต้องการรู้โดยภาพรวมหรือรู้ลึก ขนาดไหน ฉะนั้น เมื่อได้รับหัวข้อ เราลองสอบถามผู้จัดก่อนที่จะลงมือเตรียมตัวเขียนสคิป
4.คุณต้องรู้ก่อนว่า เวทีการพูดนั้น เขามีวัตถุประสงค์อย่างไร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ใช่ไหม เป็นเวทีพูดสำหรับการพูดฝึกอบรมใช่ไหม หรือพูดเพื่อความบรรเทิง พูดเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง แล้วให้เวลาสำหรับการพูดบนเวทีนั้น กี่นาที กี่ชั่วโมง
ขั้นตอนในการเขียนสคิป
1.เริ่มเขียน เราจะเปิดฉากอย่างไรในการพูดเพื่อให้คนสนใจฟัง เราจะเปิดฉากด้วย เรื่องราวที่น่าสนใจดีไหม หรือ เปิดฉากด้วยเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือ ข่าวในปัจจุบัน แต่ต้องให้เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ได้รับมอบหมายให้พูด หรือในยุคสมัยนี้ เราสามารถเปิดฉากด้วย VDO คลิป ได้ ถ้าเป็นเวทีการพูดในลักษณะประเภทการฝึกอบรม จงเขียนไปว่าเราจะเปิดฉากอย่างไร
2.เมื่อเปิดฉากแล้ว มาสู่เนื้อหา สาระ เราจะ พูดอย่างไร จงเขียนไป ส่วนใหญ่แล้ว ในส่วนของเนื้อหา เราควรที่จะมีตัวอย่างง่ายๆ ตัวอย่างมากๆ มาประกอบการพูดของเรา มี VDO มีเพลง มีภาพต่างๆ มาประกอบ อีกทั้งเราสามารถหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาอ้างอิงการพูดของเราเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
3.สรุปจบ เราจะสรุปจบการพูดการบรรยายของเราอย่างไร เพื่อให้ผู้ฟังเกิดประทับใจ จงเขียนลงไป
ทั้งนี้ เราต้องรู้ด้วยว่า เขาให้เราพูดกี่นาที หากว่าให้พูดไม่กี่นาที เราสามารถเขียนสคิปได้ทุกคำพูด แต่ถ้าให้พูดเป็นชั่วโมงหรือหลายชั่วโมง เราก็อาจจะเขียนแค่หัวข้อ หรือ ย่อความสั้นๆลงไปในสคิป ตามที่เราเข้าใจได้ง่าย
ทีนี้มาถึงตอนซ้อม ถ้าสคิปที่เราเขียนมีไม่มากเขาให้พูด 2-5 นาที เราสามารถอ่านออกเสียงดังๆ เพื่อให้เกิดความจำได้ดีขึ้น เพื่อให้การพูดไม่ติดขัด แต่ถ้าสคิปมีความยาว เราก็อาจพูดออกเสียงในประเด็นที่เราอยากเน้นย้ำได้ อีกทั้งถ้าเป็นสคิปงานบรรยายในฐานะที่เราพูดเป็นวิทยากร เราก็ควรเปิด เพาเวอร์พอย หรือเปิดคลิป VDO ตามไปด้วย ว่าถึงตอนนี้เราจะเปิด เพาเวอร์พอยหน้านี้ หรือเราจะเปิดคลิป VDO เรื่องนี้ในการพูดช่วงเวลานี้เป็นต้น
และเมื่อเราซ้อมมาถึงจุดหนึ่ง เราสามารถตัดทอนข้อมูลบางส่วนทิ้ง และเราสามารถเพิ่มข้อมูลที่เราต้องการเพิ่มเติมขึ้นไปอีกได้ สำหรับการซ้อมเราควรซ้อมหลายๆรอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการพูดและจะทำให้เราไม่ลืมพูดข้อมูลที่มีความสำคัญๆ ในเวลาที่เราพูด



...
  
การใช้มือประกอบการพูด
การใช้มือประกอบการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การใช้มือประกอบการพูดมีความจำเป็นและมีความสำคัญมาก เพราะการใช้มือประกอบการพูดจะทำให้การพูดนั้นมีความน่าเชื่อถือ การใช้มือประกอบการพูดในลักษณะต่างๆจะสร้างการจูงใจผู้ฟังได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นศิลปะและศาสตร์ที่สามารถเรียนรู้กันได้
การใช้มือบอกถึงความหมายต่างๆ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น
- เมื่อเราพูดคำว่า “ ไม่ ” แล้วไม่ใช่มือประกอบการพูด กับ เราพูดคำว่า “ ไม่” โดยโปกมืออยู่ในระดับหน้าอก ผู้ฟังจะเกิดความรู้สึกที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ฟังจะเข้าใจว่า การโปกมืออยู่ที่ระดับหน้าอก จะแสดงให้เห็นว่า เป็นการปฏิเสธที่มีความหนักแน่นกว่า การพูดออกมาเฉยๆ โดยไม่ใช่มือประกอบ
- เมื่อเราพูดคำว่า “ทางโน้น” โดยไม่มีการฝายมือ ผู้ฟังอาจงง ว่า เป็นทางไหน แต่ถ้าเราพูดว่า “ ทางโน้น” แล้วฝายมือไปยังทิศที่เราต้องการให้ผู้ฟังรู้ ผู้ฟังก็จะทราบได้ว่าคนพูดต้องการให้ผู้ฟังทราบว่าทิศทางใด
- เมื่อเราต้องการบอกระดับความสูง เราก็สามารถใช้มือของเราวางเท่าระดับความสูงนั้นๆ เช่น ลูกชายผมตอนนี้สูงเท่านี้ ใช้มือคว่ำแล้วแตะที่ระดับเอว ผู้ฟังก็จะรู้ว่าสูงเท่าเอว หรือ ใช้มือคว่ำแล้วแตะอยู่ที่หน้าอก ผู้ฟังก็จะรู้ว่าสูงเท่าหน้าอก เป็นต้น
การใช้มือเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังทำตาม
- ในการเป็นวิทยากรบรรยายในงานอบรมแต่ละครั้ง ผมมักจะถามว่า ใครเข้าใจแล้ว ยกมือขึ้น ทุกคนก็เฉยๆ ไม่ยอมให้ความร่วมมือหรืออาจเป็นเพราะผู้ฟังไม่กล้ายุ่งอะไรกับวิทยากร แต่เมื่อผมใช้มือประกอบ เช่น ผมบอกว่า ใครเข้าใจแล้วยกมือขึ้น แล้วผมก็ยกมือของผมขึ้นในขณะพูด ปรากฏว่า มีผู้ฟังบางคนเริ่มยกมือไปกับผม
หรือ บางครั้งเมื่อผมต้องการให้คนฟังยกมือขึ้น ผมก็จะพูดด้วยเสียงที่ดังแล้วยกมือของผมขึ้นก่อน ผู้ฟังหลายคนก็จะเริ่มมีส่วนร่วมในการยกมือไปพร้อมกับผม
การใช้มือประกอบการพูดเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
- มีอยู่หลายครั้งทีเดียว ที่ผมเป็นพิธีกรหรือเป็นวิทยากรในงานต่างๆ แล้วผมจำชื่อของคู่บ่าวสาวไม่ได้หรือชื่องานที่เข้าอบรมไม่ได้ แต่ทั้งนี้ก็มีชื่อคู่บ่าวสาวหรือชื่อข้อความการจัดอบรมอยู่ที่หน้าเวที ถ้าเกิดผมจำไม่ได้แล้ว หันหลังไปอ่าน คนฟังหรือเจ้าภาพย่อมไม่ประทับใจผมแน่
แต่ผมใช้วิธีนี้ ท่านผู้อ่านอาจนำไปใช้ดูก็ได้ครับ คือ เมื่อผมจำชื่อคู่บ่าวสาวไม่ได้ ผมก็จะใช้วิธีการฝายมือไปยัง ชื่อคู่บ่าวสาว ด้านหน้าเวที เพื่อให้ทุกคนที่เข้าร่วมงานดู แต่จริงๆแล้ว ผมลืมครับ ผมดูเอง เพราะผมจำไม่ได้ แต่การใช้วิธีการฝายมือได้ผลครับ ทุกคนต่างดูไปที่ชื่อคู่บ่าวสาวพร้อมๆ กัน กับผม เสมือนหนึ่งว่าผมไม่ได้ดูชื่อคู่บ่าวสาวคนเดียว การอบรมก็เช่นกัน ถ้าผมจำชื่อโครงการหรือจำชื่อหลักสูตรการอบรมไม่ได้ ผมก็จะฝายมือให้คนฟังดูพร้อมๆกันกับผม แล้วผมก็อ่านมัน
ฉะนั้น ถ้าผู้พูดคนใด สามารถนำมือมาใช้ในการประกอบการพูด ก็จะทำให้การพูดของท่านเป็นที่น่าสนใจ และจะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผู้พูดก็ไม่ควรใช้มือประกอบการพูดมากเสียจนเกินไป หรือใช้มืออย่างไม่มีความหมาย จนทำให้ผู้พูดสูญเสียบุคลิกภาพได้ในสายตาของผู้ฟัง
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.