หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  การเตรียมการพูด
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  พูดดีเป็นศรีแก่งาน
  -  องค์ประกอบของการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  การพูดแบบผู้นำ
  -  การพูดจูงใจคน
  -  การวิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  เทคนิคการเป็นพิธีกร
  -  การพูดในชีวิตประจำวัน
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างวาทะสำหรับนักพูด
  -  มาเป็นวิทยากรกันเถอะ
  -  ความเชื่อมั่นในการพูด
  -  การพูดเพื่อนำเสนอ
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  การพูดให้น่าเชื่อถือ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  การสร้างอารมณ์ขันในการพูด
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  การสร้างพลังสามัคคี
  -  ความเชื่อมั่นในตนเองเวลาพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  กิริยาท่าทางในการพูด
  -  ศิลปะการพูดในที่ประชุม
  -  การฝึกซ้อมการพูด
  -  วัตถุดิบสำหรับการพูด
  -  การพูดอย่างมีตรรกะ
  -  การพูดเชิงบวก
  -  วิธีการพูดชนะใจคน
  -  การเตรียมความพร้อมในการพูด
  -  พูดเหมือนผู้นำ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
  -  เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
  -  การอ้างวาทะคนดังในการพูด
  -  ก้าวสู่นักพูดมืออาชีพ
  -  จังหวะในการพูด
  -  การเลือกวิทยากร
  -  พูดอย่างไรให้ขายได้
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  วิธีฝึกพูดของ เดล คาร์เนกี
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  คุณธรรมนักพูด
  -  เทคนิคการพูดของ บารัค โอบามา
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  มโนภาพกับการพูด
  -  การเขียนสคิปในการพูด
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  สอนอย่างไรให้ง่ายและสนุก
  -  เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การสื่อสารสำหรรับข้าราชการ
  -  เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

...
  

...
  

...
  

...
  
บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนเราจะพูดเก่งพูดเป็นนั้น จำเป็นจะต้องมีพื้นฐานและเรียนรู้หลักเกณฑ์เพื่อที่จะนำไปใช้ปฏิบัติในการเรียนรู้และฝึกฝน ในตอนนี้ เราจะมาพูดเรื่อง บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด กัน บัญญัติทั้ง 7 มีดังนี้
1.ต้องมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเป็นนักพูด การที่คนเรามีแรงปรารถนาอยู่ในหัวใจจะทำให้คนๆ นั้น เกิดความมานะ พยายามในสิ่งเหล่านั้น คนที่ต้องการเป็นนักพูดก็เช่นกัน ต้องมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเป็นนักพูดให้ได้ ถ้าท่านปรารถนามาก ท่านก็จะทุ่มเทมาก แต่ถ้าความปรารถนาของท่านมีน้อย ท่านก็จะทุ่มเทในการฝึกฝน เรียนรู้ น้อยเช่นกัน
2.ต้องเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมการพูดทุกครั้ง การเตรียมพร้อมจะทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นในการพูด ทำให้การพูดของเราเป็นสุนทรพจน์คือมีการลำดับ การขึ้นต้น เนื้อเรื่องและสรุปจบ ทำให้เราบรรยายได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเราสามารถหาข้อมูลใหม่ๆ ข้อมูลแปลกๆ มาใช้ในการบรรยาย ทำให้การพูดของเราใหม่อยู่เสมอ
3.ต้องมีความเชื่อมั่นในการพูด ความเชื่อมั่นจะทำให้เราพูดได้ดียิ่งขึ้น กระผมเองเคยไปฟังคำบรรยายเรื่องการพูด กับ อาจารย์อุสมาน ลูกหยี ได้คาถาดี มาประโยคหนึ่งคือ “ ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้แต่เราเต็มที่ไว้ก่อน ” ตั้งแต่บัดนั้น ทำให้ผมเกิดความเชื่อมั่นขึ้นมาอย่างมาก พอจะขึ้นเวที พูดกับตัวเองในใจ ว่า “ ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้แต่เราเต็มที่ไว้ก่อน ” แล้วก็ขึ้นไปพูดด้วยความมั่นใจทำให้การพูดแต่ละครั้ง ของกระผมออกท่าทางอย่างเต็มที่ พูดเสียงดังฟังชัดกว่าแต่ก่อนในอดีต อาการประหม่า ลดลงอย่างมาก
4.ต้องมีลีลา ประกอบการพูด การพูดที่ดีต้องแสดง ลีลา ท่าทางประกอบการพูดด้วย รวมไปถึงน้ำเสียงต้องสอดคล้องกับเรื่องที่พูด การใช้ท่าทาง หน้าตา สายตา การยืน การเคลื่อนไหว ให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด อีกทั้งภาษาที่มีความสุภาพบ้าง ภาษาที่เป็นกันเองเหมือนกับเราพูดกับเพื่อนบ้าง เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้ภาษา รวมถึงบุคลิกภาพ การเดินขึ้นเวที จะต้องมีความเชื่อมั่น กระฉับกระเฉง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ
5.ต้องมีความหลากหลายในการพูด การพูดที่ดี ต้องมีความหลากหลาย เช่น ต้องมีเรื่องตลกหรือมีอารมณ์ขันประกอบ ต้องมีตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจหรือสนใจมากขึ้น ต้องมีเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ฟังแล้วเกิดความคิด ต้องมีเนื้อหาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การพูดที่หลากหลายจะทำให้ผู้ฟังเกิดความชื่นชอบ





6.ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ ทำให้คนในยุคปัจจุบันฉลาดกว่าคนในสมัยอดีต เพราะสามารถเรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ได้เร็วขึ้น ได้มากขึ้น เรามีสื่อที่ทันสมัยกว่าในอดีต เช่น อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ วีซีดี ดีวีดี ฯลฯ และที่สำคัญคือสิ่งเหล่านี้มีจำนวนมากและไม่สามารถปิดกั้นได้เหมือนอย่างในอดีต ดังนั้น ใครอ่านมาก ฟังมาก คนๆนั้นจะเป็นนักพูดที่คนเชื่อถือ ศรัทธา เพราะความที่รู้มากกว่าผู้ฟัง
7.ต้องฝึกฝนตลอดเวลา การฝึกฝนตลอดเวลาจะทำให้เราเกิดการเรียนรู้ เกิดการแก้ไข ปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ ทำให้เราต้องตื่นตัว ทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น และลดความกลัวต่างๆ ลง ถามว่าทำไมถึงกลัว เหตุที่กลัวเพราะ เราขาดความมั่นใจ ถามว่าทำไมถึงไม่มั่นใจก็เพราะเราไม่แน่ใจ ว่าจะทำสิ่งเหล่านั้นได้ และความไม่แน่ใจว่าจะพูดได้หรือไม่ เกิดจากเหตุผลคือ การที่เราไม่ได้ฝึกนั่นเอง ดังนั้นจงฝึกพูดทุกโอกาส และเมื่อมีโอกาสก็ควร อาสาขึ้นพูด เพราะโอกาสจะมีสำหรับผู้ที่แสวงหาโอกาสเสมอ
ท้ายนี้ หลักการพูดหรือหลักเกณฑ์ที่จะทำให้เราพูดได้ดี ยังมีอีกมากมาย ฉะนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เทคนิคต่างๆ มากขึ้น สำหรับกระผมคิดว่า ถ้าท่านใช้หลักเกณฑ์ “บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด ”ที่กระผมกล่าวไปข้างต้น จะทำให้การพูดของท่านดีขึ้นมาอย่างแน่นอน






...
  
คำคม เกี่ยวกับการพูด
คำคม เกี่ยวกับการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การที่คนคนหนึ่งจะเป็นนักพูดนั้น จะต้องมีความสามารถที่หลากหลายในการพัฒนาตนเองในการพูด เช่น จะต้องสามารถพูดให้สนุกได้ พูดจูงใจคนได้ พูดเพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ผู้ฟังได้ พูดเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคนได้ ซึ่งคนคนนั้นจำเป็นจะต้องใช้ศิลปะในการพูดหลายอย่าง
ยิ่งบางคนเป็นนักพูดประเภท วิทยากร ยิ่งต้องใช้ความหลายหลากในการนำเสนอ เช่น จะต้องมีการนำเกมส์ มีการร้องเพลง มีการใช้บทประพันธ์ หรือ คำคมต่างๆในการประกอบการพูด ในบทความนี้ผมขอพูดเรื่องเกี่ยวกับคำคม ก่อนอื่นเรามาพูดถึงความสำคัญของคำคมกันก่อน
คำคม มีความสำคัญมากเพราะเป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดของผู้ฉลาดหรือนักปราชญ์ การจำ การทำความเข้าใจ คำคม จะทำให้ความคิดเราเฉียบแหลมขึ้น ตามปกติคำคมจะมีข้อความสั้นๆ แต่กินใจ ความลึกซึ้งขยายความออกไปได้มาก คนที่ต้องการเป็นนักพูด วิทยากรจึงควรจดจำ คำคมและนำไปใช้ให้เหมาะสม ถูกกาล ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาได้
โดยมากหลักในการใช้ คำคม ประกอบการพูด ควรให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด และคำคม มีมากมาย หลายชาติ หลายภาษา บางคำคมไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กล่าว ในบทความฉบับนี้กระผมจึงไม่สามารถอ้างอิง ในบทความนี้ได้ จึงขอนำเสนอคำคมเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการพูด คำคม เกี่ยวกับการพูดมีดังนี้

 ถ้าท่านลุกขึ้นยืนพูดต่อหน้าที่ฝูงชนไม่ได้ อย่าปรารถนาเป็นผู้นำ (หลวงวิจิตรวาทการ)

ทุกคนพูดได้ แต่มีบางคนเท่านั้นที่พูดเป็น (ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์)

เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ(พุทธศาสนสุภาษิต)

กลองจะดังต้องถูกตี นักพูดจะดีต้องได้รับคำวิจารณ์

 พูดโดยไม่คิด ก็ดั่งยิงปืนโดยไม่เล็ง

อาวุธที่แสนคมยังไม่คมเท่ากับปากคน

คิดก่อนกล่าววาจา ศัตรูจะมาเป็นมิตร กล่าววาจาก่อนคิด มิตรก็อาจกลายเป็นศัตรู

ควรพูดจากใจ จริงใจ มั่นใจ สุดใจ แต่อย่าย่ามใจ

จงพูดแต่ดี อย่าดีแต่พูด

สิ่งที่ลงทุนน้อยและได้เกิดประโยชน์มากที่สุด คือ คำพูดที่ดี

ก่อนพูดเราเป็นนายมัน หลังพูดมันเป็นนายเรา

ลิ้นอ่อนนุ่มยังคงอยู่ ฟันแข็งกระด้างร่วงไปแล้ว

ยิ่งพูดมาก ความจริงก็ยิ่งน้อย
อย่าให้ลิ้นของท่านประจานตัวท่านเอง

คนคิดน้อย พูดมาก คนพูดมาก ทำน้อย

ถ้อยคำดี ถ้าน้ำเสียงไม่ดี ก็มีความหมายไปในทางตรงกันข้าม

ถ้าท่านไม่รู้จักเก็บลิ้น ลิ้นจะเก็บท่าน

กฎทองในการสนทนา คือคิดก่อนพูด

ความจริงพูดไม่ได้ในทุกโอกาส

พูดน้อย คนเกรงใจมาก

ถ้ารู้สึกว่าจะพูดอะไรให้น่าฟังไม่ได้ ก็นิ่งเสียดีกว่า

คำพูดเหน็บแนมที่เฉียบแหลมรุนแรงย่อมเชือดเฉือนได้ลึกกว่าคมอาวุธ(คติฝรั่งเศส)



นี่เป็นตัวอย่างคำคมที่เกี่ยวกับการใช้ปากหรือคำพูด ดังนั้นการใช้คำคมประกอบการพูดจึงมีความสำคัญ เพราะจะทำให้การพูดของเรามีความหลากหลายและผู้ฟังเกิดความศรัทธาในการฟังเราพูด การฝึกใช้คำคมในช่วงแรกๆ เราอาจจำคำคมของนักพูดต่างๆ ก่อน แล้วเราจึงคิดเองขึ้นมาบ้าง
ในบทความฉบับหน้าเราจะมาเรียนรู้เรื่องของการใช้บทกลอน บทประพันธ์ประกอบการพูด การใช้บทประพันธ์ประกอบการพูดจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและดึงดูดใจผู้ฟังได้มาก และยิ่งเป็นการพูดในโอกาสต่างๆ เช่น การขึ้นบ้านใหม่ การสมรส การอำลา การเลี้ยงต้อนรับ ฯลฯ ถ้าใครได้ใช้บทกลอนหรือบทประพันธ์ประกอบการพูดก็จะทำให้เป็นที่จดจำและเกิดความประทับใจได้มากเลยทีเดียวครับ
...
  
การเตรียมการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนที่จะเป็นนักพูด นักบรรยาย วิทยากร และนักพูดทุกประเภท ที่ดี ที่เก่ง และมีชื่อเสียงได้นั้น คนๆนั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ แต่คุณสมบัติที่สำคัญมากที่สุด ข้อหนึ่งก็คือ

การเตรียมการพูดนั้นเอง เพราะการเตรียมการพูดจะทำให้นักพูด ท่านนั้นเกิดความมั่นใจในตนเอง การเตรียมการพูดจะทำให้รู้โครงสร้างของเรื่องที่จะพูดและเนื้อหาโดยรวม
การพูด ก็เหมือนกับการแสดง หรือ นักพูดก็เหมือนนักแสดงอย่างหนึ่ง ก็คือ ถ้ามีการเตรียมการพูด มีการฝึกซ้อมอย่างดี ก็จะทำให้การพูดครั้งนั้นๆ ประสบความสำเร็จ นักแสดงก็เช่นกัน ดังนั้นการเตรียมการพูดจึงมีความสำคัญมากจนมีผู้กล่าวว่า ผลสำเร็จของการพูดแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับการเตรียมการพูดประมาณ 70 % เหลืออีก 30% อยู่ที่การพูดบนเวที

ซึ่งการเตรียมการพูดที่ดีนั้น จะต้องมีหลักดังนี้

1.ต้องรู้วัตถุประสงค์ของการพูด รวมทั้งผู้ฟังก่อน การรู้วัตถุประสงค์ของการพูดในครั้งนั้นๆจะทำให้เราเตรียมข้อมูล วิธีการได้ถูกต้อง เช่น การพูดในครั้งนั้นเป็นการพูดเพื่อการบันเทิง เราก็พยายามเตรียมการพูด โดยการหามุข หาเรื่องสนุกๆ ตลกๆ มาพูดให้มากหน่อย หรือการพูดครั้งนั้นเพื่อการจูงใจ ชักจูง เราก็ต้องเตรียมข้อมูลให้มีการอ้างอิง หาหลักฐาน คำพูดของผู้มีชื่อเสียง และหนังสือมาประกอบ อีกทั้งต้องวิเคราะห์ว่าผู้ฟัง เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ควรพูดลีลา ท่าทาง น้ำเสียง เรื่องที่จะพูดตรงต่อความสนใจของผู้ฟังไหม
2.หาข้อมูลประกอบการพูด การพูดก็เหมือนกับการทำอาหาร เราต้องหาข้อมูลเหมือนกับเราจะทำแกงเนื้อสักถ้วย เราก็ต้องไป หาพริก หาเกลือ หาน้ำ หาเนื้อ หาน้ำปลา หาเครื่องแกง หาผัก ฯลฯ สำหรับข้อมูลที่ดีจะต้องมีความหลากหลาย เช่น มีตัวเลขสถิติ , ตัวอย่าง , หลักฐาน , คำคม , สุภาษิต ดังนั้น ผู้ที่เป็นนักจดบันทึก มีสมุดบันทึกติดตัว จดคำคม ข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประกอบการพูด มักจะได้เปรียบเพราะมีการเตรียม มีการหาข้อมูลตลอดเวลา
3.เขียนโครงสร้างเรื่องลงไปบนกระดาษ ขั้นตอนนี้จะต้องเขียนโดยมีโครงสร้างสุนทรพจน์คือ มีคำนำ มีเนื้อเรื่อง และมีสรุปจบ โดยเขียนรายละเอียดทั้งหมดลงไปบนกระดาษ แล้วจึงนำ มาเพิ่มเติม มาตัด มาเสริม และอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน คำพูดหรือภาษาที่ใช้เพื่อนำไปพูด ไปบรรยาย (คำนำควรมีเนื้อหาประมาณ 10-15 % เนื้อเรื่องควรมีเนื้อหาประมาณ 70-80 % สรุปจบควรมีเนื้อหาประมาณ 10-15 % )
4.ซ้อมพูดหรือฝึกหัดการพูด อาจจะซ้อมพูดต่อหน้ากระจก อาจจะเป็นการซ้อมพูดคนเดียวในที่ต่างๆ ดังเช่นนักพูดดังๆในอดีตและปัจจุบันทำกัน เช่น อาจารย์จตุพล ชมพูนิช เคยให้สัมภาษณ์ว่าเคยซ้อมพูดคนเดียวตอนเดินกลับบ้านโดยเลือกเรื่องที่จะพูดแล้วเริ่มพูด ตั้งแต่ต้นซอยจนถึงบ้านที่อยู่ท้ายซอย,อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ซ้อมพูดขณะอยู่บนหลังม้า ฯลฯ

บางคนอาจไม่คุ้นกับการฝึกพูดคนเดียว อาจจะให้คนรู้จักนั่งฟังหรือให้เพื่อน ภรรยา นั่งฟังแล้วช่วยเสนอแนะข้อที่ควรปรับปรุงในการพูดก็ได้


การซ้อมพูดที่ดี ควรทำท่าทางประกอบและควรจับเวลาด้วย เนื่องจากจะได้ตัดทอนเนื้อหา หากใช้เวลามาก แต่ถ้าเวลาเหลือมากจะได้เพิ่มเติมเนื้อหาเข้าไป การทำท่าทางประกอบในการซ้อมพูดจะทำให้เมื่อออกไปพูดจริงจะไปดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ถ้าท่านยิ่งซ้อมพูดมากเท่าไรก็จะยิ่งดีเท่านั้น


สรุปคือ การเตรียมการพูดเป็นสิ่งที่สำคัญ จะละเลยไม่ได้ ควรเตรียมตัวทุกครั้งเพราะความสำเร็จของการเป็นนักพูดที่ดี อยู่ที่การเตรียมการพูดนั่นเอง


...
  
วิเคราะห์ผู้ฟัง
วิเคราะห์ผู้ฟัง
นักพูดที่ดีต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง


โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์


การที่จะพูดให้ถูกใจผู้ฟัง ต้องทราบในเบื้องต้นก่อนว่าผู้ฟังคือใคร มีความต้องการอะไร มีจำนวนเท่าไร เสมือนหนึ่งเราทำอาหารต้องทราบในเบื้องต้นก่อนว่าผู้ทานต้องการอาหารประเภทไหน รสชาติเป็นอย่างไร


การวิเคราะห์ผู้ฟังจึงมีความสำคัญมากในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน การวิเคราะห์ผู้ฟังเราสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้


1.จำนวนผู้ฟัง มีความสำคัญมากเพราะการพูดกับคนจำนวนน้อย เราต้องมีวิธีการพูดที่แตกต่างกับวิธีการพูดที่มีคนจำนวนมาก รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ในการพูดก็สำคัญไม่น้อย เช่น เอกสารประกอบการบรรยาย ห้องสำหรับใช้บรรยายหรือใช้ในการพูด ถ้าคนน้อยแต่ใช้ห้องประชุมที่ใหญ่มากๆ หรือ ถ้าคนมากแต่ดันใช้ห้องประชุมขนาดเล็กๆ ทำให้บรรจุคนไม่พอ ดังนั้นนักพูดต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วย


2.เพศและวัย เรื่องของเพศและวัย เพศชายส่วนใหญ่ชอบ การผจญภัย การต่อสู้ กีฬา ส่วนเพศหญิงชอบเรื่องของ ความสวยงาม แฟชั่น ดังนั้นการพูดต้องพูดให้มีความสำคัญกับเพศของผู้ฟัง สำหรับวัยเด็ก มักชอบเรื่องที่สนุกสนาน มักมีสมาธิสั้นในการฟัง มักชอบนิทาน วัยรุ่นชอบเรื่องเกี่ยวกับรักๆใคร่ๆ ชอบเรื่องที่มีความท้าทาย วัยผู้ใหญ่สนใจเรื่องของอาชีพ การสร้างฐานะ และวัยชรา สนใจเรื่องศาสนา เป็นต้น


3.พื้นฐานการศึกษาของผู้ฟัง การพูดให้ผู้ฟังที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน เราจะต้องมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน ถ้าผู้ฟังที่มีระดับการศึกษาสูง เราสามารถใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษได้บ้าง แต่ถ้าพูดให้ผู้ฟังที่มีระดับการศึกษาต่ำ ไม่ควรพูดทับศัพท์ และต้องเตรียมเนื้อหา วิธีการนำเสนอที่แตกต่างกันด้วย ต้องใช้ภาษาให้เหมาะสม ในบางครั้งนักพูดคิดไปเองว่า การพูดโดยใช้ภาษาที่สวยงามหรือภาษาวรรณกรรมจะทำให้ผู้ฟังชอบ แต่เปล่าเลย ผู้ฟังที่มีพื้นฐานการศึกษาที่ต่ำ มักจะไม่เข้าใจ ทำให้การสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพในที่สุด


4.อาชีพ ของผู้ฟัง เช่น อาชีพทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข จะมีศัพท์ในการพูดที่ใช้สื่อสารกันในโรงพยาบาลหรือที่ทำงาน บางครั้งตัวคนไข้หรือผู้ป่วยจะไม่ว่าแพทย์ พยาบาลหมายถึงอะไร ดังนั้น ถ้าเรานำศัพท์ในทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข ไปบรรยายให้วงการทหาร วงการเกษตร ผู้ฟังจะไม่ทราบความหมาย หรือใช้ศัพท์ในวงการทหาร ไปพูดในแวดวงแพทย์ สาธารณสุข ก็มักจะไม่ได้ผลเช่นกัน


5.ต้องทราบความคาดหวังของผู้ฟัง การบรรยายบางแห่ง ผู้ฟังถูกเกณฑ์ให้มาฟังโดยหัวหน้างานหรือเจ้าของ ดังนั้น ผู้ฟังกลุ่มดังกล่าวมักไม่มีความสนใจหรือความคาดหวังว่าจะนำความรู้ไปใช้ได้อย่างจริงจัง ในการบรรยายบางแห่งผู้ฟังมักเกิดอารมณ์เบื่อหน่ายเสียมากกว่าเพราะผู้ฟังเหมือนถูกบังคับให้มานั่งฟังการบรรยาย


6.ทัศนคติของผู้ฟัง มีความสำคัญมากในการพูด เช่น การพูดเรื่องการเมือง เรื่องศาสนา ต้องระวังมากๆเพราะ ถ้าจะพูดดี หรือ เราคิดว่าความคิดของเราถูกต้องอย่างไรก็ตาม ผู้ฟังมักจะไม่เชื่อ เพราะเรื่องการเมือง เรื่องศาสนา เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล รวมถึงทัศนคติของผู้ฟังต่อผู้พูดด้วย ถ้าผู้ฟังไม่ชอบผู้พูดเป็นการส่วนตัวแล้ว จะพูดให้ดีอย่างไร ก็คงยากที่ผู้ฟังคนนั้นจะชอบเรา


7.ต้องหมั่นสังเกตผู้ฟัง เวลาฟังบรรยายหรือพูด ถ้าผู้ฟัง เกิดอาการเบื่อหน่าย ไม่สนใจ หลับ และสนใจเรื่องอื่นๆ เราต้องเปลี่ยนวิธีการพูดให้เหมาะสม เช่น ต้องนำเรื่องที่ขำขันที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องที่บรรยายมาเล่า เพื่อให้บรรยากาศดีขึ้น หรือ เรื่องที่แปลกๆ ที่ทันสมัย สิ่งที่ผู้ฟังยังไม่เคยได้ยิน มาเล่า เพื่อสอดแทรกการบรรยายให้ผู้ฟังหันมาสนใจการพูดของเรา หรือไม่อย่างนั้น ก็อาจจะมีเกมส์ มีเพลง หรือกิจกรรมต่างๆมาสอดแทรกการพูดหรือการบรรยาย


ดังนั้น ถ้าต้องการเป็นนักพูดที่ดีต้องหมั่นวิเคราะห์ผู้ฟัง ว่าผู้ฟังของเราเป็นใคร มาจากไหน มีพื้นฐานความรู้แค่ไหน มีทัศนคติอย่างไร เป็นเพศไหน วัยไหน เสมือนหนึ่งนักพูดเป็นพ่อครัว ต้องรู้ว่าผู้ทานชอบอาหารรสชาติอะไร อยู่ในวัยไหน จะได้ทำอาหารให้ถูกปากผู้ทาน



...
  
พูดดีเป็นศรีแก่งาน
โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์


พูดอะไร ไม่ส่งเดช ใช้เหตุผล


ทุกทุกคน คล้อยตาม งามทุกเรื่อง


พูดตามใจ ไร้เหตุผล พล่ามบ่นเปลือง


ถึงตัวเขื่อง ข่มใคร ก็ไม่ฟัง


การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าเขา ทำอะไรก็มักจะเป็นข่าว หรือมีคนนำไปนินทา บางทีไม่พูดก็เป็นข่าว ดังนั้น คนที่เป็นผู้นำ ต้องระวังการพูดจาปราศรัยให้มากๆ การพูดบางอย่างดูสุภาพแต่ขาดหลักจิตวิทยา เช่น หัวหน้าประชุมลูกน้อง เริ่มทักทาย “สวัสดีครับ ดีใจที่พวกคุณมาประชุมกันในวันนี้” ฟังดูสุภาพ แต่ขาดความเป็นกันเอง คือ ฟังแล้ว ดูแบ่งแยกระหว่างตัวผู้พูดกับผู้ฟัง ดังนั้นผู้นำที่มีจิตวิทยาหน่อย ก็จะทักทายดังนี้


“สวัสดีครับ กระผมดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ พวกเรามาประชุมกันในวันนี้” คือเปลี่ยนจาก พวกคุณ เป็น พวกเรา ความรู้สึกจะต่างกันทันทีเลย


หรือมีหัวหน้างาน 2 คน หัวหน้าจากสำนักงานใหญ่มาเยี่ยมเยือน เดินชมโรงงานเสร็จก็ชมทันทีต่อหน้าลูกน้องทั้งหมด “แหม แผนกของคุณนี่ดูขยันขันแข็งดี” หัวหน้าคนที่ 1 รีบตอบเลย “ครับ ไม่ต้องห่วงขยันกันทุกคนแหละครับ” เพราะผมดูแลทั่วถึงไม่ยอมให้พวกนี้อู้งานเป็นอันขาด ผมเป็นหัวหน้าใครทำเล่นๆ กระผมไม่ยอม” ถ้าพวกเราเป็นลูกน้อง เราจะคิดอย่างไรครับ รับรองไม่พอใจแน่นอน ซึ่งหัวหน้คนนี้ไม่มีจิตวิทยาในการพูด ถ้าหัวหน้ามีจิตวิทยาในการพูดจะพูดดังนี้ หัวหน้าจากสำนักงานใหญ่ชม “แหม แผนกของคุณนี่ดูขยันขันแข็งดี”หัวหน้าคนที่ 2 พูดว่า “ครับ กระผมโชคดีที่ได้ทำงานร่วมกับคนที่มีความรับผิดชอบสูง กระผมไม่เคยต้องดูแลอะไรเลย ทุกคนขยันขันแข็งมากเลยครับ” อย่างนี้ ลูกน้องยิ้มจนแก้มนี้มีโอกาสฉีกเลยครับ


เพราะฉะนั้น หัวหน้าหรือผู้มีลูกน้อง จะพูดจาปราศรัยก็ขอให้มีจิตวิทยาบ้าง รู้จักคิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วมาคิดเสียใจทีหลัง อะไรทีพูดออกไปแล้วคนรู้สึกดีก็ควรพูด แต่อะไรที่พูดออกไปแล้วคนรู้สึกว่าไม่ได้รับเกียรติก็ขอให้ระวังนิด เพราะถ้าเราทำให้ลูกน้องรักเราศรัทธาเราได้ เขาก็จะทุ่มเทกำลังใจ กำลังกาย กำลังความคิดให้แก่งาน แล้วงานของเราก็จะบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ได้


ใช้อำนาจ บาตรใหญ่ พูดไว้ท่า


คนต่อหน้า น้อมสดับ แต่ลับหลัง


เขากลอกตา หลอกเล่น เขม่นชัง


พึงระวัง ว่าขาน ประมาณตน






...
  
องค์ประกอบของการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
องค์ประกอบของนักพูดที่ดี มีอยู่หลายองค์ประกอบด้วยกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น แล้วแต่ใครเป็นคนคิดค้น แต่องค์ประกอบของนักพูดที่ดี ในทัศนะของกระผมจะต้องมี 8 ข้อ ต้องมีดังนี้

1. ต้องไม่หยุดนิ่ง มันเป็นวิชาที่ต้องมีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา ทั้งความคิด ความรู้ ข้อมูล ประสบการณ์ เราต้องหาเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ไม่อย่างนั้นเราจะล้าหลังคนอื่น

2. ต้องเป็นนักฟัง ต้องเป็นคนชอบฟังเขาพูด ฟังคนนี้คนนั้นพูด ในขณะเดียวกันกระผมคิดว่าเราจะพูดเก่งไม่ได้ถ้าเราไม่มีข้อมูล ฉะนั้นเราจะต้องมีข้อ 3 ด้วยคือ
3. ต้องเป็นนักอ่าน การอ่านทำให้รู้ข้อมูลมาก ข้อมูลทำให้เราดัดแปลงในการพูดในอนาคต


4. ต้องเป็นนักประยุกต์ คือ เวลาเราฟัง เรารู้อะไรมาเราจะต้องมาประยุกต์เป็น ไม่ใช้ข้อมูลดิบ มันจะต้องเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองดัดแปลงมาแล้ว เราจะต้องพูดให้สนุก ข้อมูลอย่างนี้ พูดให้สนุกได้อย่างไร ข้อมูลอย่างนี้พูดให้จริงจัง พูดให้ซีเรียสอย่างไร


5. ต้องมีบุคลิกที่ดี ไม่จำเป็นต้องสวยต้องหล่อ แต่ปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณะชน ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้าเสื้อผ้า การแสดงออก กริยาท่าทางต้องมั่นใจ เชื่อถือได้ ไม่ดูอุบาทว์ ซ๊กม๊ก ไม่แต่งตัวยั่วยวน


6. ต้องเตรียมตัวดี คือ ทุกครั้งก็ขึ้นพูดจะต้องมีการเตรียมตัวที่ดีก่อน ศึกษาว่างานนั้นเป็นงานอะไร ใครฟัง ฟังอะไรและต้องการอะไร จากผู้พูดบ้าง


7. ต้องรู้จักรับฟัง คำประเมิหรือคำวิจารณ์ เหมือนกับเรามองกระจก ก็จะรู้ว่า เราแต่งตัวดีหรือไม่ ทรงผม ใบหน้า เป็นอย่างไร การพูดก็เช่นกัน เราจะไม่ทราบข้อบกพร่อง ผิดพลาด ของเราเลย เนื่องจากคนเรามักเข้าข้างตนเอง ดังนั้นควรมีคนเคยเป็นกระจกให้ คือ เป็นผู้ประเมิน ผู้วิจารณ์ให้ แต่ต้องทำใจรับฟังได้นะครับ เพราะบางคนหัวใจสะออนรับไม่ได้ โกรธและโมโหผู้ประเมินหรือผู้วิจารณ์ จึงทำให้ตนไม่มีการพัฒนา


8. ต้องมีใจรัก เมื่อล้มเหลว ไม่รู้จักท้อแท้ ท้อถอย ในกรณีที่ขึ้นไปพูดแล้วคนไม่ฟัง พูดแล้วคนเล่นกันไม่สนใจการพูด พูดแล้วไม่เป็นดังตั้งใจ ถ้ามีใจรักมักจะอดทนมากกว่าคนปกติ คือ วานนี้ล้มเหลว วันนี้ล้มเหลว พรุ่งนี้ล้มเหลว มะรืนนี้ล้มเหลว มะเรื่องนี้ล้มเหลว แต่ฝันมันก็ยังอยู่


ถ้ามีความตั้งใจ จะไปแปลกอะไรกับความสำเร็จ

...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.